ภาษาทองแดง


หลายท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมจึงเรียกการใช้ภาษาลักษณะดังกล่าวว่า "ทองแดง" อัครา บุญทิพย์ (2535:213) ได้อธิบายไว้ว่า เกิดจากการเปรียบเทียบภาษากลางประหนึ่งของมีค่า หรือทองคำ และการพูดภาษากลางไม่ถูกต้องเปรียบเป็นทองแดง ซึ่งไม่ใช่ทองแท้ เป็นของต่ำต้อยด้อยค่า ผู้เขียนมีความเห็นว่าอาจจะเป็นด้วยความหมายในทางลบของภาษาทองแดงหรือเปล่าไม่ทราบ จึงส่งผลให้คนใต้ที่พูดภาษากลางไม่ถูกต้องนั้น จะถูกคนใต้ด้วยกันที่รู้ภาษาดีทั้งภาษาใต้ และภาษากลาง ล้อเลียนเห็นเป็นเรื่องขบขัน รุนแรงกว่านั้นอาจถูกดูหมิ่นว่าเป็นคนบ้านนอก ไร้การศึกษา หรือไม่ประมาณตนในการใช้ภาษา แต่ถ้ามองในอีกแง่มุมหนึ่งของปฏิกิริยาดังกล่าว ก็อาจทำให้เข้าใจค่านิยมของสังคมใต้ได้ว่า คนใต้เป็นคนที่มีความรู้สึกภาคนิยมสูง มีความหยิ่งและภูมิใจในภาษาถิ่นของตน เมื่อคนใต้ด้วยกันทิ้งภาษาถิ่นของตนไปพูดภาษากลาง แล้วยังพูดไม่ถูกต้อง จึงถูกมองอย่างติเตียน

          เนื่องด้วยผู้เขียนเป็นคนภาคใต้  และได้รับราชการในสถานศึกษาในชนบทของภาคใต้ จึงมีโอกาสได้ยิน ได้ฟังนักเรียนพูดภาษาราชการ(ภาษากรุงเทพฯ)  โดยใช้ระบบหน่วยเสียง  ระบบคำ  และกลุ่มคำตามอิทธิพลของภาษาถิ่นของตนซึ่งเป็นที่เคยชิน  หรือที่เรียกกันว่า "ภาษาทองแดง"  หลายท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมจึงเรียกการใช้ภาษาลักษณะดังกล่าวว่า "ทองแดง"  อัครา  บุญทิพย์ (2535:213) ได้อธิบายไว้ว่า เกิดจากการเปรียบเทียบภาษากลางประหนึ่งของมีค่า หรือทองคำ  แนายพรานมโนราห์ละการพูดภาษากลางไม่ถูกต้องเปรียบเป็นทองแดง  ซึ่งไม่ใช่ทองแท้ เป็นของต่ำต้อยด้อยค่า  ผู้เขียนมีความเห็นว่าอาจจะเป็นด้วยความหมายในทางลบของภาษาทองแดงหรือเปล่าไม่ทราบ จึงส่งผลให้คนใต้ที่พูดภาษากลางไม่ถูกต้องนั้น  จะถูกคนใต้ด้วยกันที่รู้ภาษาดีทั้งภาษาใต้  และภาษากลาง ล้อเลียนเห็นเป็นเรื่องขบขัน  รุนแรงกว่านั้นอาจถูกดูหมิ่นว่าเป็นคนบ้านนอก ไร้การศึกษา  หรือไม่ประมาณตนในการใช้ภาษา  แต่ถ้ามองในอีกแง่มุมหนึ่งของปฏิกิริยาดังกล่าว ก็อาจทำให้เข้าใจค่านิยมของสังคมใต้ได้ว่า  คนใต้เป็นคนที่มีความรู้สึกภาคนิยมสูง  มีความหยิ่งและภูมิใจในภาษาถิ่นของตน  เมื่อคนใต้ด้วยกันทิ้งภาษาถิ่นของตนไปพูดภาษากลาง แล้วยังพูดไม่ถูกต้อง จึงถูกมองอย่างติเตียน

            การพูดจาภาษาทองแดงดังกล่าวนั้น  เกิดจากความแตกต่างในระบบหน่วยเสียง  ระบบคำ  ระบบกลุ่มคำ และระบบไวยากรณ์ระหว่างภาษาถิ่นใต้  กับภาษากลาง  โดยจำแนกได้ดังนี้
            1.  ภาษาทองแดงที่เกิดจากความแตกต่างในระบบหน่วยเสียง
                 1.1  ระบบหน่วยเสียงวรรณยุกต์  เนื่องจากภาษาถิ่นใต้มีระดับเสียงวรรณยุกต์ต่างกับภาษากลาง   เป็นผลทำให้คนใต้ซึ่งเคยชินกับภาษาถิ่น  เทียบระดับเสียงวรรณยุกต์ผิด  เมื่อพูดเป็นภาษากลาง เช่น
                  ภาษากลาง          น้ำแข็งเปล่าจอกไม่ใส่ลูกจาก     (ภาษาใต้คำว่า จอก = แก้ว)
                  ภาษาทองแดง      น้ำแข็งเปลาจ้อก ไม่ใสโลกจ้าก
                  1.2  ระบบหน่วยเสียงพยัญชนะ  ภาษาใต้มีการใช้หน่วยเสียงพยัญชนะแตกต่างจากภาษากลาง ในบางคำ  เช่น  ง  เป็น  ฮ,  น  ณ  เป็น  ด,  ท  เป็น  ต  ฯลฯ  เช่น
                  ภาษากลาง          งานคือเงิน  เงินคืองาน,  พ่อท่านฉันนมฉันเนย
                  ภาษาทองแดง      ฮานคือเฮิน  เฮินคือฮาน,  ป้อต้านฉันดมฉันเดย
                  1.3  ระบบหน่วยเสียงสระ  คำบางคำในภาษากลางใช้หน่วยเสียงสระแตกต่างจากภาษาถิ่นใต้  เช่นภาษากลางใช้หน่วยเสียงสระ  /อี/, /อี/, /อื/, /อู/  ภาษาถิ่นใต้ใช้  /เอ/, /เอะ/, /เออ/,  /โอ/ ฯลฯ  เช่น
                  ภาษากลาง          เก้าอี้,  น้ำกะทิ,  ซื้อ,  ลูก
                  ภาษาทองแดง      เก้าเอ้, น้ำเทะ,   เซ้อ, โลก

            2.  ภาษาทองแดงที่เกิดจากควมแตกต่างระหว่างภาษาถิ่นใต้ กับภาษากลางในระบบคำ และการใช้คำ
                  ภาษากลาง          ครู! เด็กชายดำนั่งทับกระเป๋าหนู,  รีบ ๆ หน่อยเอาไฟฉายไปด้วย
                  ภาษาทองแดง      คู!  เด็กชายดำนั่งเห็งป้าวหนู,    แขบ ๆ หีดถิ  เอาไควแขบไปกัน
            3.  ภาษาทองแดงที่เกิดจากการตัดคำ  เนื่องจากภาษาใต้นิยมออกเสียงให้สั้น  กะทัดรัด  จึงมักตัดคำ หรือพยางค์ออกไปให้สั้นเข้า  เช่น  อร่อย  เป็น  หรอย,  ตลาด  เป็น  หลาด,  ชำแหละ  เป็น  แหมะ  ฯลฯ
                  ภาษากลาง          มะละกอกินอร่อย,   ไปดูวิธีการชำแหละหมูที่ตลาด
                  ภาษาทองแดง      ลอกอกินหรอย,      ไปแลเขาแหมละหมูเท่หลาด
           4.  ภาษาทองแดงเกิดจากความแตกต่างในระบบกลุ่มคำ  ระบบไวยากรณ์  และสำนวนพูดเฉพาะถิ่น  คือ  การใช้คำประกอบวลี  หรือประโยคที่ต่างไปจากภาษากลาง  แต่ใช้ในความหมายเดียวกัน
                  ภาษากลาง          ครูยังไม่มา,    เด็กคนนี้นิสัยดี
                  ภาษาทองแดง      คูไม่มาที,      แด็กคนนี้ขืน (แข้น)ได้

           อย่างไรก็ตาม ในสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัตน์  ทำให้อิทธิพลของการสื่อสาร ประกอบกับการพัฒนาของการศึกษา  ทำให้คนใต้ใช้ภาษากลางได้ถูกต้องมากขึ้น ภาษาทองแดงจึงเกือบแทบจะไม่มีให้ได้ยิน  ในทางกลับกันคนที่พูดดภาษากลางได้ถูกต้องมักจะแกล้งพูดภาษาทองแดง  หรือรับเอาข้อบกพร่อง ข้อที่น่าติเตียนของคนที่พูดภาษาทองแดงมาล้อเลียนเพื่อสร้างอารมณ์ขัน  มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย  โดยเฉพาะนักแสดง  และดาราตลกหลายท่านที่มักจะอาศัยภาษาทองแดงมาเป็นบุคลิกลักษณะหรือเอกลักษณ์ของตนเอง จนเป็นที่นิยมของผู้ชม  ด้วยเหตุนี้จึงอาจทำให้ปฏิกิริยาในทางลบที่มีต่อผู้พูดภาษาทองแดงจึงค่อย ๆ ลดลงในปัจจุบัน
............................................................
หนังสืออ้างอิง
ณัฐวุฒิ  พงศ์จันทรเสถียร. 2538. "การแปรเสียงสระหน้าในภาษาไทยถิ่นสงขลา
        รูสมิแลสาร    2(มกราคม - สิงหาคม  2538), 48-57.      
สถาบันทักษิณคดี.  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2525. พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้.  กรุงเทพฯ: 
        กรุงสยามการพิมพ์.
อัครา   บุญทิพย์. 2535.  ภาษาถิ่นใต้. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน. 



 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15940เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2006 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มีประโยชน์มากๆค่ะ อาจารย์ ขอให้อาจารย์ทำต่อไปเรื่อยๆนะคะ

ขอบคุณครับ น่าสนใจและได้ความรู้ดีครับ

ครูเก่งมากๆๆ ค่ะ

มีประโยชน์มากๆๆ นะคะ

หนูว่า นะ

ครูน่าจะบอกให้เด็กที่โรงเรียน

เข้ามาอ่านบ้าง

ขอแลกเปลี่ยนใน 2 ประเด็นครับ

1) ภาษากลาง ครู! เด็กชายดำนั่งทับกระเป๋าหนู

ภาษาทองแดง คู! เด็กชายดำนั่งเห็งเป้าหนู

คำว่า "กระเป๋า" เวลาคนใต้กร่อนคำเหลือพยางค์เดียว ควรเขียนและออกเสียงเป็น "ป้าว" เพื่อไม่ให้คนต่างภาค อ่านคำว่าเข้าใจผิดว่าหมายถึง "เป้ากางเกง" หากไปเขียนว่า "เป้า"

2) ภาษากลาง ไปดูวิธีการชำแหละหมูที่ตลาด

ภาษาทองแดง ไปแลเขาแหมะหมูเท่หลาด

คำว่า "ชำแหละ" เวลาแผลงเป็นคำใต้ ควรเขียนและออกเสียงเป็น "แหมละ" (ควบกล้ำ)

เช่นเดียวกับคำว่า "สำรับ" เวลาแผลงเป็นคำใต้ ควรเขียนและออกเสียงเป็น "มรั๋บ" หรือ "หมรับ" (ควบกล้ำ)

ขอบคุณครับ ความคิดเห็ยของคุณ มราญ-พ.ท. เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ผมได้แก้ไขข้อความตามคำแนะนำแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท