การศึกษาจะไปในทิศทางไหน?


การจัดการศึกษาไม่รู้ว่ามาถูกทางหรือยัง

ได้หนังสือเล่มใหม่ ชื่อ "เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ" ของวิจักขณ์ พานิช ความจริงเคยเรียนเรื่องนี้มาบ้างเล็กน้อย ตอนที่เรียนหนังสือที่จุฬาฯ ตอนนั้นยังไม่มีชื่อภาษาไทย เลยเรียกว่า Comtemplative education รากศัพท์มาจาก temple ที่แปลว่า อาราม หมายความว่าเป็นการจัดการศึกษาที่นำใจน้อมนำไปสู่ความเรียบง่าย สงบ เย็น

ย้อนกลับมาดูเรื่องการศึกษาที่ผ่านมาแล้ว เราไม่รู้ว่าเป็นไปเพื่อการแก่งแย่ง แข่งขัน เพียงใด ดูเป็นเรื่องของความรุ่มร้อนพิกล เราเรียนเรื่องราวสารพัด แต่โลกก็มีปัญหาที่ซ้อนทับไม่หยุดหย่อน

วิชาที่น่าเรียนรู้กลับถูกละเลิกไปเสียแล้วในการศึกษาในระบบ อย่างวิชาศิลปะที่ให้ความชุ่มชื่นแก่หัวใจกลับหดหายไร้ความสำคัญ ดังนั้นการเรียนทาง contemplative education จึงให้ความสำคัญกับการทำงานกับอารมณ์ ความรู้สึก ด้วยการทำงานต่าง ๆ ราวกับเป็นพิธีกรรม กิจกรรมที่เรียนได้แก่

  • การวาดภาพ ให้พัฒนาญานทัศนะ ผ่านสี แสง และความรู้สึก
  • การชงชา ได้ลิ้มรสชาติเดิมแท้ของชา ชมความงามของถ้วยชาที่ช่างได้ผจงทำ ดื่มด่ำกับความงามของธรรมชาติ
  • การจัดดอกไม้ ที่เน้นความงามที่อยู่ภายใน แบบ "จัดดอกไม้ แล้วให้ดอกไม่มาจัดใจเรา"
  • การทำสุนทรียะสนทนา โดยการพูดจากับกัลยาณมิตร เรียนรู้กับการอยู่กับผู้คน
  • การไปใช้ชีวิตอย่างง่าย ๆในหมู่บ้านห่างไกลเช้าไปรีดนมวัว สายไปสับห่อไม้ เย็นสีความด้วยเครื่องแบบโบราณ ล้างชามด้วยฝุ่นขี้เถ้า ฯลฯ

  

สมุดภาพของนักเรียน: ที่บรรจบกันของพรมแดนความรู้ ความจริง และความงาม

วิชาเหล่านี้ กลับไม่มีเรียนในการศึกษากระแสหลัก ต้องกลับมาทบทวนกันดีไหมว่า ตกลงแล้ว "ชีวิตเกิดมาเพื่อเรียนรู้อะไรกันแน่ และอะไรเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ของชีวิตอันสั้นนี้"  

หมายเลขบันทึก: 157219เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2008 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท