เรียนรู้จากตัวเองเพื่อเตือนสติตัวเอง...... "เรียนรู้....ความเซ็ง...."


.. ที่สุดของการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้จากตัวเอง


เพราะเรามักจะเรียนรู้จากคนอื่น จากการฟัง ดู ถาม ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากคนอื่นทั้งสิ้น
แต่สำหรับสิ่งที่คุณสนใจ ศึกษาค้นคว้า และเรียนรู้ด้วยตนเอง สิ่งนั้น จะทำให้คุณจดจำได้ขึ้นใจ เพราะ
- คุณใฝ่รู้เอง
- ไม่มีใครบังคับให้คุณสนใจ
- สิ่งนี้ เกิดจากความต้องการของตัวเอง

เช่นเดียวกับการทำงานอดิเรก หรืองานที่คุณรัก ..
.. ทำไมหลายคนจึงทำในสิ่งที่ตัวเองรักได้อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย....


แต่ในเวลานี้ นายบอนเกิดอาการ เซ็งครับ
เซ็งขึ้นมาเฉยๆ พาลหงุดหงิดไปทั่ว...


.... หลังจากสงบสติอารมณ์พักใหญ่ อยากที่จะบรรเทาอาการเซ็งจัด เลยค้นหาข้อมูลใน internet ว่าด้วยความเซ็ง....

เพื่อเตือนสติตัวเอง.....

ความเซ็ง ๓ ระดับ คือ ความเซ็งธรรมดา ความเบื่อ และความเอียน แต่ละระดับก็จัดเป็นความเซ็งทั้งนั้น

ความเซ็งชั่วขณะ เพราะมีเวลาว่างมาก และไม่มีสิ่งถูกใจให้จับทำ
เวลาคนอยู่ว่าง เขามักจะคิดฟุ้งซ่าน คิดหนักเข้าก็เกิดอาการเซ็งตัวเอง บางทีเวลาว่างนั้นเกิดขึ้นโดยสถานการณ์บังคับ เช่น
ต้องรอรถเมล์ นานเป็นชั่วโมงสองชั ่วโมง เราจะหยิบอะไรขึ้นมาทำระหว่างรอก็ไม่ได้ ยิ่งรอก็ยิ่งเซ็ง

ถ้าอยู่ไปด้วยความเซ็ง หงุดหงิด โกรธ กลัว ทุกข์ทรมาน ขมขื่น ย่อมเป็นชีวิตที่ขาดทุน - อาจหาความสุขที่แท้จริงไม่พบเลย ...


ศิลปะแห่งการสร้างความสุขในความเซ็ง

ใครที่รำคาญตัวเอง หรือมีความเซ็งระดับแรกนี้ก็ควรหาอะไรทำแก้เซ็ง เช่น

- การอ่านหนังสือ
- ฟังวิทยุ
- ชมโทรทัศน์
- สนทนากับคนถูกคอ
- การไม่ปล่อยตัวเองให้มีเวลาว่าง

นอกจากจะแก้เซ็งแล้วยังกำจัดความวิตกกังวล และกิเลสอีกหลายประการ
คนเรายิ่ง มีเวลาว่างมากก็ยิ่งคิดมาก และตามปกติก็มักคิดถึงอารมณ์ที่เพิ่มพูนกิเลสของตัว


- การจับอะไรขึ้นมาทำจึงช่วยลดกิเลสได้มาก


บางคนกล่าวไว้น่าฟังว่า

- "งานเท่านั้นที่จะฆ่ากิเลสทั้งหลายให้ตายไปได้"
- การทำงานจึงช่วยลดกิเลสและแก้เซ็งไปในตัว


บางท่านจึงกล่าวว่า "การทำงานเป็นการปฏิบัติธรรม


"ความเอียน" คือความเบื่อโลก หรือเอียนชีวิต ใครที่เอียนชีวิตจะมีความเซ็งชนิดถาวร มองเห็นโลกไม่น่าอภิรมย์เอาเสียเลย



ความเซ็งคืออารมณ์พันทางที่ผสมผสานระหว่างความหงุดหงิด + ความเบื่อ + ความเอียน
ความเซ็งมีถึงสามระดับ คือ


1. ผู้ที่มีความเซ็งขั้นธรรมดาเพราะไม่มีอะไรทำ ควรจับอะไรบางอย่างขึ้นมาทำแก้เซ็ง
2. ผู้ที่เซ็งเพราะความเบื่อความจำเจ ก็ควรเติมเสน่ห์หรือใส่ผงชูรสลงในสิ่งจำเจนั้น
3. ส่วนท่านที่เซ็งถึงขนาดเอียนชีวิต เพราะสูญเสียเป้าหมายของชีวิตกระทันหัน ก็ควรมองหาจุดประสงค์อันอื่น แล้วกล้าตัดสินใจเลือกทางใหม่ของชีวิต.


อ้างอิงจาก http://mcucity.tripod.com/thamma/tm.htm



เพิ่มเติม

- :: อ่าน - ปรัชญาความเซ็ง


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 158434เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2008 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ป่านนี้คงหายเซ็งแล้วนะครับ :)))
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท