Modern School : รูปแบบการปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียน


Modern School :

 รูปแบบการปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียน ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐาน เพื่อให้เป็นโรงเรียนดีที่ใกล้บ้าน

Modern school เป็นวิธีการปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ได้แก่  การปรับปรุงและพัฒนาอาคาร-สถานที่ โดยเฉพาะแหล่งเรียนรู้  การปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยเฉพาะกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ ICT  การปรับปรุงและพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะบรรยากาศทางวิชาการ การปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียนหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในโรงเรียน เพื่อให้มีความเป็นพิเศษและแตกต่างจากโรงเรียนโดยทั่วไป “การเพิ่มศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสาร (ICT) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา”  ความหมาย Modern ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการบริหารจัดการในโรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยาที่จะก่อให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษาในครั้งนี้ คือ

1) การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดี

2) ความทันสมัย/ทันเหตุการณ์

3) ความมีมาตรฐาน (ปริมาณ + คุณภาพ)

4) ประโยชน์ที่ได้รับ แนวคิดในการปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียน ตามแนวคิด แบบ “Modern school”

   1) Lab school คือห้องเรียน , แหล่งเรียนรู้แบบห้องปฏิบัติการ ที่มีวัสดุ, อุปกรณ์, เครื่องมือ และครุภัณฑ์ที่จะใช้ ในการจัดการเรียนการสอนและอำนวยความสะดวก ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพที่ดี มีปริมาณเพียงพอตามเกณฑ์ และที่สำคัญที่สุด ก็คือให้สามารถรองรับการการใช้ สื่อ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ได้

   2) E- school คือโรงเรียนที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาแนวใหม่ที่ใช้สื่อ/เครื่องมือ Electronic ช่วยในการจัดการเรียน การสอน, การเรียนรู้และการฝึกอบรม ซึ่งการจัดการศึกษาแบบ E-School จะใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เรียกว่า E-Learning ประกอบด้วย - Computer - Content - Communication - Management

   3) Child Center - คือการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญ โดยการจัดการศึกษาตามแนวทาง Modern School จะเน้นผลลัพธ์ที่เกิดแก่ผู้เรียน , ให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัด,ความสนใจและรักในการเรียน โดยโรงเรียนจะต้องจัดแหล่งเรียนรู้, กระบวนการเรียนรู้, และบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการและความพึงพอใจของผู้เรียน

   4) โรงเรียนชั้นดี ที่ใกล้บ้าน - คือ การจัดการเรียนการสอนและพัฒนาคุณภาพการศึกษา อันได้แก่ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มีผลสัมฤทธิ์ผลที่ดี , มีการบริหารจัดการศึกษาที่ได้มาตรฐาน การปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนที่ดี มีบรรยากาศ การเรียนรู้ น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางทางการเรียนรู้ของประชาชนในชุมชน โดยนักเรียนที่อยู่ใกล้โรงเรียน และอยู่ในเขตบริการ ยินดีและเต็มใจที่จะศึกษาต่อ หรือ ผู้ปกครองสนับสนุน ให้บุตรหลานเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนี้ด้วยความเชื่อมั่นในบุคลากรของโรงเรียน การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการนำนวัตกรรม สู่การปฏิบัติ จากสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2547 พบว่า นักเรียน ,ผู้ปกครอง และชุมชน ยังขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในกระบวนการและผลผลิตของการจัดการศึกษาของโรงเรียนโดยหวังจากนักเรียนจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนไม่สมัครเข้ามาเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนนี้ หรือมาเขาก็มาด้วยความไม่เต็มใจทั้งนี้เนื่องจากพลาดหวังจากการสอบเข้าในโรงเรียนชั้นนำหรือโรงเรียนยอดนิยมในตัวจังหวัด จึงส่งผลให้จำนวนนักเรียนโดยรวมของโรงเรียนลดลง , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่ามาตรฐาน จากการศึกษาถึงสาเหตุดังกล่าวพบว่า

1) ห้องเรียน/ห้องปฏิบัติการไม่ได้มาตรฐาน

2) ครูไม่มีสื่อและไม่ได้ใช้สื่อในการเรียนการสอน

3) นักเรียนขาดความสนใจในการเรียน

 4) ผู้ปกครอง/ชุมชนไม่ให้ความสนใจ/ไม่ศรัทธาและเชื่อมั่นในผลงานของโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนจึงระดมสมองจากครู, นักเรียน, ผู้ปกครองและชุมชน ร่วมกันวางแผนเพื่อการแก้ปัญหาตามความจำเป็น ดังนี้ วัตถุประสงค์

   1. เพื่อดำเนินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้เต็มศักยภาพ

   2. เพื่อดำเนินการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ

   3. เพื่อพัฒนาครู และสนับสนุนให้ครูได้มีความรู้และมีความสามารถในการผลิตหรือจัดหาและรวบรวมสื่อการเรียนการสอนโดยเฉพาะสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ICT

   4. เพื่อดำเนินการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่อ Electronic และมีกระบวนการเรียนรู้แบบ E-Learning

   5. เพื่อส่งเสริมการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ในโรงเรียนให้มีบรรยากาศที่ดีโดยเฉพาะบรรยากาศที่ส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการ เป้าหมาย

   1. โรงเรียนมีห้องปฏิบัติการ แบบ E-Classroom ดังนี้  ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องคณิตศาสตร์  ห้องวิทยาศาสตร์ - เคมี - ฟิสิกส์ - ชีววิทยา  ห้องภาษาอังกฤษ - Discovery

   2. โรงเรียนมีเครือข่ายและฐานความรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนได้แก่ จัดทำระบบ Internet ความเร็วสูง/สมรรถนะสูง ผ่านใยแก้วนำแสง/ ความเร็ว 512 K  จัดทำระบบ Intranet เพื่อเชื่อมเครือข่ายการเรียนรู้ภายในโรงเรียน  จัดทำ web site โรงเรียน : www.utvs.ac.th  จัดระบบการใช้บริการในโรงเรียน (School Server)   

   3. ฝึกอบรม/ให้ความรู้/ส่งเสริมและพัฒนาให้ครูได้ผลิตสื่อการเรียนการสอน , จัดทำและรวบรวมสื่อ Electronic / สื่อ Digital เพื่อใช้ในการเรียนการสอนทุกคน/และกลุ่มสาระฯ และทุกรายวิชา

   4. โรงเรียนจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการ E-Learning (Electronic + Learning)

 1. บริบท/ภาพรวมการดำเนินงานและการเตรียมการ

   1) Bench to Best School โดยร่วมกิจกรรมการศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices ) ด้วยวิธีเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) กับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

   2) Site Visit โรงเรียนชั้นนำที่ร่วมโครงการได้แก่ โรงเรียนราชวินิต บางแก้ว, โรงเรียนศึกษานารี

   3) ศึกษาการใช้ ICT ในโรงเรียนต้นแบบในฝัน ได้แก่ โรงเรียนสันกำแพง , โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย

   4) สำรวจสภาพทั่วไปและสภาพการดำเนินงานของโรงเรียน

   5) กำหนดกลยุทธ์และแผนงานการปรับปรุง/พัฒนาโรงเรียน(นวัตกรรมการบริหารโรงเรียน)

   6) ประชาพิจารณ์ครู, นักเรียน, ผู้ปกครองและชุมชน

   7) ระดมทรัพยากร

2. การปรับปรุง/พัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามแนวทาง Modern school

   1) ออกแบบแหล่งเรียนรู้ให้สะดวกต่อการใช้งาน/สวยงาม/ให้น่าสนใจ และน่าเรียน

   2) จัดทำแหล่งเรียนรู้ให้สอดคล้องและรองรับกับการใช้งาน ICT ประกอบด้วย - Computer ปฏิบัติการสอนสำหรับครู 1 ชุด - Computer ส่งเสริมการค้นคว้าของนักเรียน 2-3 ชุด/ห้องเรียน - Projector พร้อมจอรับภาพ 1 ชุด - Internet/Intranet รองรับ school Server/Website(www.utvs.ac.th)

   3) การปรับปรุง /พัฒนากระบวนการเรียนรู้

      1) ศึกษารูปแบบการใช้ ICT ที่เหมาะสมกับโรงเรียน

      2) ปรับปรุงระบบเครือข่ายการเรียนรู้ภายในโรงเรียนได้แก่

          2.1 Computer - สำรวจสมรรถนะ/จำนวนเครื่องที่เหมาะสมแก่การใช้งาน

         2.2 Communication - ปรับปรุงระบบการสื่อสารใช้เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ได้แก่ - Server - ระบบ Lan เพื่อเชื่อมต่อ Internet/Intranet   

        2.3 Content – จัดทำสื่อ/จัดหา/รวบรวมสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียน - จัดเก็บในระบบ server - จัดอบรม/พัฒนาครูให้มีความรู้แนวทางปฏิบัติการใช้งาน

        2.4 Management - การจัดระบบบริการการใช้กระบวนการ E-Learning ในโรงเรียน - การพัฒนา/ใช้สอน - การควบคุมการสอน - การกำกับติดตาม/ประเมินผล 4. การปรับปรุง/พัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ในโรงเรียน โรงเรียนกำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนให้มีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียนโดยเน้นที่บรรยากาศทางวิชาการ เป็นหลักได้แก่

1. ความสะอาด (Clean)

2. ความร่มรื่น (Green)

3 . ความปลอดภัย (Safety)

 4. ความสะดวก(Facility)

 5. ความสวยงาม(Beautiful)

6. ความอบอุ่น (Friendly) - ให้กำลังใจ/ยอมรับการเปลี่ยนแปลง - สละกำลังการร่วมพัฒนา - เข้ารับการฝึกอบรม/พัฒนาเรียนรู้การใช้ ICT ในการจัดการเรียนการสอน - จัดทำสื่อ/บทเรียน Electronic ในการสอนนักเรียน - ระดมทุนทรัพย์เพื่อจัดหา/จัดซื้อคอมพิวเตอร์และ Internet - สนับสนุนนโยบายการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT ในโรงเรียน - สนับสนุนงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนในการจัดการศึกษา เช่น อบต. ผาจุก ,งิ้วงาม,ขุนฝาง เพื่อ  ปรับปรุงบรรยากาศสิ่งแวดล้อม  ดูแลความสะอาดในโรงเรียน  จ้างครูต่างชาติสอนภาษาอังกฤษ จากการดำเนินงานปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียนตามแนวทาง Modern school ทำให้เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรม ดังนี้

1) แหล่งเรียนรู้

2) กระบวนการเรียนรู้

3) บรรยากาศการเรียนรู้  การแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน 1. สนใจเรียนและร่วมกิจกรรมมากขึ้น

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ดังนี้ ปีการศึกษา 2547 เฉลี่ย ร้อยละ 2.51 ปีการศึกษา 2548 เฉลี่ย ร้อยละ 2.49 ปีการศึกษา 2549 เฉลี่ย ร้อยละ 2.63

3. สถิติขาดเรียน/หนีเรียนลดลง ปีการศึกษา 2547 เฉลี่ย ร้อยละ 12.4 ปีการศึกษา 2548 เฉลี่ย ร้อยละ 8.15 ปีการศึกษา 2549 เฉลี่ย ร้อยละ 3.23

4. มีทัศนคติที่ดีต่อโรงเรียน/ต่อครูผู้สอน/ต่อการเรียนเพิ่มขึ้น

5. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 1. มีการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการใช้ ICT และสร้างบทเรียน/รวบรวมบทเรียนสำหรับการสอน 2. มีศักยภาพในการใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน 3. เปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ความรู้มาเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน

    1. ชื่นชม ศรัทธาโรงเรียนโดยนำบุตรหลานมาเรียนโดยสมัครใจ 2. มีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาโรงเรียน มากขึ้น 1. ชื่นชม/ศรัทธาโรงเรียนเพิ่มขึ้น

2. มีส่วนร่วมในการสนับสนุนโรงเรียนในทุกๆ กิจกรรม

     1. รับนักเรียนเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,4 เพิ่มขึ้น

     2. จำนวนนักเรียนโดยรวมเพิ่มขึ้น ยกระดับโรงเรียนธรรมดาเป็น ”โรงเรียนชั้นนำ ก้าวล้ำเทคโนโลยี มีบรรยากาศการเรียนรู้ สู่การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม

     3. นำความเป็นเลิศด้านวิชาการ ด้วยมาตรฐานในระดับสากล” ตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา

    4. ได้รับการยกย่องจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นโรงเรียนดีเด่นในการใช้ ICT ในการเรียนรู้ในโรงเรียน การใช้ทรัพยากรในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้/ กระบวนการเรียนรู้/บรรยากาศการเรียนรู้ โรงเรียนใช้นโยบาย/วิธีการ  ปรับปรุงจากสิ่งที่มีอยู่เดิม และพัฒนา/แก้ไขให้ดีขึ้น/สะดวกการใช้งานโดยการซ่อม/ทาสี/จัดระเบียบ  ประหยัด/ใช้ต้นทุนต่ำแต่ดูดี เช่น การปรับปรุงบอร์ดหน้าชั้นเรียน โดยเปลี่ยนจากกระดานดำเป็นจอภาพ การปรับปรุง/พัฒนา ห้องปฏิบัติการต่างๆ ระบบการจัดการเรียนรู้และบรรยากาศอื่น ๆ โรงเรียนใช้ทรัพยากรที่เป็นเงินอุดหนุน,การระดมทุนจากผู้ปกครอง/ชุมชนโดยใช้งบประมาณที่จำเป็น ดังนี้  ห้องปฏิบัติการแบบ E-Classroom ประมาณห้องละ 100,000-120,000 บาท  ระบบเครือข่ายการเรียนรู้ ประมาณ 300,000 บาท  การอบรม/พัฒนาครู ประมาณ 100,000 บาท  การพัฒนาบรรยากาศ/สิ่งแวดล้อมต่างๆ ประมาณ 500,000 บาท ฯลฯ ในการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วม โรงเรียนดำเนินการคือ

1. การสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของ  การเปลี่ยนแปลง  การพัฒนา  คุณภาพผู้เรียน  มาตรฐานการจัดการเรียนรู้/สถานศึกษา

2. ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์/แผนงาน/โครงการ และกิจกรรมร่วมกัน

3. การจัดการความรู้ภายในโรงเรียน โดยกำหนดเป้าหมาย/วิธีดำเนินการที่ชัดเจน

4. บูรณาการการจัดการเรียนรู้ร่วมกับทุกฝ่ายและทุกกลุ่มสาระฯ

5. กำหนดแนวทางการกำกับ/ติดตามและประเมินผลทุกระยะ

6. ยกย่อง/ชมเชย/ประกาศเกียรติคุณในกรพัฒนา/เปลี่ยนแปลงของครู/กลุ่มสาระฯ/ ฝ่ายต่างๆ ในการนำไปใช้โรงเรียนใช้วิธีการจัดการความรู้ในโรงเรียน (Knowledge Management :KM) ซึ่งมีวิธีการดังนี้  เป้าหมายในการดำเนินการ

1. กำหนดทิศทางของการจัดการเรียนรู้

2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือ เกื้อกูล

3. การสร้างคลังความรู้ เชื่อมโยงเครือข่ายและการประยุกต์ใช้  วิธีการดำเนินงาน

     1. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศของครู บุคลากร กลุ่มสาระฯและโรงเรียน

     2. ประชุมชี้แจงและทำความเข้าใจ

     3. ประเมินตนเอง

     4. นำเสนอ Best Practices ของครูและกลุ่มสาระฯ

     5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะการปฏิบัติการ (Bench Marking)

     6. จัดทำแผนพัฒนา

     7. จัดการความรู้ให้เป็นระบบ

     8. ติดตามประเมินผล จากผลการปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียนตาม Model – Modern School ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพแบบก้าวกระโดด ทั้งคุณภาพผู้เรียน คุณภาพครู และภาพรวมของคุณภาพสถานศึกษา ทำให้โรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา เป็นโรงเรียนคุณภาพโรงเรียนหนึ่ง โดยเป็นความหวังของชุมชนว่าโรงเรียนนี้คือ โรงเรียนดีที่ใกล้บ้าน อย่างแท้จริง

คำสำคัญ (Tags): #modern school
หมายเลขบันทึก: 156960เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2008 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • แวะมาทักทายก่อนพบกันที่พัทยา
  • กำลังเช็คดูโรงเรียนในฝันรุ่น 2  ในจังหวัดที่ตัวเองรับผิดชอบ(เป็นRoving Team เหมือนพี่แสวง) ว่าเข้ามากรอกข้อมูลในเว็บโรงเรียนในฝันหรือยัง นึกถึงเลยเข้ามาที่เว็บโรงเรียน
  • ชื่นชมที่ได้เป็นเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าฯ
  • นึกว่าย้ายแล้ว แล้วจะได้ย้ายหรือเปล่า
  • บล็อกนี้เขียนดีมาก ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ในการนิเทศโรงเรียนดีใกล้บ้านรุ่น 2 นะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท