ชุดการสอน


ชุดการสอน

ความหมายชุดการสอน
     
ชุดการสอน คือ การนำเอาระบบสื่อประสม (Multi-media) ที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วย มาช่วยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ชุดการสอนนิยมจัดไว้ในกล่อง หรือซองเป็นหมวด ๆ ภายในชุดการสอน ประกอบด้วยคู่มือการใช้ชุดการสอน สื่อการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา และประสบการณ์ อาทิ เช่น รูปภาพ สไลด์ เทป แผ่นคำบรรยาย ฯลฯ

  แนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับชุดการสอน
  ในการนำชุดการสอนมาใช้นั้น อาศัย แนวคิด หลักการ ตลอดจนทฤษฎีต่าง ๆ มี 5 ประการ คือ
     1.
แนวคิดตามหลักจิตวิทยา เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยจัดให้ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ตามความสามารถ และอัตราการเรียนรู้ของแต่ละคน
     2.
แนวคิดที่จะเปลี่ยนการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางมาเป็นแบบให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง โดยใช้สื่อประสมที่ตรงตามเนื้อหา โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ
     3.
แนวคิดที่จะจัดระบบการผลิต การใช้สื่อการสอนในรูปแบบของสื่อประสม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนจากการใช้สื่อช่วยครูมาเป็นใช้สื่อเพื่อช่วยนักเรียนในการเรียนรู้
     4.
แนวคิดที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน และนักเรียนกับสภาพแวดล้อม โดยนำสื่อการสอนมาใช้ร่วมกับกระบวนการกลุ่ม ในการประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน
     5.
แนวคิดที่ยึดหลักจิตวิทยาการเรียนรู้มาจัดสภาพการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่งมีประสิทธิภาพ โดยจัดสภาพการณ์ให้ผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง และมีผลย้อนกลับทันทีว่าตอบถูกหรือตอบผิด      มีการเสริมแรงทำให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิในและต้องการที่จะเรียนต่อไป ได้เรียนรู้ ทีละน้อย ๆ ตามลำดับขั้น ตามความสามารถและความสนใจของแต่ละคน

 

ประเภทของชุดการสอน
     ชุดการสอนแบ่งตามลักษณะการใช้ได้
3 ประเภท คือ
       1. ชุดการสอนแบบบรรยาย หรือชุดการสอนสำหรับครู : เป็นชุดการสอนสำหรับใช้สอนผู้เรียนเป็นกลุ่มใหญ่ ภายในกล่องจะประกอบด้วยสื่อการสอนที่ใช้ประกอบการบรรยาย เพื่อเปลี่ยนบทบาทของครูให้พูดน้อยลง มาเป็นผู้แนะนำ เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากยิ่งขึ้น ชุดการสอนแบบบรรยายนี้ จะมีเนื้อหาโดยจะแบ่งหัวข้อที่จะบรรยาย และประกอบกิจกรรมตามลำดับขั้น ดังนั้น สื่อการสอนที่ใช้ควรเป็นสื่อที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน หรือได้ยินกันอย่างทั่วถึง เช่น แผ่นภาพโปร่งใส สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพยนตร์ แผนภูมิ แผนภาพ โทรทัศน์ เอกสารประกอบการบรรยาย และกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนได้อภิปรายตามปัญหาและหัวข้อที่ครูกำหนดไว้ และชุดการสอนประเภทนี้ มักจะบรรจุในกล่องที่มีขนาดพอเหมาะกับสื่อการสอน อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่สามารถบรรจุไว้ในกล่องได้ จะต้องกำหนดไว้ใน คู่มือครู ส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งที่ ครูผู้สอน จะต้องเตียมไว้ล่วงหน้าก่อนทำการสอน

       2. ชุดการสอนสำหรับกิจกรรมกลุ่ม หรือ ชุดการสอนที่ใช้กับศูนย์เรียน : เป็นชุดการสอนแบบกิจกรรม ที่สร้างขึ้นโดยอาศัยระบบการผลิตสื่อการสอนตามหน่วยและหัวเรื่องโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้ร่วมกันประกอบกิจกรรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 5-7 คน ในห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่มนี้ ประกอบด้วยชุดย่อย ๆ ตามจำนวนศูนย์ในแต่ละหน่วย ในแต่ละศูนย์จะจัดสื่อการสอนไว้ในรูปของสื่อประสม อาจเป็นสื่อรายบุคคล หรือสื่อสำหรับกลุ่มผู้เรียนทั้งศูนย์ใช้ร่วมกัน ผู้เรียนที่เรียนได้ใช้ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่มจะต้องการความช่วยเหลือจากครูในระยะเริ่มเรียนเท่านั้น หลังจากเคยชินต่อวิธีการเรียนแบบนี้แล้วผู้เรียนจะสามารถช่วยเหลือกันเองภายในกลุ่ม ระหว่างการประกอบกิจกรรม หากมีปัญหาสามารถถามครูได้ตลอดเวลา

       3. ชุดการสอนรายบุคคล หรือชุดการเรียน : เป็นชุดการสอนที่มีการจัดระบบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองตามลำดับขั้นที่ระบุไว้ โดยผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเอง ตามความสนใจของแต่ละคน และตามอัตราการเรียนรู้ของตนเอง ผู้เรียนสามารถประเมินผลการเรียนด้วยตนเอง ชุดการสอนประเภทนี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมด้วยตนเอง ผู้สอนจะเป็นผู้ที่ให้ คำแนะนำ และช่วยเหลือทันที หรือผู้เรียนอาจนำชุดการสอนประเภทนี้ไปศึกษาเองที่บ้านได้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริม และฝึกฝน ให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

 

 องค์ประกอบของชุดการสอน
     ชุดการสอนที่สร้างขึ้นมีหลายลักษณะ ขึ้นกับวัตถุประสงค์การใช้ เช่นชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม ชุดการสอนแบบบรรยาย ซึ่งใช้เป็นกลุ่มใหญ่ และชุดการสอนรายบุคคล หรือชุดการเรียน ชุดการสอนเหล่านี้ จะมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ตามลักษณะการใช้ ซึ่งอาจมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
     1.
คู่มือและแบบปฏิบัติ สำหรับครูผู้ใช้ชุดการสอนและผู้เรียนที่ต้องเรียนจากชุดการสอน
     2.
คำสั่งหรือการมอบหมายงานเพื่อกำหนดแนวทางของการเรียนให้นักเรียน
     3.
เนื้อหาสาระ ซึ่งบรรจุอยู่ในรูปของสื่อประสม และกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งแบบกลุ่มและรายบุคคล ซึ่งกำหนดไว้ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
     4.
การประเมินผล เป็นการประเมินผลของ กระบวนการ และผลของการเรียนรู้ ในการประเมินผลกระบวนการ ได้แก่ แบบฝึกหัด รายงาน ส่วนผลการเรียนรู้ได้แก่ แบบทดสอบ ซึ่งจะบรรจุอยู่ในกล่อง โดยจัดเป็นหมวดหมู่สะดวกต่อการใช้

 

 ขั้นตอนการผลิตชุดการสอน
  ในการผลิตชุดการสอนนั้น สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
     1.
กำหนดหมวดหมู่ เนื้อหา และประสบการณ์ อาจกำหนดเป็น หมวดวิชา หรือ สหวิทยาการ
     2.
กำหนดหน่วยการสอน โดยการแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็น หน่วยการสอน เพื่อให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนได้ ภายใน 1 สัปดาห์ หรือให้เสร็จสมบูรณ์ได้ภายในการสอน 1 ครั้ง อาจเป็น 1-2 ชั่วโมง
     3.
กำหนดหัวเรื่อง ผู้สอนควรกำหนด หัวเรื่องต่าง ๆ ที่จะสอนว่า ในการสอนแต่ละครั้งจะจัดประสบการณ์ใดบ้างให้แก่ผู้เรียน
     4.
กำหนดมโนมติ และหลักการ ในการกำหนด มโนมติ และหลักการนี้ จะต้องสอดคล้องกับหน่วยการสอนและหัวเรื่อง โดยสรุปรวม แนวคิด สาระ และหลักเกณฑ์สำคัญไว้เพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอเนื้อหาที่จะสอนให้สอดคล้องกัน
     5.
กำหนดวัตถุประสงค์ ในการผลิตชุดการสอนนั้นควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับหัวเรื่องโดยเขียนเป็นวัตถุประสงค์ทั่วก่อน แล้วจึงเขียนเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
     6.
กำหนดกิจกรรมการเรียน ในการกำหนดกิจกรรมการเรียน ควรจะพิจารณาให้สอด-คล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เพราะกิจกรรมการเรียนที่ผู้เรียนจะต้องประกอบกิจกรรมนั้น จะต้องสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อันเป็นแนวทางในการ เลือก ผลิต และใช้สื่อการสอน กิจกรรมทุกอย่างที่ผู้เรียนปฏิบัติ เช่น ตอบคำถาม ปฏิบัติกิจกรรมตามคำสั่ง เล่นเกม ฯลฯ
     7.
กำหนดแบบประเมินผล ควรจะต้องประเมินผลให้ตรงตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ โดยใช้แบบทดสอบ และใช้วิธีการพิจารณาแบบอิงเกณฑ์ เพื่อผู้สอนจะได้ทราบว่า หลังจากผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว ผู้เรียนได้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
     8.
เลือกและผลิตสื่อการสอน ในการผลิตชุดการสอนนี้ วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งวิธีการต่าง ๆ ที่ครูใช้ จัดว่าเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น เมื่อผลิตสื่อแต่ละหัวเรื่องแล้ว ควรจัดสื่อเหล่านั้นไว้เป็นหมวดหมู่ และจัดไว้ในซองหรือกล่องที่เตรียมไว้ก่อนนำไปทดสอบหาประสิทธิภาพ
     9.
ทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน เมื่อสร้างชุดการสอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรนำชุดการสอนไปทดสอบหาประสิทธิภาพ โดยผู้สร้างควรกำหนดเกณฑ์ตามหลักการที่กล่าวว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรม
     10.
การใช้ชุดการสอน หลังจากที่สร้งชุดการสอนและนำไปหาค่าประสิทธิภาพ ปรับปรุง แก้ไข ได้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนก็สามารถนำไปสอนผู้เรียนได้ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ เช่น ชุดการสอนแบบบรรยาย ชุดการสอนแบบรายบุคคล และชุดการสอนสำหรับกิจกรรมกลุ่มและสามารถใช้ได้ทุกระดับ เช่น อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา โดยมีขั้นตอนการใช้ดังนี้
           10.1
ขั้นทดสอบก่อนเรียน ควรจะมีการตรวจสอบความรู้พื้นฐาน ในเรื่องที่จะ เรียนก่อน
           10.2
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ในขั้นนี้ผู้สอนควรนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเป็นการเตรียมตัวผู้เรียนก่อนเรียน อีกทั้งเป็นการแนะนำวิธีการเรียนโดยใช้ชุดการสอนในกรณีที่ผู้เรียนยังไม่เคยเรียนโดยวิธีนี้ จะได้ทราบขั้นตอนการเรียน การปฏิบัติตนในกระบวนการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างถูกขั้นตอนจะลดปัญหาในการเรียน ในกรณีที่ใช้ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม ควรแบ่งกลุ่มผู้เรียนและอธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ในการเรียนโดยใช้ชุดการสอน
           10.3
ขั้นประกอบกิจกรรม ในการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการสอน ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี แต่คำสั่งที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามนั้นควรมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย โดยเฉพาะชุดการสอนแบบรายบุคคล และแบบกิจกรรมกลุ่ม ภาษาที่ใช้ในการอธิบายควรเข้าใจง่ายและชัดเจนผู้สอนควร ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำเมื่อผู้เรียนเกิดปัญหา
           10.4
ขั้นสรุปและทดสอบหลังเรียน เมื่อผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้สอนควรสรุปมโมมติต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้เรียนแล้ว เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ทดสอบหลังเรียน เพื่อให้ทราบว่าหลังจากที่ผู้เรียนเรียนแล้วเกิดการเรียนรู้ในเรื่องหรือไม่ ถ้ายังไม่เข้าใจ ผู้สอนควรอธิบาย หรือให้ประกอบกิจกรรมอื่น ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังทำให้ทราบความก้าวหน้าทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน

 

คุณค่าของชุดการสอน
     1. ช่วยเร้าความสนใจ ผู้เรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน จะประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนสนใจต่อการเรียนตลอดเวลา
     2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี จากการที่ผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง สามารถเรียนได้ตามความสนใจ และตามอัตราการเรียนรู้ของตนเอง จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
     3. ส่งเสริมและฝึกหัดให้ผู้เรียน รู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบตนเองและสังคม
     4. ช่วยให้การเรียนเป็นอิสระ จากบุคลิกภาพของผู้สอน เนื่องจากการเรียนโดยใช้ชุดการสอนผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้บรรยายตลอดเวลามาเป็นผู้แนะนำ ช่วยเหลือ และใช้ชุดการสอนทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ แทนครู ดังนั้นผู้เรียนสามารถได้อย่างประสิทธิภาพจากชุดการสอน ถึงแม้ว่าผู้สอนจะเป็นผู้ที่สอนไม่เก่ง
     5. แก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะชุดการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และตามโอกาสที่เอื้ออำนวยให้แก่ผู้เรียนซึ่งมีความแตกต่างกัน
     6. สร้างความพร้อม และความมั่นใจให้แก่ครู เพราะในการผลิตชุดการสอนนั้นได้จัดระบบการใช้สื่อการสอน ทั้งการผลิตสื่อการสอน กิจกรรม ตลอดจนข้อแนะนำการใช้สำหรับผู้สอน สามารถนำไปใช้ได้ทันที
     7. ส่งเสริมการเรียนแบบต่อเนื่อง หรือการศึกษาตลอดชีพ เพราะสามารถนำชุดการสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองได้ทุกเวลาและสถานที่
     8. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ เพราะชุดการสอนได้ผลิตขึ้นโดยใช้วิธีระบบและกลุ่มผู้มีความรู้ความสามารถ มีการทดลองใช้จนแน่ใจว่าใช้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้แล้วจึงนำออกใช้แพร่หลาย
     

    ระบบการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน

     
การเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมห้องเรียนที่มุ่งเน้นกิจกรรมการเรียน โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 4-6 กลุ่ม เรียกว่าศูนย์การเรียน แต่ละกลุ่มจะประกอบกิจกรรมที่แตกต่างกันไปตามที่กำหนดไว้ในชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม โดยที่แต่ละศูนย์จะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที สำหรับประกอบกิจกรรมตามคำสั่ง เมื่อนักเรียนทุกศูนย์ประกอบกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว ก็จะย้ายศูนย์การเรียนจนครบทุกศูนย์ หรือถ้าแต่ละกลุ่มประกอบกิจกรรมเสร็จไม่พร้อมกันก็ให้กลุ่มที่เสร็จก่อนเข้าศึกษาในศูนย์สำรอง โดยมีครูเป็นผู้ แนะนำ ช่วยเหลือ กระตุ้น และช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ

  

หน่วยการเรียนการสอน นั้นมีชื่อเรียกได้หลายชื่อ ได้แก่ บทเรียนโมดูล หรือบทเรียนแบบโมดูล
  ความหมายของหน่วยการเรียนการสอน
     
ลอเรนซ์ (Lwrence 1973) ได้ให้ความหมายของหน่วยการเรียน เป็นบทเรียนที่มีระเบียบแบบแผนมีวิธีศึกษาค้นคว้าความรู้ได้หลายแบบ เป็นการจัดให้มีกิจกรรมที่หลากหลายวิธีไว้ด้วยกันเพื่อสนองตอบให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจ เหมาะสำหรับการเรียนของผู้ใหญ่และเด็ก ที่มีอายุ 9 ขวบขึ้นไป
     
บุญเกื้อ ควญหาเวช (2531) ได้กล่าวถึงความหมายของหน่วยการสอนว่า เป็นการสื่อการเรียนชนิดหนึ่ง ที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรยนได้เกิดความรู้ ความต้องการ โดยที่บทเรียนนั้นจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์เอาไว้อย่างแน่นอน มีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้เลือกตามความถนัด และความสามารถของแต่ละคน มีการประเมินผลก่อนและหลังเรียน มีการทดสอบย่อยในทุกหน่วย มีการเรียนซ่อมเสริมด้วย กระบวนการเรียนการสอนจะเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญมากกว่าผู้สอน
     อาจสรุปได้ว่า หน่วยการเรียนการสอน หรือบทเรียนโมดูล
: เป็นบทเรียนที่ใช้เรียนเป็นรายบุคคล และเป็นกลุ่มใหญ่ได้ มีลักษณะเด่นคือ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล มีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ความมุ่งหมาย กิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินผล
องค์ประกอบของหน่วยการเรียนการสอน
 

 

 หน่วยการเรียนการสอนที่จัดทำขึ้น อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เพื่อความเหมาะสมกับลักษณะเนื้อหาวิชา ผู้เรียน ฯลฯ แต่องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
      1. หลักการและเหตุผล
     2. สมมรถภาพพื้นฐาน
     3. จุดประสงค์
     4. การประเมินผลเบื้องต้น
     5. กิจกรรมการเรียนการสอน
     6. การประเมินผลหลังเรียน
     7. การเรียนซ่อมเสริม

               
     
1. หลักการและเหตุผล (Rationale) ในการสร้างหน่วยการเรียนการสอน ผู้สร้างควรเขียนหลักการและเหตุผล เพราะจะเป็นส่วนที่ทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า หรือประโยชน์ ความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในเรื่องนี้ และเป็นส่วนที่ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพโดยส่วนรวมของเนื้อหาในบทเรียน
      
2. สมมรรถภาพพื้นฐาน (Competence) จะเน้นการอธิบายถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้หรือสมรรถภาพที่ผู้เรียนจะเกิดขึ้นหลังจากการเรียน โดยใช้หน่วยการเรียนการสอน ซึ่งควรเน้นทั้ง 3 ด้าาน คือ พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เจตคติ (Affective Domain) และด้านทักษะ (Psychomotor Domain)
      
3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral objectives) ผู้สร้างหน่วยจะต้องเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมซึ่งสอดคล้องกับสมรรถภาพที่กำหนดไว้ ควรระบุพฤติกรรมของผู้เรียนที่สามารถ สังเกตได้ วัดได้
      
4. ทดสอบก่อนเรียน (Per-Test) เป็นการวัดความรู้พื้นฐานเดิมของผู้เรยน ผลที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนนี้ จะเป็นสิ่งที่จะกำหนดว่า ผู้เรียนจะต้องทำกิจกรรมใดบ้างหรือยกเว้นกิจกรรมใดบ้าง ถ้าผู้เรียนผ่านเกณฑ์ ก็ไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมในหน่วยการเรียนการสอนในการประเมินผลก่อนเรียนนั้น อาจใช้ได้หลายวิธี เช่น ประเมินจากการสัมภาษณ์ หรือลงมือทำกิจกรรม แบบทดสอบ หรือตอบคำถาม
      
5. กิจกรรมการเรียน (Learning Activity) กิจกรรมการเรียนการสอนควรคำนึงถึงสมรรถภาพที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิด ทั้ง 3 ด้าน และหน่วยการเรียนการสอนควรมีกจิกรรมที่หลากหลาย คือ กิจกรรมบังคับ และกิจกรรมเลือก ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกในการประกอบกิจกรรม
      6. ทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในการทดสอบหลังเรียน อาจจะใช้แบบทดสอบก่อนเรียนหรือจะใช้แบบทดสอบคู่ขนานกันก็ได้ ซึ่งต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถภาพที่ต้องการ และควรให้ผลย้อนกลับทันทีว่า ผู้เรียนผ่าน หรือ ไม่ผ่าน ถ้าไม่ผ่านตรงจุดไหน ก็ให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมเพิ่มเติม เช่น ทำรายงาน ศึกษาค้นคว้า อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม ผู้สอนจะต้องวิเคราะห์ สาเหตุ และแนวทางแก้ไข ในกรณีที่ผู้เรียนเรียนเร็ว อาจหากิจกรรมเสริมให้เกิดการเรียนรู้ต่อไป
     
7. การเรียนซ่อมเสริม

           แบบแผนของหน่วยการเรียนการสอน
      หน่วยการเรียนการสอนมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้ และตามความต้องการของผู้ออกแบบ ซึ่งอาจประกอบด้วย
      
1. ชื่อเรื่อง (Title) อาจรวมถึงชื่อผู้สร้าง ผู้ปรับปรุง ครั้งที่ปรับปรุง ระดับผู้เรียน
      
2. ขั้นตอนกระบวนการเรียน (The body of the description) มีลำดับดังนี้
         2.1 หลักการและเหตุผล (Rationale)

         2.2 สมรรรถภาพ (Competence)
         2.3 จุดประสงค์ (Objective)
         2.4 การประเมินผลก่อนเรียน (Pre- Assessment)
         2.5 กิจกรรมการเรียน (Learning Activities)
         2.6 การประเมินผลหลังเรียน (Post-Assessment)
         2.7 การเรียนซ่อมเสริม (Remediation)
      
3. ภาคผนวก (Apendix) จะอธิบายแหล่งการเรียน สื่อการสอน อุปกรณ์ ที่ไม่ได้บรรจุไว้ในกล่อง

         Heinich, Malenda และ Russell (1985) ได้เสนอรูปแบบของหน่วยการเรียนการสอนไว้ดังนี้
           
1. หลักการและเหตุผล (Rationale) เป็นการกล่าวถึงภาพรวมทั้งหมดของเนื้อหาและอธิบายว่าเพราะเหตุใดผู้เรียนจึงต้องเรียนหน่วยการเรียนการสอนนี้
           
2. วัตถุประสงค์ (Objective) เป็นสิ่งระบุว่า คาดหวังว่าผู้เรียนจะได้รับจากการเรียน โดยเขียนเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
           
3. ทดสอบก่อนเรียน (Per-Test) เป็นการตรวจสอบว่า ผู้เรียนนั้นมีทักษะพื้นฐษนที่จะสามารถเรียน โดยใช้หน่วยการเรียนการสอน หรือตรวจสอบว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะที่จะสอน ถ้าผู้เรียนผ่านเกณฑ์ ก็ไม่ต้องเรียนหน่วยการสอนนี้
           
4. กิจกรรมการเรียน จะต้องเตรียมแหล่งการเรียน รวมทั้ง วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ถ้าไม่สามารถบรรจุ วัสดุต่าง ๆ อุปกรณ์ ตำรา เทป ฟิล์มสตริป และวัสดุต่ง ๆ ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ
           
5. ทดสอบตนเอง (Self-Test) เป็นการทบทวน และตรวจสอบความก้าวหน้าทางการเรียนการของตนเอง
           
6. ทดสอบหลังเรียน (Posttest) เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที

คำสำคัญ (Tags): #ชุดการสอน
หมายเลขบันทึก: 154407เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2007 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • บันทึกนี้ มีคุณค่า มหาศาล
  • ที่คนทำ ผลงาน ควรศึกษา
  • ชุดการสอน เป็นอย่างไร ในตำรา
  • แล้วนำมา ประดิษฐ์ คิดดัดแปลง

ขอบคุณมากได้ศึกษาความร้เกี่ยวกับชุดการสอนอีกครั้ง

นาย รารันท์ เพิ่มความสุข

ความเป็นระเบียบ และอ่านได้ใจความ เข้าใจเป็นพิเศษ

อยากรบกวนถามว่า ชุดการสอน ต่างจากบทเรียนสำเร็จรูปอย่างไรคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอนำไปอ้างอิงประกอบความรู้ได้ไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท