เรียนรู้การเป็นผู้ประเมินคุณภาพที่ดี


ถอดบทเรียนของตัวเอง ที่ได้มีโอกาสเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) การเป็นผู้ประเมิน จากครู

ผมเคยไปเป็นทั้งเลขานุการผู้ประเมินหลายครั้งหลายแห่ง รวมทั้งเป็นผู้ประเมินบ้างในบางครั้ง ภายในมหาวิทยาลัย แต่ก็มีวันนี้ที่ได้เห็น และได้ตัวอย่างที่ดีสำหรับการเป็นผู้ประเมิน จากอาจารย์ ดร.ขวัญชฎิล พิศาลพงศ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา,  ศาสตราจารย์นายแพทย์เฉลิม วราวิทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และหัวหน้าผม รองศาสตราจารย์จิตเจริญ ไชยาคำ ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคามใ นการประเมินคุณภาพภายใน สำนักวิทยบริการ วงรอบปีการศึกษา 49 หนึ่งวันครึ่ง อะไรที่ได้...

  1. สิ่งแรกคือผู้ประเมินต้องรู้บทบาทหน้าที่ พูดง่ายๆคือตำแหน่งที่ถูกแต่งตั้งมอบหมายขึ้น ไม่ว่าประธานกรรมการจะเป็นผู้ที่มีอายุน้อยกว่า ประสบการณ์น้อยกว่าก็ตาม ก็ต้องให้เกียรติประธานผู้นั้นเป็นสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของกำหนดการ เรื่องของการตัดสินใจ รวมถึงผมในฐานะเลขานุการก็ต้องทำความเข้าใจกับบทบาทในตำแหน่งๆนี้เช่นกัน สรุปคือ ให้เกียรติทีม และไม่ก้าวก่ายกันครับ
  2. สิ่งต่อมาคือไม่ทำความยุ่งยาก ลำบากใจ ให้กับหน่วยงานที่รับการประเมินมากนักเกินความจำเป็น เกินความสามารถที่จะสามารถจัดให้ โดยเฉพาะเรื่องของการจัดผู้ที่จะมาให้ข้อมูลสัมภาษณ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้เท่าไหร่ก็เอาแค่นั้น ขอให้ได้ข้อมูลครบถ้วนแล้วกัน
  3. อีกสิ่งหนึ่ง อาจจะไม่เกี่ยวมาก คือ กินง่ายๆ อยู่ง่ายๆ ใช้เวลาที่มีจำกัดให้คุ้ม ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ อย่ายึดติดกับตำแหน่งหน้าที่ประจำ
  4. สำคัญที่สุดสำหรับผม คือ ไม่จับผิด แต่เพียงหาข้อที่ยังไม่น่าพึงพอใจ เพื่อนำมาเขียนเสนอแนะในเชิงการพัฒนา อะไรที่ไม่ดี ก็ให้แล้วกันไป แต่สำคัญต้องทำให้ดีขึ้นในวงรอบต่อไป
  5. การดูสถานที่จริง ต้องดูให้ทั่ว ดูให้หมด แม้ว่าจะมีหลายที่ตั้ง แม้ว่าจะมีหลายชั้น ก็ต้องไปให้หมด ซึ่งผมคิดว่าหน่วยงานย่อยถ้าถูกไปเยี่ยมนั้น จะเกิดความดีใจ ความตระหนัก ที่ผู้ประเมินให้ความสำคัญ ไปพูดคุย ซักถาม แนะนำ ลปรร. กัน ผมเชื่อว่าไม่มีใครกลัวกรรมการ มีแต่ความต้องการให้ไปดู ไปเยี่ยม เพราะต้องการนำเสนอสิ่งที่ทำมา สิ่งที่ดีๆ
  6. ไม่เพียงติ หรือ ชม เท่านั้น ต้องเล่าถึงแนวปฏิบัติที่ดีของหน่วยงานตนเอง ให้หน่วยงานที่รับการประเมินฟังด้วย
  7. ยิ้ม ชื่นชม แนะนำ และสวัสดีก่อนจากทุกครั้งครับ

สิ่งเหล่านี้จริงๆก็มีเขียนไว้มากมายในตำราศาสตร์ของการวัดผล การประกันคุณภาพ หรือที่เกี่ยวของ แต่สิ่งสำคัญคือการได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ และนำไปสู่ ทักษะการเป็นผู้ประเมินที่พึงประสงค์ที่แท้จริงของการเป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาที่ดี

ยังเหลือเวลาอีกครึ่งงวันพรุ่งนี้ 10 มค 51 พรุ่งนี้ โดยสิ่งที่ผมจะเรียนรู้เป็นพิเศษ คือ ช่วงการรายงานผลด้วยวาจา

ต้องชื่นชม ท่านผู้อำนวยการ บุคลากรสำนักวิทยบริการทุกท่าน โดยเฉพาะพี่ตรู่ อารยะ เสนาคุณ ผู้บริหารที่รับผิดชอบหลักQAของสำนักวิทยบริการ เต็มที่ เต็มใจกับงาน พี่ชายซึ่งเคยทำงานร่วมกันกับผมมาสองสามปีแล้ว มีจิตเพื่อพัฒนามาตลอดเท่าที่ผมสัมผัส
หมายเลขบันทึก: 158302เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2008 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับแจ๊ค 

  • สกัดความรู้ออกมาได้ดีจริง ๆครับ
  • ในมุมมองความคิดผมคิดว่า ข้อ 6 สำคัญที่ผู้รับการประเมินอยากได้ครับ โดยเฉพาะการเล่าถึงแนวปฏิบัติที่ดี กรณีตัวอย่างของจริงที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ
เรียน ท่าน jack นี่แหละครับ KM สู่ LO Give and Grow

สวัสดีครับพี่บอย

เรียนรู้ แล้วเลียนแบบ พัฒนาให้ดีขึ้น น่านะดีครับ

ขอบคุณครับท่านอาจารย์จิตเจริญ

ที่เปิดโอกาสทุกโอกาสให้ผมได้เรียนรู้ และพยายามนำมาเลียนแบบ สร้างเป็นแบบของตัวเองครับ

ให้ และ เติบโตต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท