ความเป็นไป


สอนให้มีรสนิยมในการอ่านด้วยการวิจารณ์หนังสือ

การส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง  จากสิ่งแวดล้อม  จากสื่อสิ่งพิมพ์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ในระดับหนึ่ง  การส่งเสริมการอ่านเป็นการสร้างนิสัยให้นักเรียนได้ค้นหาตนเอง  และค้นพบเพื่อการพัฒนาตนเอง 

เคยจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการอ่าน  และเกิดความตระหนักว่าการอ่านคือการพัฒนาชีวิต  เช่น เล่าเรื่องจากหนังสือ  แนะนำหนังสือ  จัดนิทรรศการหนังสือ  ประกวดสุนทรพจน์เกี่ยวกับการอ่าน  ก็ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง  กิจกรรมเหล่านี้เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี  2542  และได้บันทึกความเป็นไป  ทำให้มองเห็นการพัฒนาการอ่านของนักเรียน  และได้พบว่า  วิธีที่ทำให้นักเรียนสนใจและเกิดแรงบันดาลใจที่จะอ่าน  คือการวิจารณ์หนังสือของครู  ซึ่งวิจารณ์ด้วยความรู้สึกและอารมณ์ที่จะสามารถโน้มน้าวใจผู้ฟังได้  จากนั้นก็หาแนวร่วมคือ  กลุ่มนักเรียนที่อ่านหนังสือที่ครูแนะนำ  แล้วช่วยกันวิจารณ์  เพื่อจุดประกายให้เกิดแนวร่วมในการสร้างกระแส  

    การสร้างกระแสทำให้นักเรียนเกิดความน่าสนใจ  มากกว่าคำแนะนำธรรมดา  การยกตัวอย่างเกี่ยวกับรสนิยมในการอ่านหนังสือของคนดังในทุกวงการ  ก็สร้างแรงจูงใจให้เด็กรักการอ่านได้ไม่ใช่น้อย   อีกทั้งยังทำให้ นักเรียนมีรสนิยมในการเลือกหนังสืออ่านอีกด้วย

             ถ้าหลายๆคนช่วยกันระดมสมอง   คิดวิธีสร้างกระแสให้รักการอ่านอย่างต่อเนื่อง  ด้วยวิธีการที่หลากหลาย  ก็เท่ากับสอนวิธีคิดให้นักเรียนก่อนอ่าน  แล้วการอ่านของนักเรียนก็จะพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง

โครงการชวนเพื่อนอ่านหนังสือ  โครงการประกวดการอ่าน  เช่น  "เล่มนี้สิน่าอ่าน" ที่เคยมีมา....น่าจะได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่องด้วย   เพราะเราจะได้มองเห็นความเป็นไป....ของ "การส่งเสริมเยาวชนให้รักการอ่าน"ที่เป็นนามธรรมเสียที

             การสอนด้วยวิธีการ "ทำให้ดู"ของคนในครอบครัว  ก็มีส่วนในการสร้างนิสัยรักการอ่านให้เด็กๆด้วย  มีผลการวิจัยที่พบว่าเด็กๆรักการอ่านเพราะพบเห็นคนในครอบครัวรักการอ่านด้วย  ..............การสร้างกระแสให้รักการอ่านจากความร่วมมือของหลายๆฝ่าย...จะช่วยแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก  เขียนไม่ได้ในเบื้องต้น  และในที่สุดเราจะได้คนที่เต็มคนเพราะผลของการรักการอ่าน   แล้วการพัฒนาในหลายๆด้านก็จะตามมา

 

คำสำคัญ (Tags): #ความเป็นไป
หมายเลขบันทึก: 157103เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2008 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยนะ หากทุกคนรักการอ่านจะทำให้เข้าใจสิ่งต่างๆ มากขึ้น ไม่ต้องเข็นทุกเรื่องของนักเรียนเหมือนกับทุกวันนี้ ทำต่อไปนะให้กำลังใจจ้า

สวัสดีครับ

สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการอ่านครับ เพราะจะพัฒนาไปสู่การสังเกต คิดเปรียบเทียบ และวิจารณ์ นอกจากนี้ยังนำไปสู่การเขียนด้วย

การเขียนเป็นปัญหามากแม้ในผู้ใหญ่ ถ้าเขียนมาน้อยจะไม่คุ้นกับการเขียน ประโยคเยิ่นเย้อ ประโยคยืดยาว ไม่จบประโยคก็มี ได้สนับสนุนตั้งแต่เด็กๆ มีผลระยะยาวครับ ;)

เห็นด้วยกับอาจารย์อย่างยิ่งเลยค่ะ อยากให้อาจารย์จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กๆรักการอ่านอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เพราะเด็กๆวัยรุ่นสมัยนี้ไม่ค่อยสนใจอ่านหนังสือกันแล้ว สนใจแต่เกมคอมพิวเตอร์ และเล่นสนุกกันไปวันๆ อย่างห้องของหนูก็เห็นได้ชัดเลย ตอนที่อาจารย์สั่งให้ทำบันทึกการอ่าน ก็สนใจเข้าร้านหนังสือเพื่อหาหนังสือดีๆแล้วตั้งใจอ่านกัน แต่พออาจารย์เว้นช่วงไปหน่อย ไม่สั่งให้ทำ บรรยากาศนั้นก็หายไปทันที อยากให้อาจารย์จัดกิจกรรมสนับสนุนให้เด็กๆอ่านหนังสือกันบ่อยๆค่ะ เขาจะได้ชินและชอบอ่านหนังสือกันมากขึ้น เพราะการอ่านหนังสือบ่อยๆ จะสามารถแก้ปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออก พออ่านได้เก่งขึ้นก็จะสามารถเขียนหนังสือได้ถูกต้อง ฝึกสมาธิได้ด้วย จนสามารถพัฒนาไปถึงการเรียน พอสามารถอ่านเข้าใจอะไรได้ง่าย มีสมาธิ ก็จะเรียนได้ดีขึ้นตามมาค่ะ

ข้าพเจ้ามีความเห็นตรงกับผู้เขียน เพราะว่าการปลูกฝังให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เอง ค้นคว้าข้อมูลที่เป็นปรโยชน์ได้เอง ผู้เรียนจะมีทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าการเรียนในห้องที่ผู้เรียนได้แต่นั่งฟังอย่างเดียว ดังนั้นผู้สอนในทุกวิชาควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ เพื่อจบไปแล้วจะสามารถเอาตัวรอดได้ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท