การบริหารจัดการและการใช้ระบบ PIO-NET ของศูนย์กิจการด้านผู้บริโภคในระดับท้องถิ่น ณ เมือง Fukuoka จังหวัด Fukuoka


การบริหารจัดการและการใช้ระบบ PIO-NET ของศูนย์กิจการด้านผู้บริโภคในระดับท้องถิ่น ณ เมือง Fukuoka จังหวัด Fukuoka

การบริหารจัดการและการใช้ระบบ PIO-NET ของศูนย์กิจการด้านผู้บริโภคในระดับท้องถิ่น ณ เมือง Fukuoka จังหวัด Fukuoka

Fukuoka เป็นจังหวัดตั้งอยู่ในเกาะ Kyushu ในจังหวัดนี้มีเมือง Fukuoka เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเกาะ Kyushu 

ศูนย์กิจการด้านผู้บริโภคแห่งเมือง Fukuoka (Fukuoka City Consumer Affairs Center: FCCAC) อยู่ภายใต้สำนักงานท้องถิ่นเมือง Fukuoka แบ่งออกเป็น 5 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายคุณภาพชีวิตผู้บริโภค  ฝ่ายสืบสวนวิเคราะห์สถานการณ์ด้านฉลาก  ฝ่ายทดสอบผลิตภัณฑ์  ฝ่ายแนะนำให้คำปรึกษา  และฝ่ายตรวจสอบ

บทบาทและหน้าที่หลักที่สำคัญ ได้แก่

- การให้คำปรึกษาทั่วไปซึ่งจะมีผู้ให้คำปรึกษามาบริการแก่ผู้บริโภคทุกวันราชการ  อนึ่ง ในการนี้ได้นำระบบ PIO-NET มาใช้สำหรับจัดเก็บวิเคราะห์ข้อมูล และในบางกรณีเป็นข้อมูลในเชิงสอบสวนแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในการสอบสวนข้อเท็จจริงผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สุจริต- การให้การศึกษาและเผยแพร่ข้อมูล  ในการนี้ ได้สนับสนุนกิจกรรมและให้เงินอุดหนุนแก่องค์กรผู้บริโภคด้วย- การทดสอบผลิตภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่

1. เมื่อมีการร้องขอจากผู้บริโภค (Request Test)

2. เมื่อมีกรณีต้องการเปรียบเทียบพิสูจน์คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ซึ่งผู้บริโภคมีความสนใจอย่างยิ่งและสืบเนื่องมาจากการร้องขอจากผู้บริโภค (Trial Purchase Test)

3. เมื่อมีการร้องขอจากองค์กรผู้บริโภคต่าง ๆ ขอให้องค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันทดสอบผลิตภัณฑ์ (Joint Product Test)

 

ข้อสังเกตของผู้เขียน

1.การให้คำปรึกษากรณีพิเศษด้านกฎหมายของ FCCAC จะต้องมีการนัดหมายไว้ล่วงหน้าก่อนโดยจะมีการให้บริการเดือนละหนึ่งครั้ง ระหว่างเวลา 13.00 – 15.00. ในวันราชการ  ทั้งนี้ FCCAC จะเป็นผู้จัดหาทนายความจากสภาทนายความให้ โดย ทนายความจะได้รับค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน

2. องค์กรพัฒนาเอกชนหรือองค์กรผู้บริโภคจะได้รับเงินอุดหนุนจาก FCCAC ด้วย

3.การบันทึกข้อมูลสู่ระบบ PIO-NET นั้น FCCAC ได้จ้างเอกชนเป็นผู้บันทึกข้อมูล  ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ FCACC จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาและบันทึกข้อมูลลงใน Consultation Card โดยจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยลำดับการบังคับบัญชา

4. การพัฒนาทรัพยากรบุคคลภายในของ สคบ. เป็นสิ่งที่จะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องคู่ขนานไปกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูล  และขณะเดียวกัน สคบ. ควรที่จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญและเป้าหมายของข้อมูลรวมทั้งการปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลด้วย  ทั้งนี้ หากบุคลากรมีความเข้าใจในเป้าหมายร่วมกัน การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรก็จะเป็นไปได้โดยไม่ยากนัก

5. ปัญหาของผู้บริโภคปัจจุบัน เช่น การขายสินค้าทางโทรศัพท์ ทางไปรษณีย์ การเสนอขายตามบ้าน สัญญาเช่าบ้านที่อยู่อาศัย เป็นต้น

6. มีการเรียกร้องให้มีหลักสูตรเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในสถานศึกษา แต่ไม่ได้รับการตอบสนองจากกระทรวงศึกษาและภาครัฐแต่อย่างใด

7. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ได้ให้ความสนใจการดำเนินงานของประเทศไทย (สคบ.) เรื่องการดำเนินคดีแทนผู้บริโภคตรมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๒๒  และการส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในสถานศึกษาอย่าง มาก

 

หมายเลขบันทึก: 155508เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2007 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท