คุณภาพของเครื่องมือวิจัยในวิทยานิพนธ์


สะท้อนถึงคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพการดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา รวมไปถึงมาตรฐานหลักสูตรของสถาบัน

ในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาจะต้องมีการตรวจสอบเครื่องมือวิจัยในด้านความเที่ยง (reliability) และความตรง (validity) ดิฉันได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวานของนิสิตนักศึกษาหลายสถาบัน การทำงานในส่วนนี้จะต้องอ่านโครงร่างวิทยานิพนธ์พอสังเขป เพื่อให้รู้ว่างานวิจัยนั้นๆ มีที่มาที่ไปอย่างไร มีแนวคิดอะไรอยู่เบื้องหลัง เครื่องมือวิจัยนั้นๆ มาจากไหน ต้องการวัดอะไร เป็นต้น

ดิฉันสงสัยว่าหลังจากให้ความเห็นต่างๆ ไปแล้ว นิสิตนักศึกษานำความเห็นที่ได้ไปทำอะไรต่อ เพราะเราจะไม่รู้อีกเลยว่าสิ่งที่เราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยนั้น ถูกนำไปใช้หรือไม่ อย่างไร แต่เราถูกอ้างชื่อไปแล้วว่าเป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ

ดิฉันพบว่านิสิตนักศึกษาบางรายมีท่าทีที่เพียงให้เรา check ไปเถอะ อย่างไรก็ได้ เพื่อให้กล่าวได้ว่าได้ทำขั้นตอนนี้แล้ว บางครั้งดิฉันตกอยู่ในสภาพ "กลืนไม่เข้า คายไม่ออก" เพราะเห็นอยู่ว่าคุณภาพของงานไม่ถึงระดับที่ยอมรับได้ ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร เพราะผ่านการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นๆ ให้ผ่านมาหมดแล้ว นิสิตนักศึกษาบางรายมาบอกว่ามีเวลาจำกัดต้องจบภายในเมื่อนั่นเมื่อนี่ ที่น่าตกใจที่สุดคือบอกว่าจะต้องทำวิทยานิพนธ์ให้เสร็จภายใน ๑ เดือน ถ้าไม่จบต้องเสียเงินเพิ่มอีกเยอะ สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพการดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา รวมไปถึงมาตรฐานหลักสูตรของสถาบัน

ดิฉันเป็นห่วงคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับปริญญาโทปริญญาเอก จึงตั้งใจแล้วว่าต่อไปนี้การจะรับหน้าที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย ต้องขอดูงาน ขอคุยกับผู้วิจัยก่อน และต้องใจแข็งที่จะปฏิเสธ

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙

คำสำคัญ (Tags): #วิทยานิพนธ์
หมายเลขบันทึก: 15403เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 09:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คุณภาพของเครื่องมือวิจัยในวิทยานิพนธ์

สะท้อนถึงคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพการดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา รวมไปถึงมาตรฐานหลักสูตรของสถาบัน

ผมเห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้มากครับ ในทางปฏิบัติเราจะไม่มีวิธีไหนควบคุมได้เลย  ถ้าทุกฝ่ายไม่ยึดหลักจริยธรรมในการศึกษาวิจัย สิ่งนี้จะสอนกันได้อย่างไร เพราะการเรียนไม่ว่าในระดับป.โทร หรือป.เอก มิได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อจบการศึกษาแต่ในกระบวนการศึกษาวิจัยจะต้องสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมทางด้านวิชาการด้วย  แต่เรายังลืมที่จะเน้นในสิ่งนี้กันอยู่เลยนะครับ .....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท