การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย


เมื่อครูต้องการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย

      การวิเคราะห์ข้อสอบ เป็นกระบวนการสร้างแบบทดสอบให้มีคุณภาพ การสร้างข้อสอบแบบอัตนัยหรือข้อสอบที่ให้คะแนนแต่ละข้อมากกว่า ๑ คะแนน เป็นคำถามที่ครูชอบถามมากที่สุด ว่าจะทำการวิเคราะห์อย่างไร วิธีการวิเคราะห์ก็ใกล้เคียงกับการวิเคราะห์ขอสอบแบบตอบถูกได้ ๑ คะแนน ตอบผิดได้ ๐ คะแนน คือ

๑. ตรวจกระดาษคำตอบนักเรียนทุกคน

๒.นำกระดาษมาเรียงลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อยหรือน้อยไปมากก็ได้

๓.แบ่งกระดาษคำตอบนักเรียนเป็น ๒ กลุ่มเท่า ๆ กัน กลุ่มที่ได้คะแนนสูง และกลุ่มที่ได้คะแนนต่ำ

๔.แยกวิเคราะห์หาค่าคะแนนเฉลี่ยแต่ละข้อ ของแต่ละกลุ่ม

๕.วิเคราะห์หาค่าความยาก ทำได้โดยนำคะแนนเฉลี่ยกลุ่มสูง มารวมกับคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มต่ำ แล้วหารด้วย ๒ ได้เท่าไร นั่นคือค่าความยาก

๖.วิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนก ทำได้โดย นำคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มสูง มาหักออกด้วยคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มต่ำ แล้วหารด้วย ๒ ได้เท่าไร นั่นคือ ค่าอำนาจจำแนก

๗.นำค่าที่ได้มาแปลผลหรือแปลความหมาย

   ๗.๑ ค่าความยาก

          -ค่าความยากระหว่าง ๒๐% - ๘๐ % ของคะแนนเต็ม ถือว่าใช้ได้

          -ค่าความยากต่ำกว่า ๒๐%ของคะแนนเต็ม จัดว่ายากไป

         -ค่าความยากมากกว่า ๘๐ % ของคะแนนเต็ม จัดว่าง่ายไป

    ๗.๒ ค่าอำนาจจำแนก

          -ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ ๒๐ % ถึง ๑๐๐ %ของคะแนนเต็มถือว่าใช้ได้

         -ค่าอำนาจจำแนกต่ำกว่า ๒๐ % ถือว่าจำแนกได้ต่ำ ใช้ไม่ได้

ตัวอย่าง เช่น

 ข้อที่

 คะแนนเต็ม

คะแนนเฉลี่ยกลุ่มสูง 

คะแนนเฉลี่ยกลุ่มต่ำ 

 ๑

๕ 

๓.๒ 

๔.๗

๔.๕

๑.๓ 

๒.๓

๒.๑

ผลการวิเคราะห์ค่าความยากและอำนาจจำแนก ดังนี้

 ข้อที่

ค่าความยาก 

ค่าอำนาจจำแนก 

 ๑

(๓.๒+๑.๓)/๒=๒.๒๕ 

(๔.๗+๒.๓)/๒ =๓.๕

(๔.๕+๒.๑)/๒ =๓.๓

(๓.๒-๑.๓)/๒ =.๔๕ 

(๔.๗-๒.๓)/๒ =๑.๒

(๔.๕-๒.๑)/๒ =๑.๒

  การแปลผล/แปลความหมายความยาก

 ข้อที่

ค่าความยาก 

ร้อยละของคะแนนเต็ม 

แปลผล/แปลความหมาย 

 ๑

 ๒.๒๕

๓.๕

๓.๓

 ๔๕

๗๐

๖๖

 ใช้ได้ ยากปานกลาง

ใช้ได้ ค่อนข้างง่าย

ใช้ได้ ยากปานกลาง

การแปลความหมาย/แปลผลค่าอำนาจจำแนก

 ข้อที่

ค่าอำนาจจำแนก 

ร้อยละของคะแนนเต็ม 

แปลผล/แปลความหมาย 

 ๑

 .๔๕

๑.๒

๑.๒

 ๙

๒๔

๒๔

ใช้ไม่ได้ จำแนกต่ำมาก

ใช้ได้ จำแนกต่ำ

ใช้ได้ จำแนกต่ำ

 

 

หมายเลขบันทึก: 157795เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2008 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท