บทเรียนรู้บ้านนาบอน


ผลจากการศึกษาดูงานบ้านนาบอน

            จากการประชุมภาคี 3 พื้นที่รวมใจเป็นหนึ่งเมื่อวันที่ 26-28 ส.ค. 2550 ณ ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง ที่ผ่านมา ได้มีการศึกษาดูงานหมู่บ้านที่เข้มแข็งอย่างเช่น บ้านนาบอน  ซึ่งจากการศึกษาดูงานของภาคีชุมชนตำบลป่าไหน่ ณ บ้านนาบอน ต.ทุ่งงาม อ.เสริมงาม  จ.ลำปาง

มีคณะทำงานต้อนรับและร่วมแลกเปลี่ยนรู้คือ นายกฤษฎา บุญสูง ผู้ใหญ่บ้านนาบอน,   นางมณี  ปินตาแก้ว ประธาน อสม. , นางผุสดี  กันใจ เหรัญญิกกลุ่มออมทรัพย์สัจจะ, นางสุนิสา  วิสาร ประธานแม่บ้าน, นายอ้าย  ใยมูล ประธาน ปุ๋ยชีวภาพ,  นางอัษฎาภรณ์  ภาพหินสัพ          ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ ซึ่งมีประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการศึกษาดูงานดังนี้
ความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนที่เข้าศึกษาดูงานหมู่บ้านเข้มแข็ง ณ บ้านนาบอน
ปัญหาของชุมชนเป็นสิ่งผลักดันให้เกิดการรวมพลัง ได้แก่ ปัญหาในชุมชนซึ่งก่อตัวและเริ่มสะสมทวีความรุนแรง เกิดความแตกแยกทางความคิด มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกในหมู่บ้านถึงขั้นรุนแรง  ผู้นำมีส่วนในการรวมพลังในครั้งนี้ โดย อาจารย์สวัสดิ์   ซึ่งเป็นผู้ที่เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงได้หาวิธีการรวบรวมความคิดเป็นคณะทำงานประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน, อสม.และแกนนำต่างๆในชุมชน        กิจกรรมเริ่มแรกของชุมชนเริ่มขึ้น เมื่อมีกองทุน SML ของรัฐบาลเข้ามาสู่ชุมชนจึงได้หารือกันในกลุ่มหมู่บ้านเพื่อหากิจกรรมหรือโครงการสนองงานของรัฐบาล โดยใช้กระบวนการ        ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมรับผลประโยชน์ เน้นการสร้างงาน สร้างอาชีพเป็นหลักและมีองค์กรเครือข่ายของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ให้การสนับสนุน                จากการจัดทำข้อมูลหมู่บ้านทำให้มีโครงการต่างๆ เกิดขึ้นมาดังนี้1. เงินออมทรัพย์สัจจะ (จะฝากทุกวันที่ 4 ของเดือน)2. งดเหล้าในงานศพ3. การทำปุ๋ยชีวภาพ4. ส่งเสริมอาชีพ5. กองทุนสวัสดิการ ซึ่งช่วยเหลือและสนับสนุน 4 ด้าน คือ ปี พ.ศ. 2547 ปี 2549 1. ทุนการศึกษาเด็กทุกคนในหมู่บ้าน คนละ 100 บาท ต่อปี2. นอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 2 คืนขึ้นไป คนละ 200 บาทต่อปี (ภายในหนึ่งปีได้ 2 ครั้งเท่านั้น)3. สงเคราะห์ผู้สูงอายุ ทุกวันที่ 16 เมษายน ของทุกปี คนละ 150 บาท4. ผู้ป่วยเรื้อรังและคนพิการ คนละ 200 บาท ต่อปี5. หากเสียชีวิตที่โรงพยาบาลต่างอำเภอ ช่วยเหลือค่าทำศพๆ ละ 500 บาท หากเสียชีวิตในอำเภอเสริมงาม ช่วยค่าทำศพๆ ละ 200 บาท

<p style="text-align: center"></p>


ชุมชนจัดหางบประมาณจากการรวมพลังความคิดของชุมชน การจัดเวทีชาวบ้าน การสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของประชาชน การทำแผนแม่บท การประสานงานของคนในชุมชนที่ไปทำงานต่างถิ่น การจัดผ้าป่า จัดงานคืนสู่เหย้า การทำโครงการที่มาจากความต้องการของชุมชน

</span><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p><p> ความสำเร็จในการรวมพลังของชุมชน คือ</p><p>               1. การพัฒนาจิตใจ
               
2. การเรียนรู้ร่วมกัน
              
3. การจัดลำดับปัญหา
              
4. การให้โอกาสสมาชิกในชุมชน
              
5. การทำงานด้วยความเสียสละ
              
6. การมีแผนชุมชนที่มาจากชุมชนจริงๆ
              
7. การสรุปผล
              
8. การติดตามผลและแก้ไขข้อบกพร่องอย่างต่อเนื่อง
              
9. การรับผลประโยชน์ร่วมกัน
               
10. การมีวิสัยทัศน์สู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง</p><p>ปัญหาและอุปสรรคในการรวมพลังของบ้านนาบอนคือ
              
1. ความขัดแย้งทางความคิด
              
2. การได้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง ทำให้แก้ปัญหาไม่ตรงจุด
              
3. ปัญหาการเมืองท้องถิ่นหลังจากนั้นตัวแทนของแกนนำชุมชนป่าไหน่เข้มแข็งได้ซักถามและขอคำแนะนำสรุปได้ดังนี้
การที่จะสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง หรือกำลังจะพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งนั้นสามารถปฏิบัติได้คือ ความรักชุมชน,  ความเสียสละและทำงานด้วยใจ, การให้โอกาสชุมชนได้มีส่วนร่วม, การมีแผนแม่บทชุมชนที่มาจากชุมชน, การมีคณะกรรมการ/คณะทำงานและภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมพัฒนาชุมชน, มีแกนนำชุมชนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล, มีการประชุม/หารือกันบ่อยๆ, ไม่มีการบังคับมีแต่ใช้วิธีการซึมซับ, เน้นความสุขของชุมชนที่เริ่มจาการสร้างงาน สร้างอาชีพ, การมีแนวคิดและค่านิยมในการพัฒนา         

    
   
               

         
เป็นที่น่าดีใจที่ชาวป่าไหน่ได้ไปศึกษาดูงานและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหมู่บ้านที่มีความเข้มแข้ง  และมุ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  การศึกษาดูงานในครั้งนี้ชาวป่าไหน่หลายคนเกิดความคิดต่อเนื่องและกล่าวว่า จะนำกลับไปปรับใช้กับ ป่าไหน่ของเรา   </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 159309เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2008 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ P สาวดอย
  • ได้ข่าวคราว มีเรื่องเล่า ดีใจค่ะ แอบมาสวัสดีกันก่อน ที่จะไปประชุมกับกล่มสูงอายะ มาแอบปิ๊งว่า
  • เป็นที่น่าดีใจที่ชาวป่าไหน่ได้ไปศึกษาดูงานและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับหมู่บ้านที่มีความเข้มแข้ง  และมุ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  การศึกษาดูงานในครั้งนี้ชาวป่าไหน่หลายคนเกิดความคิดต่อเนื่อง และกล่าวว่า “จะนำกลับไปปรับใช้กับ ป่าไหน่ของเรา

ขอขอบคุณทุกท่าน   ที่ติดตามกันตลอดมา

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท