ตอน 30 สมุนไพรข้างบ้านพร้อมใช้งานเศรษฐกิจพอเพียง


เวลานี้คนไทยตื้นตัวกันมากขึ้นในการใช้สมุนไพรในการเกษตร โดยเฉพาะเพื่อการป้องกัน-กำจัดโรค-แมลงศัตรูพืช ทั้งนี้คงมีสาเหตุมาจากสภาวการณ์ในปัจจุบันที่มีการใช้สารเคมีในการเกษตรน่าเป็นห่วง

        

   เวลานี้คนไทยตื้นตัวกันมากขึ้นในการใช้สมุนไพรในการเกษตร โดยเฉพาะเพื่อการป้องกัน-กำจัดโรค-แมลงศัตรูพืช ทั้งนี้คงมีสาเหตุมาจากสภาวการณ์ในปัจจุบันที่มีการใช้สารเคมีในการเกษตรน่าเป็นห่วง เพราะมีการใช้กันอย่างฟุ่มเฟือยขาดการคำนึงถึงสภาวะแวดล้อม และผู้บริโภค  การใช้สมุนไพรกำจัดแมลงศัตรูพืชไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่บรรพบุรุษได้รู้จักใช้กันมานานแล้ว และสมุนไพรที่ใช้สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น แต่ละชนิดมีสรรพคุณในการป้องกัน กำจัด และรักษาโรค-แมลงได้หลายชนิดแตกต่างกันไปตามชนิด ส่วนของพืช และวิธีการใช้ ซึ่งมีข้อดีที่ไม่มีสารพิษตกค้างเป็นอันตรายต่อคนหรือสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีผลเสียต่อระบบนิเวศน์เหมือนกับที่เป็นปัญหารุนแรงในปัจจุบัน

                กรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรได้มีการรณรงค์ให้ลดสารเคมีในการเกษตร และนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาปรับใช้ผสมผสานกับวิชาการสมัยใหม่เพื่อให้สะดวกต่อการใช้  ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  และลดการนำเข้าของสารเคมีเพื่อการเกษตร หลีกเลี่ยงพิษตกค้าง ซึ่งเป็นพิษต่อเกษตรกรและอาจตกค้างมาถึงผู้บริโภคด้วย สารที่ได้จากสมุนไพรส่วนใหญ่สามารถละลายในน้ำได้และเสื่อมสลายง่ายกว่าสารเคมีสังเคราะห์ โอกาสที่สารออกฤทธิ์จากสมุนไพรจะตกค้างในพืชผักมาถึงผู้บริโภคจึงมีน้อยมาก  ดังนั้นการปลูกพืชสมุนไพรไว้ใช้เองจึงเป็นโอกาสดีเพื่อใช้ในการทำการเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  

           

                จาก สถานการณ์ดังกล่าว เมื่อผู้เขียนได้ทราบจากคุณเทวี  ดีอ่วม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 4  ผู้รับผิดชอบตำบลสะพานหิน   ว่ามีเกษตรกรคนเก่งที่ได้รับรางวัลจากความขยันและความอดทน คือ รางวัลดีเด่นการประกวดศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดชัยนาท โดยสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดชัยนาท ต้องอย่างนี้ซินักส่งเสริมการเกษตรรุ่นใหม่ไฟแรงถูกส่งไปอยู่นอกเขตชลประทานต้องหูไวตาไวขยันหาเกษตรกรหัวไวใจสู้ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้กระจายเทคโนโลยีสู่เกษตรกรรายอื่น                      

                          นายเสวก  คุ้มเขต  เกษตรกรคนเก่งวัย 42 ปี บ้านเลขที่ 22 หมู่ที่ 6 ต.สะพานหิน อ.หนองมะโมง  จ.ชัยนาท  กล่าวว่า ได้เปลี่ยนพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน และพื้นที่นาข้าวเป็นกิจกรรมไร่นาสวนผสมเมื่อปี 2540 มีฝรั่งแป้นสีทอง ฝรั่งไร้เมล็ด และกลมสาลี่ ประมาณ 130 ต้น ลำไย 35 ต้น ส้มเขียวหวาน 70 ต้น  พร้อมขุดสระน้ำ เพื่อเป็นแหล่งน้ำไว้ยามฤดูแล้ง อีกทั้งเลี้ยงวัวขุนครั้งละ 6  ตัวขุนนาน  6  เดือน ก็สามารถจำหน่ายได้ในราคางาม  มูลวัวเป็นปุ๋ยอย่างดี ใส่ผักสวนครัวที่ปลูกก่อนฤดูฝน และปลายฤดูฝนเป็นเงินหมุนเวียน ในด้านแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานคนในครอบครัว  รายได้หมุนเวียนวันละ  300 400 บาท แหล่งจำหน่ายผลผลิตที่สำคัญคือให้ภรรยานำไปวางจำหน่ายที่ตลาดนัดในหมู่บ้าน วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ และร้านค้าในหมู่บ้าน                      ประเด็นสำคัญของการทำไร่นาสวนผสม 

                

      

         พี่เสวก อธิบายให้ฟังพอสรุปได้ว่า การจัดการพื้นที่ แบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ ซึ่งระยะแรกรายได้เกิดจากกิจกรรมบางส่วน ปลูกไม้ผลควรยกร่องไม้ผลและมีคันดินล้อมรอบแปลงไม้ผล แหล่งน้ำ ขุดสระน้ำ ร่องน้ำ เสริมในฤดูแล้ง ประมาณ 30 % ของพื้นที่ เงินลงทุน ในระยะแรกจะค่อนข้างสูง ควรพิจารณากิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนเร็วในช่วงแรกๆ พิจารณาให้สอดคล้องกับชนิดและกิจกรรมการผลิต การวางแผน ควรพิจารณากิจกรรมการเกษตร ทำรายได้ (ด้านเศรษฐกิจ) อาหาร ใช้สอยตามความเหมาะสม ซึ่งจะต้องปลูกพืชอายุสั้นแซมเพราะไม้ผลบางชนิดสามารถปลูกแบบผสมผสานกันเพื่อก่อให้เกิดรายได้ รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี รายได้หลัก รายได้รอง และรายได้เสริม เช่นไม้ผลให้ผลระยะยาว ปลูกผักหมุนเวียนเป็นรายได้เสริม การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน การดูแลรักษาเช่นการปรับปรุงบำรุงดินที่ดี การตัดแต่งกิ่ง ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ควบคู่กับการใช้สารสมุนไพร                     <p>                         พี่เสวก กล่าวฝากด้วยรอยยิ้มว่า การใช้สารสมุนไพรที่หาได้รอบบ้าน และปลูกไว้ข้างบ้าน คือว่านน้ำซึ่งเป็นสมุนไพรที่สำคัญเพราะเชื้อราเป็นโรคที่สำคัญในสวนผลไม้โดยเฉพาะ แอนแทรกโนส  จะใช้ว่านน้ำ 2 ขีด กระเทียม 1 ขีด ขมิ้น 2 ขีด และเปลือกไม้ฝาดที่พอหาได้ 2 ขีด ทุบและสับให้ละเอียด แช่ในเหล้าขาว 1 ขวด หมักไว้ 24 ชั่วโมงกรองใช้เฉพาะน้ำ  อัตราการใช้  น้ำสมุนไพร 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นป้องกันเชื้อรา ควรฉีดพ่นช่วงแดดอ่อน การใช้สารสมุนไพรลดรายจ่ายเป็นจำนวนมาก เมื่อจำหน่ายผลผลิตแล้วหักค่าใช้จ่ายเหลือไว้สำหรับเป็นทุน และเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนต่อไป    </p><p><div style="text-align: center"></div>                 </p>                  เป็นกิจกรรมหนึ่งในการจัดการความรู้ของเกษตรชัด เมื่อได้รับความรู้แล้วจะต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาได้รับทราบ   เพื่อให้ทราบถึงผลงานของพี่ๆ น้องๆ   ที่มีหน้าที่ทำงานในพื้นที่  และได้ความรู้มาฝากจาก เกษตรจังหวัดชัยนาท (นายรังสรรค์  กองเงิน)   ถึงผู้อ่านว่า การทำการเกษตรโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่ยึดหลัก ทางสายกลาง (พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี) เพื่อความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทั้งภายนอกและภายใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้ง ความรู้ ความเข้าใจ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) ผนวกกับ คุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน)ในการดำเนินชีวิต ไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้นในสภาพที่มีการแข่งขัน นำสู่ ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ของ ชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ที่ทุกคน  ทุกๆ ระดับ และทุกฐานะสามารถนำไปปฏิบัติได้ตลอดไป <p>                                                                                                 ชัด  ขำเอี่ยม/รายงาน</p>

หมายเลขบันทึก: 158285เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2008 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เยี่ยมครับ อ่านได้แล้วทั้งแง่คิด อ่านแล้วได้ทั้งความรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ
  • ผมกะจะเลิกซื้อหนังสือเกษตร แล้วเปลี่ยนมาอ่านของพี่ชัดชัยนาท ดีกว่า
  • ขยายรูปให้ใหญ่ขึ้นอีกหน่อยนะครับ ดูไม่ค่อยชัด ขอบคุณล่วงหน้าครับ

    ^_^

ดีมากๆเลยค่ะสมุนไพรไทยหนูอ่านแล้วมีความรู้สึกว่าคนไทยน่าจะหันมาทำอะไรที่เป็นประโยช์ต่อตัวเองและสังคมบ้างน่ะค่ะ

หนูจะเอาเรื่องนี้ไปบอกต่อเพื่อนๆให้น่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท