แนวคิดการทำผลงานทางวิชาการสำหรับครู


ครูคุณภาพ

             การปฏิรูปการศึกษาดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง หลายยุดหลายสมัย การปฏิรูปแขนงหนึ่งคือการยกระดับผู้ให้ความรู้แก่ผู้อื่น ครู ให้มีความรู้ความก้าวหน้า ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม นอกจากการส่งเสริมให้ศึกษาต่อแล้ว การกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้น หรือปัจจุบันเป็นการเลื่อนวิทยะฐานะ ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับครู พยายามหาหนทาง วิธีการ ให้ครูพัฒนาตนเองพร้อมกับได้รับการเลื่อนวิทยะฐานะไปด้วย ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ เชิงประจักษ์ การเยียวยาสำหรับผู้ไม่ผ่านเชิงประจักษ์ รอบแรก รอบสอง การกำหนดระเบียบใหม่หลังจากเชิงประจักษ์ เมื่อประมาณปี 2549 กำลังมีผู้สมัครจะครบกำหนดส่งผลงานกันในมีนาคม 2551 นี้ เป็นรุ่นแรก ยังไม่ทราบว่าผลจะเป็นอย่างไร ต้องรอกันต่อไป
             การจัดการการพัฒนาครูที่ดำเนินอยู่ ก็คงยังไม่เหมาะสม ทำให้เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2551  ก็คลอดเกณฑ์ประเมินวิยฐานะ ฉบับใหม่ออกมาอีก จากหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันเสาร์ที่ 12  มกราคม 2551 ตรงวันเด็กพอดี ได้เขียนว่า นายวิจิตร กล่าวว่า ที่ประชุม ก.ค.ศ.เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ โดย ประเมินครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ ที่อยู่ในวิทยฐานะต่าง ๆ ทั้งวิทยฐานะชำนาญการ ชำนาญพิเศษ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ ทุก  3  ปี กล่าวว่าการประเมินดังกล่าวเป็นไปตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 55  คาคว่าจะเริ่มประเมินผู้มีวิทยฐานะได้ในภาคเรียนที่ 1/2551 การประเมินเห็นชอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ตามที่คณะทำงานที่มีนายสมหวัง พิริยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการ สมศ. โดย วิทยฐานะชำนาญการ และชำนาญพิเศษ แค่ผ่านตามเกณฑ์ก็ได้แล้ว แต่ถ้าเชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องผ่านการประเมินในระดับที่เป็นแบบอย่างได้
             พิจารณาแล้วน่าจะได้ผล ถ้าพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการ ตามที่คณะทำงานที่มีนายสมหวัง พิริยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการ สมศ. จะเหมาะสมดีถ้าจะพิจารณาจากสภาพจริง ไม่พิจารณาเพียงเอกสารวิชาการ อย่างไรก็ดีเห็นว่า ครู ควรมีผลงานตามภาระงานได้แก่ แผนการเรียนรู้ สื่อประกอบการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ ผลงานนักเรียนที่เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ และการปกครองดูแลนักเรียน
             กล่าวถึงผลงานวิชาการ ครู ในสังกัด สพฐ.ส่วนใหญ่ สร้างได้ มีได้ ทำได้ ในระดับหนึ่ง ตามระดับความรู้ความสามารถ และเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ครู การทำผลงานวิชาการเชิงลึกจึงน่าจะเป็นความกังวล
             การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ตาม พ.ร.บ มาตรา 55 มีจุดมุ่งหมายที่จะกระตุ้นให้ครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ ได้พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา จัดการศึกษาให้ดี มีประสิทธิภาพ จึงอยากให้ผลงานทางวิชาการของครู เป็นแผนการเรียนรู้ สื่อประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ ผลที่เกิดกับนักเรียนอันเกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู คงเพียงพอที่จะตอบสังคมได้ว่า ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง

 

หมายเลขบันทึก: 158976เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2008 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 09:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะ  อ่านแล้วได้ประโยชน์มากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท