สภามหาวิทยาลัย (2)


สภามหาวิทยาลัย (2)

แนวคิดจากออสเตรเลีย
- องค์ประกอบและภารกิจ 3 รูปแบบ
          - Stakeholder Model
          - Business Model
          - Trusteeship Model
- หลัก autonomy ปลอดจากแรงกดดันจากรัฐบาล
- หลัก ปลอดจากการเล่นการเมืองภายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้มหาวิทยาลัยทำหน้าที่รับใช้สังคมได้เต็มที่
- 4 เสาหลักของ University Governance
          - สภามหาวิทยาลัย
          - การกำหนดวิสัยทัศน์/วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
          - ฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง
          - สภาวิชาการ  ดูแลคุณภาพวิชาการ
          ต้องมี synergy ระหว่าง 4 เสาหลัก
- ระบบ University Governance มีความรับผิดชอบต่อเรื่องต่อไปนี้
          (1) แต่งตั้งอธิการบดีเป็น CEO ของมหาวิทยาลัย   และคอยติดตามตรวจสอบผลงานของอธิการบดี
          (2) ให้ความเห็นชอบ mission, strategic direction, งบประมาณประจำปีและแผนธุรกิจของมหาวิทยาลัย
          (3) ดูแลและพิจารณาการบริหารงานและผลงานของมหาวิทยาลัย
          (4) กำหนดนโยบายและกฎระเบียบให้สอดคล้องกับกฎหมายและความต้องการของสังคม/ชุมชน
          (5) ให้ความเห็นชอบและตรวจสอบระบบการควบคุมและ accountability
          (6) ดูแลและติดตามการประเมินการจัดการความเสี่ยงในมหาวิทยาลัย   รวมทั้งการดำเนินการเชิงธุรกิจของมหาวิทยาลัย
          (7) ดูแลและติดตามกิจกรรมเชิงวิชาการ
          (8) ให้ความเห็นชอบกิจกรรมเชิงธุรกิจ
- กรรมการในระบบ university governance มีความรับผิดชอบดังนี้
          (1) กระทำการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ภาพรวมของมหาวิทยาลัย   โดยมีความรับผิดชอบที่จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อประเด็นที่ได้รับมอบหมาย
          (2) กระทำการอย่างซื่อสัตย์  น่าเชื่อถือ
          (3) กระทำการอย่างระมัดระวังและขยันขันแข็ง
          (4) ไม่ใช้ตำแหน่งหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและแก่ผู้อื่น
          (5) เปิดเผยและหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน
          จะต้องมีระบบป้องกัน  ข้อยกเว้นและระบบปกป้องกรรมการอย่างเหมาะสม
          จะต้องมีข้อกำหนดให้ปลดกรรมการคนใดคนหนึ่งออกจากตำแหน่งได้   โดยมติสองในสามของคณะกรรมการ
- แต่ละเสาหลักควรมีกระบวนการ/มาตรการพัฒนากรรมการให้มีความสามารถปฏิบัติหน้าที่โดยมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น   และแต่ละคณะกรรมการควรประเมินการปฏิบัติงานและผลงานของคณะกรรมการทั้งคณะ (self-assessment) เป็นระยะ ๆ
- จำนวนกรรมการสภามหาวิทยาลัยไม่เกิน 22 คนและควรเป็นคนนอกมหาวิทยาลัยมากกว่าครึ่ง (อย่าลืมว่านี่เป็นแนวคิดออสเตรเลีย)
- ควรมีกลไกให้เกิดความต่อเนื่อง   โดยให้กรรมการหมดวาระไม่พร้อมกัน   และควรกำหนดว่าแต่ละคนดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 12 ปี
- ควรมีระบบร้องทุกข์ที่มีวิธีการชัดเจน   เผยแพร่อย่างกว้างขวาง
- รายงานประจำปีควรเน้นการรายงานผลงานเชิงระบบ   รายงานเรื่องราวที่นำไปสู่ความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยและมีรายงาน risk management ด้วยเสมอ
- สภามหาวิทยาลัยมีความรับผิดชอบดูและเรื่อง/กิจการที่ก่อความเสี่ยงให้แก่มหาวิทยาลัย   โดยดูแลว่า
 - กิจการนั้นมีคณะกรรมการ (บอร์ด) ที่มีความรู้  ทักษะ  ประสบการณ์ดูแลและเข้ามาทำหน้าที่อย่างจริงจัง
 - แต่งตั้งกรรมการบอร์ดที่เป็นบุคคลภายนอกเข้ามาจำนวนหนึ่ง
 - ดูแลว่าคณะกรรมการมีการดำเนินการตามระเบียบที่ตนกำหนดและมีการปรับปรุงระเบียบเป็น ระยะ ๆ
 - ดูแลว่าบอร์ดได้จัดทำเอกสารระบุยุทธศาสตร์ขององค์กรและของธุรกิจอย่างชัดเจน   สำหรับรายงานเป็นประจำทุกปี   และเป็นเครื่องแสดงการพัฒนาวัตถุประสงค์ระยะยาวขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ   และในรายงานประจำปีจะต้องระบุแผนธุรกิจประจำปีที่มีการกำหนดเป้าหมายประจำปีที่วัดได้
 - ดูแลว่ามีการนำเรื่องสำคัญมาเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่อขอความเห็นชอบ   เช่น เสนอแผนธุรกิจก่อนเริ่มปีงบประมาณและเสนอรายงานผลงานรายไตรมาส
 - กิจการที่ไม่ผ่านการตรวจสอบโดยกลไกของรัฐ (เช่น สตง. -ของไทย) ต้องมีกลไกตรวจสอบภายในต่อสภามหาวิทยาลัย

Ref. Australian Vice-Chancellors' Committee (AVCC), the council of Australia's university presidents.  Chancellors and AVCC statement on university governance, October 2003.

www.avcc.edu.au/documents/policies_programs/statements/AVCC_Governance.pdf

สภามหาวิทยาลัย (1)

วิจารณ์  พานิช
 14 ก.พ.49

หมายเลขบันทึก: 15889เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2006 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท