การเตรียมตัว การประเมิน และการ Accreditation HA และ HPH ของสถาบันบำราศนราดูร


สถาบันบำราศนราดูร 1 - 2 กุมภาพันธ์ 2549

การเตรียมตัว การประเมิน และการ Accreditation HA  และ  HPH 

1 – 2 กุมภาพันธ์  2549

     วันที่ 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2549  ทางสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พ.ร.พ.)  ได้มา Survey  สถาบันบำราศนราดูรสำหรับการประเมิน HA และ  HPH  โดยมี นพ.สงวนสิน  รัตนเลิศ เป็นต้น เป็นผู้นำทีม พวกเราชาวบำราศได้เตรียมตัวระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากเราจะประเมินทั้ง HA และ HPH ทำให้ทางเราค่อนข้างเครียดเพราะการพัฒนาบางส่วนอาจจะต้องพัฒนาเพิ่มอีกหลายด้าน

     ทางทีมมาทั้งหมด 7 ท่าน พวกเราแบ่งทีมกันดูแลอาจารย์ๆ ละ 2 คน เพื่อการประสานงาน  หลังจากวันประเมินทั้งสองวันพวกเราหายเหนื่อยกันแต่มีเรื่องต้องพัฒนาและทำแผนพัฒนาเพิ่มเติมอีกตามที่อาจารย์จาก พ.ร.พ. เห็นว่าไม่ดีพอ โดยมีการคุยกับคณะกรรมการบริหารก่อนที่จะเรียกเจ้าหน้าที่ทั้งหมดมาแจ้งผลของการ Survey คนที่ถูกชมก็รู้สึกดีใจ ส่วนคนที่ต้องพัฒนาก็มาพัฒนาเพิ่มเติมและทำแผนพัฒนาส่งอาจารย์  เพื่อที่อาจารย์จะได้นำแผนประกอบการเสนอให้คณะกรรมการชุดใหญ่ต่อไป

3 กุมภาพันธ์ 2549
     วันนี้ทางสถาบันได้เรียกประชุมแพทย์เพื่อปรึกษาในการทำแผนประกอบการแก้ไขเรื่องการตรวจแฟ้ม ซึ่งมีส่วนของการตรวจร่างกายยังไม่สมบูรณ์ แพทย์ส่วนใหญ่ก็ยินดีที่จะพัฒนาการเยี่ยมการตรวจร่างกายให้ดีขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ทั้งในการส่งต่อ ในการดูแลให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง ทาง QMR อยากจะให้มีการทำรูปแบบของการเขียนประวัติและใช้วิธี Check list และเติมในส่วนของการตรวจ แต่คนส่วนใหญ่ก็ยินดีที่จะเขียนประวัติเองและทำให้ละเอียดขึ้น การตรวจสอบแฟ้มเพื่อเตรียมการคงต้องอาศัยหัวหน้าตึก Screen และพยาบาล OPD ช่วยดูแลและตรวจสอบ ซึ่งแพทย์ก็ยินดีที่จะให้ความร่วมมือ

    

6 กุมภาพันธ์ 2549

     หลังจากการประเมินของ พ.ร.พ. ทางสถาบันต้องมาแก้ไขเรื่องระบบเวชระเบียน  ความเสี่ยง  และกิจกรรมทบทวน  ซึ่งยังขาดอยู่ในบาง PCT 

     ในส่วนของ HPH ต้องมาเพิ่มในกิจกรรม  Empower คนไข้และญาติ

     ระบบยาต้องพิจารณาความเสี่ยงในระบบยาผู้ป่วยใน

     ทางสถาบันได้เรียกประชุมผู้บริหาร, พยาบาล และ PCT เพื่อเตรียมแก้ไข ซึ่งมีเวลาประมาณ 2 สัปดาห์
     วันนี้ได้เรียกกรรมการบริหารประชุมช่วง 12.00 -13.00 น. เพื่อเตรียมแผนปรับปรุงตามข้อแนะนำของ พ.ร.พ  และคิดว่าจะประชุมจนกว่าจะถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เพื่อเป็นการประสานงานระหว่าง Key person ที่สำคัญของสถาบัน

     ในช่วงบ่าย งานอายุรกรรมจะมีการประชุม PCT อายุรกรรม เตรียมการปรับปรุงระบบการดูแล  โดยมี นพ.วิศิษฏ์ ประสิทธิศิริกุล รองหัวหน้างานอายุรกรรม, ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านวิชาการมาเป็นผู้รับผิดชอบในการนำเสนอและปรับแผนใหม่

     นพ.วิศิษฏ์  ประสิทธิศิริกุล  เป็นแพทย์อายุรกรรมและผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคไต  มีผลงานวิจัยที่สร้างชื่อเสียงให้แก่สถาบัน  และมีภรรยาชื่อ  พญ.ศรัณยา  ประสิทธิศิริกุล  เป็นแพทย์วิสัญญี  คุณหมอนำเสนองานของวิสัญญีและ พ.ร.พ. ประทับใจมาก

 

7 กุมภาพันธ์ 2549

     วันอังคารที่ 7  กุมภาพันธ์  2549  ผู้อำนวยการได้ลงไปพบกลุ่มการพยาบาลและได้กำหนด Form  ของ  Present  ของ พ.ร.พ.  ของงานศัลยกรรมและอายุรกรรมใหม่เพื่อไปเสนอให้ทางศัลยกรรมและอายุรกรรมมาปรับแนวคิดโดยให้  คุณพรรณี  ลิ้มสวัสดิ์ ที่เป็นหัวหน้าตึกพิเศษ  และคุณศุภลักษณ์  หิริวัฒนวงศ์  หัวหน้าห้องผ่าตัดไปช่วยดูแลศัลยกรรมและอายุรกรรม  เพื่อปรับปรุงการนำเสนอในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2549 

     ในช่วงกลางวันจะมีการประชุมบริหาร, หัวหน้า PCT, หัวหน้า  กลุ่มและรองหัวหน้ากลุ่มการพยาบาลที่ยิ่งต้องปรับปรุงระบบงาน  ที่จะเสนอ พ.ร.พ. มาคุยกันและวางแผนการดำเนินการใหม่  มีการปรึกษาถึงเรื่องระบบบริหารความเสี่ยงซึ่งมีความสับสนในการสื่อสารและการรายงาน และการจัดการทางสถาบันยังโชคดีที่ได้ พญ.รุจนี  สุนทรขจิต  ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านวิชาการและหัวหน้ากลุ่มงานกุมารเวชกรรม  ซึ่งได้รับคำชมจาก พ.ร.พ. มากในการนำเสนองานของกุมารเวชกรรม  คุณหมอเป็นแพทย์ที่เคยได้รับรางวัล  แพทย์ดีเด่นของสถาบันและกรมควบคุมโค  และเป็นประธานคณะกรรมการความเสี่ยง  มีการดูแลผู้ป่วยที่นึกถึงผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางจริง  โดยไม่ต้องใช้ทฤษฏีของฝรั่ง  แต่ด้วยที่จิตเมตตาของแพทย์ที่สำนึกในหน้าที่  และสามารถเชิญ  พญ.นาฏพธู  สงวนวงศ์  เข้ามาช่วยในการคิดค้นหาความเสี่ยง  ซึ่งพญ. นาฏพธู  เป็นหมอที่จบทางด้าน  Respiratory และเป็นแพทย์ที่ดูแล นพ.Carlo Urbani ในระยะสุดท้าย ในระยะที่เราไม่จักโรค  SARS

     ในการประชุมบริหารในวันนี้จะเป็นโอกาสดีที่จะมีการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้ดีขึ้น  ซึ่งผู้ป่วยจะได้ประโยชน์และแพทย์ที่ดูแลจะได้ระบบที่สะดวกในการดูแลผู้ป่วย โดยผู้อำนวยการได้เสนอให้มีสมุดที่จดในสิ่งที่เป็นคำแนะนำของแพทย์และของผู้มารับบริการ  และตรวจสอบได้ว่าได้แก้ไขแล้ว  เพื่อสำหรับเป็น  CQI  และ  Suggestion  Story  ต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #ha
หมายเลขบันทึก: 15748เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2006 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ในส่วน HPH ที่เราอาจจะลืมไม่ได้นำเสนอ คือ เนื่องจากผู้ติดเชื้อ HIV/AIDSของเรามีปัญหาด้าน สังคม จิตวิทยา จึงเกิดกลุ่มงานแนะแนวฯ ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการส่งเสริมสุขภาพของผ้รับบริการกล่มดังกล่าว และอานิสงค์นี้ก็ไปถึงกล่มผ้รับบริการรายอื่นๆที่มีปัญหาโรคเรื้อรังและปัญหาความเครียด ด้านสังคม จิตวิทยา รวมท้งกล่มบุคลากรด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท