วันครู ครูต้องปลูกต้นไม้


ครูปลูกต้นไม้(เด็ก)ให้เจริญงอกงาม

    ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานวันครูครั้งแรก ปี ๒๕๒๒ เพราะบรรจุเป็นครูครั้งแรกเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๑ ได้จัดงานวันครูไปแล้ว ได้สัมผัสรูปแบบ วิธีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และหลายแห่ง และได้ปฏิบัติรวมทั้งปีนี้ ๒๕๕๑ จะเป็นปีที่ ๓๐ ไม่เคยงดหรือเว้นแม้แต่ปีเดียว ขณะที่ไปร่วมพิธีในวันครูเมื่อสมัยเป็นครูใหม่ ๆ ก็ได้แต่เฝ้าดูการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติครูผู้ทำประโยชน์เพื่อแผ่นดิน(ครูที่ปลูกฝัง คุณความดีให้กับลูกศิษย์) ได้แต่เฝ้าคิด เฝ้ารอว่า เมื่อไรเราจะมีโอกาสเหมือนกับครูรุ่นพี่ และในท้ายที่สุดความฝันนั้นก็เป็นจริง เมื่อได้รับการคัดเลือกของจังหวัด ให้ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติเข็มคุรุสดุดี ในฐานะที่ประกอบกรรม(การปฏิบัติหน้าที่)ดี วันครูนั้นจัดได้ว่าเป็นพิธีกรรมที่ดี ที่มอบให้กับครูดี ครูที่มุ่งมั่นในการพัฒนางานในหน้าที่ที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพและต่อวงการจัดการศึกษา วันครูได้มีโอกาสได้ระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ ที่ครูได้อบรม สั่งสอนให้คนมีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา(มนุษย์ที่สมบูรณ์) พระคุณของครูนั้นมีความยิ่งใหญ่ วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพที่สร้างคนให้เป็นมนุษย์ มีเหตุมีผล กำไรที่ได้และเห็นคือความสำเร็จของลูกศิษย์ ในแต่ละรุ่น ๆ กำไรที่ได้ไม่เป็นตัวเงินเหมือนกับวงการธุรกิจ ซึ่งมีหลายคนมักจะนำเรื่องอาชีพครูหรือการศึกษาไปเปรียบเทียบกับการบริหารทางธุรกิจว่าต้องได้กำไรชัดเจน เห็นผลทันทีภายในเวลา ๑ หรือ ๒ ปี เหมือนกับการทำธุรกิจ กำไรทางการศึกษาต้องใช้เวลา กำไรก็คือการที่เด็กบรรลุผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร นั่นคือ เด็กมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ ด้านจริยธรรม ด้านคุณธรรม เป็นต้น

       ดังนั้นไม่ต้องการเห็นการจัดการศึกษา แบบนักธุรกิจ ว่าต้องเห็นทันทีทันใดหรือเรียกว่าทันตา ขอให้กำลังใจกับความพยายามของครู ที่ผลความสำเร็จต้องใช้เวลาหลายปี ก็ไม่ย่อท้อ ก็ยังมุ่งมั่นพัฒนาอย่างไม่หยุด ไม่ยอมเหน่อย ในวันครูปีนี้ ครูจงมีความสุขกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กที่รับผิดชอบ สิ่งเปลี่ยนแปลงคือความเจริญ ความงอกงาม ที่จะเป็นต้นไม้ที่แข็งแร็งเป็นร่มเงาให้กับประเทศชาติในอนาคตต่อไป ต้นไม้ของครูที่ปลูกก็จะทำให้โลกมีความสดใสเขียวชอุ่มครอบคลุมทั่วโลก โลกจะไม่วุ่นวาย ไม่เกิดภาวะโลกร้อนเช่นทุกวันนี้

หมายเลขบันทึก: 157992เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2008 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

(ส่วนลึก ๆ ของครู) ความภาคภูมิใจ ก็ คือ ความสำเร็จของลูกศิษย์ ( ดี มีอาชีพที่เลี้ยงชีพได้) เมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา มันเป็นความสุขจริง ๆ เพราะครูไม่มีอะไรตอบแทนที่จะเป็นรางวัล รางวัลของคุรุสภานั้นก็ยังไม่รู้จักสำหรับครูบรรจุใหม่ ครูบ้านนอก อาจารย์ 3 ก็ไกลเกินเอื้อม ในสมัยนั้นไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้กันเลย หรือมีก็น้อยมากไม่เหมือนปัจจุบัน แรงใจที่ครูมีแรงต่อสู้ก็คือลูกศิษย์ที่เคยสอนมาได้มาหา ได้เห็นความสำเร็จของลูกศิษย์ และการดูแลครอบครัวให้มีความสุข

แต่ปัจจุบันนี้ ความสุขอย่างนั้นไม่มีเหลือแล้ว จะเป็นเพราะครูไม่ตั้งใจสั่งสอน หรือเป็นเพราะนักเรียนไม่ตั้งใจเรียน ก็ยังไม่อยากจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่ทำให้ผลมาเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมของนักเรียน ผลการเรียน ที่ไปในทางลบ แล้วครูจะมีกำลังใจอยู่ต่อไปได้หรือไม่ ถ้าครูต้องต้องการแรงใจจากลูกศิษย์ แต่ถ้าครูที่มีแรงใจแรงใจจากผลงานวิชาการ เขาก็อยู่สู้ต่อไป แต่การออกจากราชการก่อนกำหนดครั้งนี้ มีครู ผู้อำนวยการ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ขอออกด้วย นั่นหมายถึงอะไร ขณะนี้ครูก็อายุมากขึ้นทุกวัน บางคนตามการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าในเรื่องต่าง ๆ ไม่ทัน สุดท้าย ครูขอออกจากราชการก่อนกำหนด เป็นเรื่องที่น่าจะมีใครศึกษาดูบ้าง

ครูที่อยู่ไกล ๆ โรงเรียนขาดครู ขาดวัสดุอุปกรณ์ โดยเฉพาะนักเรียนที่เหมือนกับไม่มีความพร้อมที่จะเรียน แล้วครูต้องสอนให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงเหมือนกับโรงเรียนที่มีความพร้อม คงต้องเหมื่อย ทำอย่างไรครับที่จะให้ครูเหล่านี้มีแรงกาย แรงใจ ต่อสู้

วันครูในแต่ละปี เรานำครูเหล่านี้มาเชิดชูบ้างได้ไหมครับ ถึงแม้เขาจะสอนให้เด็กผลการเรียนไม่สูง แต่เขาได้อบรมสั่งสอนให้เด็กเป็นคนดีขึ้นระดับหนึ่ง ก็พอแล้ว วัตถุประสงค์การศึกษาระหว่างโรงเรียนที่มีความพร้อมกับโรงเรียนที่ไม่มีควารมพร้อมถ้าจะให้ทัดเทียมกัน ต้องให้กำลังใจครูครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท