ศึกษานิเทศก์ดีมีคุณภาพ


ศึกษานิเทศก์นักปฏิบัติมากกว่านักทฤษฎี

              วันนี้(๓ มกราคม ๒๕๕๑) มีโอกาสได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะศึกษานิเทศก์ สพท.อ่างทอง จำนวน ๑๖ ท่าน นำทีมโดยหัวหน้าเสกสรรค์ อรรถยานันท์ ได่เกริ่นนำการทำงานของศึกษานิเทศก์ ตามมาตรฐานตำแหน่งที่ ก.ค.ศ.กำหนด ต่อจากนั้นได้นำเสนอยุทธศาสตร์การนิเทศของ สพท.พระนครศรีอยุธยา เขต ๑ ว่ากำหนดยุทศาสตร์ ๓ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนคุณภาพ คือ ๑.Function based ซึ่งจะเหมือนกันทั่วประเทศ ๒.Area based ใช้อำเภอ กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายและโรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา มีหัวหน้าสายคิดกิจกรรมการนิเทศตามบริบทแต่ละ Area ๓.Subject based ใช้กลุ่มสาระเป็นฐานการพัฒนาคุณภาพ ผลที่เกิดขึ้นที่เป็นรูปธรรม คือ Area based ซึ่งศึกษานิเทศก์ของพระนครศรีอยุธยา เขต ๑ ได้รายงานผลความสำเร็จเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ได้นวัตกรรมการนิเทศหลากหลายมากที่สุด สำหรับ Function based ก็มีภาพความสำเร็จรองลงไป ได้รูปแบบการพัฒนา เช่น การประกันคุณภาพ , การนิเทศ เป็นต้น

            ต่อจากนั้นได้ให้คณะศึกษานิเทศก์ สพท.อ่างทอง ได้นำเสนอการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบของแต่ละคน ทุกคนมีนวัตกรรมการปฏิบัติหน้าที่หลาก มีคุณภาพ จัดได้ว่า เป็นนักปฏิบัติการที่ดี มีคุณภาพ แต่ขาดการนำเสนอ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ภาพความสำเร็จของงานเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมประเภทโครงการพัฒนาคุณภาพ นวัตกรรมประเภทเทคนิควิธี/รูปแบบการนิเทศ นวัตกรรมประเภทเอกสาร คู่มือในการพัฒนา

            หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้มีโอกาสต่อยอดและเติมเต็มนวัตกรรมของคณะศึกษานิเทศก์ทุกคน โดยเฉพาะนวัตกรรมประเภทเทคนิค วิธี หรือรูปแบบการนิเทศ ต้องนำเสนอให้เป็นระบบ เป็นขั้น เป็นตอน หรือเป็นระยะ ในแต่ละระบบ/ขั้น/ตอน/ระยะ นำเสนอกิจกรรมที่ได้ดำเนินการพัฒนาให้ชัดเจน เรียงลำดับการพัฒนาก่อนหลัง เมื่อได้ใช้นวัตกรรมการนิเทศไปแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การนำเสนอภาพความสำเร็จซึ่งเป็นจุดอ่อน จะต้องออกแบบเครื่องมือในการประเมินนวัตกรรมการนิเทศ ว่าความสำเร็จจากการใช้นวัตกรรมดูได้จากอะไร ดูอย่างไร เช่น ความสำเร็จเกิดขึ้นกับครู คือ ความรู้ ความเข้าใจ แบบประเมินควรเป็นแบบทดสอบ หรือแบบประเมินตนเอง ความสำเร็จคือ ทักษะ/ความสามารถของครู แบบประเมินควรเป็นแบบบันทึกการนิเทศหรือแบบประเมินหรือแบบสอบถาม เป็นต้น

              ความสำเร็จเกิดขึ้นกับนักเรียน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับศึกษานิเทศก์ เพราะศึกษานิเทศก์มีหน้าที่พัฒนาครู สิ่งที่สะท้อนว่าครูมีความรู้ ความสามารถและทักษะ ที่เป็นผลจากการนิเทศ ก็คือ ผลปรากฏที่นักเรียน ดังนั้นควรประเมินความสำเร็จของนวัตกรรมการนิเทศที่นักเรียนด้วย

            ต่อจากนั้น นำแบบประเมินนวัตกรรมการนิเทศ ไปประเมิน ทดสอบ สอบถาม บันทึก และนำผลมาเขียนรายงาน เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ก็จะทำให้ศึกษานิเทศก์ ได้ Best practice ของแต่ละคน ซึ่งนำมาสู่การขอเลื่อนวิทยฐานะต่อไป

           ลืมบอกไปว่า ตัวอย่างนวัตกรรมการนิเทศ ของ ศน.สพท.อท.การพัฒนาครูแต่งบทเพลงประกอบการสอน, การพัฒนาครูร้องเพลงไทย , การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านคุณภาพนักเรียน, การพัฒนาการเรียนการสอนครูคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์, การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้, คู่มือพัฒนาระบบประกันคุณภาพสถานศึกษา,การพัฒนาครูการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน(ลูกเสือ) ,รูปแบบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก, การพัฒนาคูรลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน ๔ ด้าน, ฯลฯ

         ครั้งหน้าจะนำเสนอภาพความสำเร็จของการใช้นวัตกรรมการนิเทศ จะเห็นได้ว่า ศึกษานิเทศก์เป็นนักปฏิบัติที่ดี ที่เก่งขอชื่นชมนะครับ

หมายเลขบันทึก: 157260เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2008 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ศึกษานิเทศก์มีหน้าที่พัฒนาครู แต่ผลต้องปรากฏที่นักเรียนด้วย นี่แหละที่เก็บมารายงานยาก
  • งานมีค่อนข้างเยอะ...ยอมรับว่าไม่เป็นระบบค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท