11 เรื่อง ยกเครื่อง กศน.


รับทราบข่าว พ.ร.บ. กศน.ผ่านสภากันถ้วนหน้า ด้วยความรู้สึกที่อาจจะแตกต่างกัน แต่ที่แน่ๆ คือ การทำงานมีกฎหมายรองรับชัดเจนขึ้น มีแนวทางการปฏิบัติที่ทำได้สะดวกขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ต้องทำงานหนักต่อไป เพราะผู้ใหญ่ไว่เนื้อเชื่อใจให้กฎหมายผ่านแล้ว ผู้ปฏิบัติก็ต้องปฏิบัติตาม อย่างเต็มที่ สิ่งที่เห็นวันนี้ประการหนึ่งก็คือ มาตรการของท่านปลัดกระทรวง

    ติดตามข่าวจากหน้า web ของท่านปลัดที่กล่าวถึงแนวทางในการยกเครื่องงาน กศน. ที่ขอนำมาเขียนซ้ำตรงนี้อีกครั้ง ดังนี้

    นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้เปิดเผยว่าในปี 2551 ได้วางแนวทางไว้ 11 เรื่อง เพื่อยกเครื่องงาน กศน. ให้สอดคล้องกับ พรบ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งจะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 19 ธันวาคม และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2551 โดยสรุปได้ดังนี้
        (1) ได้เตรียมยกร่างกฎกระทรวง 4 ฉบับ และประกาศ 3 ฉบับไว้แล้ว รวมทั้งจะได้ทยอยนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการประสานและส่งเสริมงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่ง รมว.ศธ.เป็นประธาน การทำงานของคณะกรรมการชุดนี้เป็นการสร้างระบบกำหนดนโยบายและกำกับติดตามผลงานของ กศน. 
       (2) จะนำร่างแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อนำเสนอ ครม. หลังการเลือกตั้งเพื่อใช้เป็นแผนแม่บท 4 ปี ในปี 2551 - 2554 รวมทั้งจะผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างกระแสสังคมให้คนไทย 65 ล้านคน ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต
        (3) ปรับระบบการจัดการศึกษานอกระบบให้ทันสมัย บริการแบบมืออาชีพ มีกระบวนการเรียนรู้ได้หลายวิธี โดยเน้นยุทธศาสตร์ กศน.จัดเองร้อยละ 60 ให้เครือข่ายร่วมจัดร่วมจัดร้อยละ 40 กลุ่มเป้าหมายหลักคือ แรงงานในสถานประกอบการที่มีความรู้ประถมปีที่ 4 จำนวน 21.6 ล้านคน
        (4) พัฒนาระบบประกันคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบร่วมกับ สำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) โดยจะเริ่มประเมินคุณภาพภายในได้ต้นปี 2551 และนำเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพภายนอกของศูนย์ กศน. นำร่อง 20 จังหวัด โดยใช้ตัวขี้วัดของ สมศ.
        (5) จัดทำเว็บ Google Nonformal Education ให้ใช้ชื่อ www.gnfe.go.th เพื่อเป็นคลังข้อมูลและตลาดวิชาของ กศน. จะมีหลักสูตรให้บริการกว่า 1,000 หลักสูตร นอกจากนี้จะมีเนื้อหาทั้งหนังสือ นิตยสาร วารสาร และบทความกว่า 100,000 รายการ โดยจะระดมเทคโนโลยีทั้งวิทยุศึกษา FM 92 MgHertz , ETV , ศูนย์การเรียนทางไกล มาจัดบริการเรียนรู้ทางไกล และการเรียนด้วยตนเองโดยใช้สื่อผสม นักศึกษาของ กศน. ทุกคนจะได้รหัสและเป็นสมาชิกของ Google เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
        (6) กศน. ร่วมกับสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) ได้เตรียมพัฒนาบุคลากรโดยทุ่มงบประมาณ 22.6 ล้านบาท ฝึกอบรมผู้บริหาร ครู และ บุคลากรทั้งหมด จำนวน 17,840 คน โดยอบรม 7 หลักสูตรตั้งแต่หลักสูตรการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร หลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร หลักสูตรสร้างประสิทธิภาพองค์กร หลักสูตรการพัฒนาเข้าสู่วิทยฐานะ หลักสูตรการพัฒนาพนักงานราชการให้เป็นข้าราชการครู หลักสูตรการพัฒนาเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและหลักสูตรการบริหารจัดการยุคใหม่ โดยทั้ง 7 หลักสูตร จะจัดทำเนื้อหาแขวนไว้ในเว็ปไซต์ให้บุคลากรกศน. ทุกคนเข้ามาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เนื่องจากบุคลากร กศน.จะได้อบรม 1 คนต่อ 1 หลักสูตร
        (7) วางระบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย โดยจัดทำป้ายยกย่อง "แหล่งเรียนรู้ กศน. ขอคารวะ" เพื่อคัดเลือกแหล่งเรียนรู้ที่ดีที่สุดประจำอำเภอไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวฯลฯ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนไปแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยจะเริ่มประกาศยกย่อง 10 แห่งก่อนในปี 2551
         (8) จัดทำคัมภีร์ กศน. ในรูปศัพทานุกรม เพื่ออธิบายความหมายของศัพท์ที่เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบ การศึกษาทางเลือก การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาทางไกล การศึกษาตามอัธยาศัยและศัพท์อื่น รวม 50 คำ โดยภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่ของทุกมหาวิทยาลัยร่วมกันจัดทำ
         (9) วางระบบการพัฒนาเครือข่ายในการร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น 16 กลุ่ม กลุ่มผู้จัดบริการ 10 กลุ่ม และกลุ่มหลักสูตรที่เป็นสินค้าอีก 5 กลุ่ม รวมทั้งระบบให้บริการการเทียบโอนผลการเรียนและการเทียบระดับสินค้า เพื่อให้ผู้เรียนของ กศน.ได้เลือกเรียนรู้เหมาะเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มสนใจ
        (10) พัฒนาระบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทั้งภายในองค์กรและการรายงานความก้าวหน้าเพื่อให้ประชาชนติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของ กศน. รวมทั้งจะจัดมหกรรมนักอ่านและตลาดวิชาการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในวันที่ 8 กันยายน 2551 
         (11) จัดทำแผนพัฒนาอาคารสถานที่และอุปกรณ์ โดยมีการสำรวจภูมิสถาปัตย์ อาคารและพาหนะต่างๆ ไว้เป็นแผน 4 ปี จะทยอยพัฒนาเพื่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ที่ทันสมัย มีเทคโนโลยีใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจาก Google Thailand เข้าร่วมพัฒนาการใช้เทคโนโลยี Google Application เพื่อการสื่อสารและ การเรียนการสอนด้วย

    เริ่มมาตรวจสอบว่า ในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบด้าน ICT ที่กำลังปฏิบัติ จะนำแนวทางเรื่องอะไร มาปฏิบัติ และพัฒนาได้บ้าง ซึ่งน่าจะมีเรื่องต่างๆ ดังนี้

  • ข้อ 5 การใช้งาน GoogleApps. พัฒนาให้สามารถใช้งาน GoogleApps ได้กว้างขวางขึ้น
  • ข้อ 6 การฝึกอบรมทางไกล (e-Training) โดยดำเนินการฝึกอบรมทางไกลต่อเนื่องจากที่ดำเนินการในปัจจุบัน
  • ข้อ 7 นำความรู้จากแหล่งการเรีนรู้เผยแพร่ทาง website เพื่อช่วยแนะนำ ศูนย์การเรียนรู้ และเนื้อหาความรู้อีกช่องทางหนึ่ง
  • ข้อ 8 สร้าง website ศูนย์ประเมินเทียบระดับ
  • ข้อ 10 ประชาสัมพันธ์ข่าวความเคลื่อนไหวผ่านหน้า website

 

หมายเลขบันทึก: 155133เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2007 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
การดำเนินงานค่อยๆ คืบหน้าไปอย่างช้าๆ เพราะแต่ละเรื่องก็ไม่ใช่งานเหมือนกัน วันนี้ก็ได้รับคำสั่งกรรมการ 11 เป็นฉบับที่ 2 เข้าใจว่ามีการปรับปรุงบางอย่างดังนั้น ตอนนี้ก็ถือว่าเดินหน้าไปได้ แต่ก็ไมลืมสิ่งที่เรามีอยู่แล้วด้วยเช่นกัน โดยเริ่มพัฒนา website ของภาคเองให้มีลักษะของ Web Application มากขึ้น และพัฒนาให้เป็น Portal web มากขึ้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท