kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมิสนมแม่(แม่นม) โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง


การปรับแนวคิดในเรื่องการใช้ KM มาเป็นกระบวนการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (แต่จากเดิมที่เป็นการให้วิทยากรมานำเสนอ และปิดท้ายด้วยการตอบข้อซักถาม) ต้องใช้กระบวนการปรับความเข้าใจกับผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บางครั้งอาจต้องมีการทดลองให้ดำเนินการไประยะหนึ่งแล้วค่อยมาปรับที่หลัง

           ในวันที่ 14 ม.ค. 51 ศูนย์อนามัยเขต 8 โดยคณะกรรมการโรงพยาบาลสายใยรักได้จัดการประชุมแม่นม ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบคลินิกนมแม่ของโรงพยาบาลในเขตตรวจราชการที่ 3 จำนวนทั้งหมด 78 คน ประชุมร่วมกัน เพื่อทบทวนความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องนมแม่ ซึ่งมีแผนการดำเนินงานคือ

  • ในที่ประชุมคณะอนุกรรมการการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย ได้มีมติว่าน่าจะใช้กระบวนการ KM เข้ามามีบทบาทในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ผู้เข้าประชุมน่าจะมีประสบการณ์ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันไป
  • เทคนิกที่จะใช้ในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือการเล่าเรื่อง
  • การเล่าเรื่อง จะแบ่งกลุ่มเป็น 9 กลุ่ม ซึ่งผู้จัดได้กำหนดหัวข้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน กลุ่มละ 1 หัวข้อเรื่อง โดยให้ตั้ง FA และ note taker ของกลุ่ม
  • เนื่องจากผู้จัดกลัวว่าเรื่องที่เล่าอาจไม่ครบถ้วนกระบวนการ จึงจัดให้มีเจ้าหน้าที่เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงกลุ่มละ 1 คน ซึ่งพี่เลี้ยงจะต้องทำการบ้านมาอย่างดี และมี Outline คร่าว ๆ เพื่อจะได้มีการกระตุ้นให้กลุ่มเล่าเรื่องได้ครบถ้วนตามที่ต้องการ
  • หลังการเล่าเรื่องจะให้กลุ่มสรุปประเด็น โดยทีการทวนซ้ำ และทบทวนในกลุ่ม ก่อนการนำเสนอ
  • สำหรับการนำเสนอจะให้กลุ่มนำเสนอโดยใช้ model ต่าง ๆ ตามที่กลุ่มนั้น ๆ ชำนาญ เช่น Mind map , โมเดลก้างปลา , Flow Chart , โมเดลต้นไม้ หรืออื่น ๆ 
  • โดยการนำเสนอจะให้นำเสนอ พร้อมบอกที่มาของประเด็นนั้น ๆ ด้วย
  • สำหรับผลการนำเสนอ น่าจะมีการนำมาบันทึกใน http://gotoknow/blog/mrsbf8  ต่อไปครับ

จากการจัดกิจกรรมการเล่าเรื่องพบว่า

  • เริ่มด้วยการนำเสนอความรู้เรื่องเกี่ยวกับนมแม่ แบบคร่าว ๆ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 
  • จากนั้นนำเสนอวิธีการเล่าเรื่อง และการจดบันทึก
  • แบ่งกลุ่ม ตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งได้กลุ่มละประมาณ 8-9 คน
  • การเล่าจะให้เล่าเรื่องที่เคยมีประสบการณ์ โดยให้ระบุถึงตัวละคร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (WHO,WHEN,WHAT,WHY) ลงท้ายด้วยการสรุปประเด็น 
  • แต่เนื่องจากกลุ่มมีความหลากหลาย และอาจไม่มีประสบการณ์ในการเล่าเรื่อง การเล่าเรื่องยังคงเป็นการพูด แบบไม่มีเนื้อหาที่ชัดเจน โดยมักเริ่มต้นว่าที่ทำงานมีปัญหาอะไรมากกว่า
  • อย่างไรก็ตามหลังการปรับกระบวนการกับพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม ก็ทำให้กลุ่มสามารถดำเนินต่อไปได้ ทุกกลุ่มสามารถสรุปประเด็นได้ และมีความรู้ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างดี
  • ชมภาพกิจกรรม

สรุป

          การปรับแนวคิดในเรื่องการใช้ KM มาเป็นกระบวนการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (แต่จากเดิมที่เป็นการให้วิทยากรมานำเสนอ และปิดท้ายด้วยการตอบข้อซักถาม) ต้องใช้กระบวนการปรับความเข้าใจกับผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บางครั้งอาจต้องมีการทดลองให้ดำเนินการไประยะหนึ่งแล้วค่อยมาปรับที่หลัง  บางครั้งกระบวนการอาจไม่ได้ตามเป้าหมาย ต้องมีการปรับไปตามสถานการณ์ ทีมงานต้องมีความพร้อมในการปรับได้ทุกเวลา

           อย่างไรก็ตามการใช้กระบวนการ KM เป็นสิ่งที่ ไม่ลอง ไม่รู้ ไม่ดู ไม่เห็น หากไม่เริ่มมาใช้ ก็จะไม่รู้  บางครั้งสิ่งที่ต้องการต้องใช้เวลา บางที่ต้องทำหลายครั้ง บางครั้งอาจไม่สำเร็จ  แต่เชื่อว่ายิ่งทำยิ่งรู้ ยิ่งดีขึ้น ...... ขอบคุณครับ  

หมายเลขบันทึก: 159303เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2008 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ดีใจจัง
  • มาช่วย confirm ค่ะ ว่า
  • "การใช้กระบวนการ KM เป็นสิ่งที่ ไม่ลอง ไม่รู้ ไม่ดู ไม่เห็น หากไม่เริ่มมาใช้ ก็จะไม่รู้  บางครั้งสิ่งที่ต้องการต้องใช้เวลา บางทีต้องทำหลายครั้ง บางครั้งอาจไม่สำเร็จ  แต่เชื่อว่ายิ่งทำยิ่งรู้ ยิ่งดีขึ้น"
  • ลองดูกันสิคะ

- งาน KM ดีจังเลยนะค่ะ

- ออกงานแทบทุกงาน

สวัสดีครับ พี่นน คุณพวงเพชร

  • กว่าจะทำความเข้าใจ ให้นำกระบวนการไปใช้ก็ยากนะครับ
  • KM team ไม่ได้ออกทุกงานหรอกครับ ระยะนี้เป็นระยะที่ต้องการขายความคิด  จึงต้องเข้าไปคลุกวงในครับ
  • ในปีนี้ ศูนย์ ฯ จะฝึกเจ้าหน้าที่กลุ่มหนึ่งเรียกว่า KMB (KM builder) เป็นกลุ่มที่จะสามารถนำกระบวนการ KM ไปทำรวมเป็นเนื้องานเดียวกับงานประจำได้ ..... ลุ้นอยู่ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท