แนวการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับทฤษฎีแรงจูงใจ


การบริหารกับทฤษฎีแรงจูงใจ

แนวการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับทฤษฎีแรงจูงใจ 
          ทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์หรือผลสำเร็จของงานจะสำเร็จก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง โดยเฉพาะบุคลากรในองค์กรนั้นจะต้องมีแรงจูงใจ  ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้ให้บุคลากรต้องการที่จะปฏิบัติงานให้สำเร็จตามจุดประสงค์  นอกจากนี้ทฤษฎีแรงจูงใจยังที่จะแสดงถึงความต้องการของมนุษย์  เมื่อมนุษย์ได้รับสิ่งจูงใจหรือสิ่งเร้าแล้วการทำงานจะประสบความสำเร็จตามความต้องการของผู้สั่งงาน  ซึ่งแรงจูงใจนั้นอาจจะเป็น คำชมเชยหรือรางวัลตอบแทนก็จะแสดงหรือตอบสนองต่อสิ่งเร้า  และงานที่ได้รับมอบหมายก็จะประสบผลสำเร็จ   ดังนั้นพอสรุปได้ว่าทฤษฎีแรงจูงใจเป็นทฤษฎีที่มีความสำคัญมากในการนำมาใช้ในการบริหารงานในโรงเรียนที่จะมาเสริมแรงกระตุ้น ให้ผู้ร่วมงานมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

ผู้บริหารสามารถนำทฤษฎีแรงจูงใจนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานในโรงเรียนได้ดังต่อไปนี้
          1. นำทฤษฎีแรงจูงใจมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน
          
2 นำมาใช้ในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ
          
3. นำมาประยุกต์ใช้กับนักเรียน โดยอาศัยแรงจูงใจด้านต่าง ๆ  เช่น การให้รางวัล การได้รับการยอมรับ     ฯลฯ
          
4. นำทฤษฎีแรงจูงใจ มาเป็นเครื่องมือในการขอความร่วมมือจากชุมชน
          
5. ทฤษฎีแรงจูงใจมาใช้ในการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากร
          
6. จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ
            
7. นำมาประยุกต์ใช้โดยอาศัยแรงจูงใจด้านต่าง ๆ เช่น การให้รางวัล การได้รับการยอมรับฯลฯ
            
8. ทฤษฎีแรงจูงใจ นำมาเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้ครูทำงานอย่างมีความสุข โดยเฉพาะงานสอน         
            
ในการบริหารงานในโรงเรียนปกติก็นำทฤษฎีแรงจูงใจมาใช้อยู่ตลอดเวลา เพราะการให้ขวัญและกำลังใจหรือเสริมแรงจะต้องให้อยู่ตลอดเวลา   ซึ่งเป็นหลักการที่จะต้องนำมาใช้ เพื่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในโรงเรียนที่มีต่อผู้บริหารโรงเรียน

ผลที่ได้รับจากการนำทฤษฎีแรงจูงใจ พอสรุปได้ดังต่อนี้
         
1. ข้าราชการครูมีความเต็มใจในการปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         
2. จัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพตามเป้าหมาย
          
3. ทุกคนในโรงเรียนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม
         
4. ชุมชน องค์กรท้องถิ่น ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนมากขึ้น
          
5. ผู้ใต้บังคับบัญชามีขวัญและกำลังใจทำงานมากขึ้น
          
6. ทำให้การบริหารงานในโรงเรียนประสบความสำเร็จ
          
7. ทุกคนในโรงเรียนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม
          
8. ทำให้คุณภาพการเรียนการสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
           
9. งานจะประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยาก
           
10.ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ทุกคนอยู่อย่างมีความสุข
           
11. ผู้ร่วมงานในโรงเรียนมีความรับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่ เต็มความรู้ ความสามารถ
            
12. โรงเรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
            
13. ชุมชน/องค์กรในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน ทุก ๆด้าน

            จะเห็นได้ว่า
ทฤษฎีแรงจูงใจ เป็นอีกหลักการหนึ่ง ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรจะต้องนำมาใช้ในการบริหารงานในโรงเรียน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะการให้ขวัญ แรงเสริมเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนมีความปรารถนา ซึ่งถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นที่จะนำพาองค์กรในโรงเรียนดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จได้อย่างมีความสุขและได้งานอย่างมีประสิทธิภาพ 
 

คำสำคัญ (Tags): #การบริหาร
หมายเลขบันทึก: 156612เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2007 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 10:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับคุณวนิดา

ขอเรียกพี่ละกันนะครับ คือผมหาข้อมูลทำโปรเจคน่ะครับ แล้วก็มาเจอเรื่องนี้

คือแบบว่าอยากขอเอกสารอ้างอิงเรื่องนี้จากพี่น่ะครับ พอจะให้ได้มั้ยเอ่ย

ได้ ไม่ได้ยังไงผมจะรอนะครับ

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท