บทที่๒ ความสำคัญของภาพกับการผลิตรายการโทรทัศน์


ขนาดภาพ องค์ประกอบภาพ
  บทที่ ๒  ความสำคัญของภาพกับการผลิตรายการ
ภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏอยู่ในจอโทรทัศน์นั้น  เกิดจากเส้นสแกน(Scan)    ที่ใช้เวลาสแกนเร็วมาก  จึงไม่  สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  แต่เพื่อให้สามารถเรียกหน่วยนับของภาพได้อย่างถูกต้อง  จึงมีการกำหนด หน่วยนับที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าดังนี้
หนึ่งFrame
                                    
Dv00021
คือหน่วยการนับของ ภาพ ที่เกิดมาจาก ฟิลด์ (Field )สองฟิลด์รวมกัน จึงเป็นหนึ่ง เฟรม  เฟรมจึงคือภาพนิ่งหนึ่งภาพนั่นเอง   ในประเทศไทยใช้ระบบ  PAL(Phase  Alternate  Line)  คล้ายกับเยอรมันและในอีกหลายประเทศ  ทั่วโลก (มากกว่า50ประเทศ)  ในระบบ PAL ระยะเวลาหนึ่งวินาที   มีภาพนิ่งต่อเนื่องกันจำนวน 25 Frame (ส่วนในภาพยนตร์  มี 24 Frame) สำหรับในประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และในอีกหลายๆประเทศใช้ระบบ  NTSC (National Television Standard Committee) ในเวลาหนึ่งวินาทีมีภาพนิ่งจำนวน 30 ภาพ    ส่วนประเทศฝรั่งเศส รัสเซีย และในประเทศสังคมนิยม ส่วนใหญ่จะใช้ระบบ  SECAM (Sequential Couleura Mamoirs) 
หน่วยที่แสดงผลเวลาของภาพเรียกว่า Time Code (TC)
 
Dv00008
ตัวเลขคู่แรกจำนวนสองตัวคือหน่วย แสดงจำนวนชั่วโมง   ตัวเลขคู่ต่อมาคือหน่วย แสดงจำนวนของนาที   ตัวเลขคู่ต่อมาคือหน่วย แสดงจำนวนของวินาที   ตัวเลขคู่สุดท้ายคือหน่วยแสดงจำนวนของ เฟรม 
หนึ่ง Shot
Dv00010
นับจากการกดปุ่ม  Start   เริ่มบันทึกภาพตามที่ต้องการไปจนถึงจุดสุดท้ายแล้วกดปุ่ม Stop หยุดการบันทึก  จากจุดสตาร์ทจนกระทั่งถึงจุดสต๊อปเรียกว่าหนึ่ง ช็อต ไม่จำกัดเวลาและความยาว เมื่อนำ Frame หลายๆ เฟรมมาต่อกันเป็นภาพเคลื่อนไหว  แต่ละช่วง ความยาวเรียกว่า  Shot ช็อตมา จาก คำว่า Shoot  ชู้ต ที่แปลว่ายิง   ถ้าเปรียบกับหนังสือก็คือ หนึ่งแถวหรือหนึ่งบรรทัด
 Scene  ซีนหรือฉาก  คือการนำ Shot หลายๆ Shot มาต่อเชื่อมกัน ร้อยเรียงให้มีความต่อเนื่อ(Continue)
 
Dv00013
ไม่สะดุดและกระโดด(Jump) ฉาก คือสถานที่ ที่ผู้แสดง กำลังสนทนากันอยู่ในที่แห่งนั้น ในสถานที่แต่ละแห่งเรียกว่าหนึ่งฉากในแต่ละตอนอาจมีหลายฉากต่างกันไป  ถ้าเปรียบกับหนังสือ หนึ่งฉากก็คือ หนึ่งหน้านั่นเอง
เมื่อนำหลายๆฉากมาต่อกันก็จะรวมเป็นหนึ่งตอน (Sequence)  หรือเปรียบกับหนังสือหนึ่งบท   ละครที่นำ เสนอทางโทรทัศน์นั้น  แต่ละวันเรียกว่าหนึ่งตอน  ซึ่งในแต่ละเรื่องมีความยาวไม่เท่ากัน  บางเรื่องมีสิบตอนจบแต่บางเรื่องอาจมีร้อยตอนก็ได้  เปรียบกับหนังสือหลายๆบทรวมกันก็คือหนึ่งเล่มนั่นเอง  และผู้ที่จะผลิตรายการโทรทัศน์ทุกคน   ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งหรือหน้าที่ใดก็ตาม  จำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐาน   เกี่ยว กับเรื่องของภาพให้มีความเข้าใจ     เพื่อจะได้ใช้สื่อภาษาในความหมายที่ตรงกันต่อไป
ขนาดภาพ (Picture size ,  Shot size)
ภาพและขนาดของภาพที่แตกต่างกันจะสื่อความหมายที่ต่างกัน  การใช้ภาพหลายขนาดในรายการ จะทำให้ไม่เกิด ความซ้ำซากน่าเบื่อ  แต่จะต้องให้เกิดความต่อเนื่อง(Continuity) ไม่กระโดด(Jump) การเปลี่ยนขนาดและมุมมอง  ของภาพในแต่ละครั้งจึงต้องมีความหมาย มีเหตุผลและมีคำตอบเสมอ เพื่อให้มีความเข้า
ใจที่ตรงกันจึงต้องมีการกำหนดขนาดของภาพ    และมีคำศัพท์เรียกโดยเฉพาะ
๑. Extreme Long Shot(ELS.)
 
Dscn0001

คือภาพขนาดกว้างมาก    ใช้บอกเล่าเรื่องราวภาพรวมในฉากทั้งหมด   เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ    และเชื่อมโยงไปสู่รายละเอียดในส่วนอื่นๆต่อไปเรียกว่าภาพเปิดฉาก(OS.=Open  Scene)
๒. Long Shot(LS.) ภาพกว้าง
                                         Dv00001 
เป็นภาพขนาดกว้าง  แต่จะเจาะจงให้เห็นความสำคัญมากขึ้นว่าคืออะไร อยู่ที่ไหน  ถ้าเป็นสถานที่ก็จะให้เห็นบริเวณโดย รอบตัวอาคารกว้างๆทั้งหมด  หากเป็นบุคคล   ก็จะให้มอง เห็นเต็มตัวว่ากำลังทำอะไร  อยู่ที่ไหน
๓. Medium Shot (MS.) ภาพขนาดครึ่งตัว
                                         Dv00002 
เป็นภาพ ขนาดครึ่งตัว   ให้เห็นรายละเอียดสร้างความคุ้น เคยเพิ่มขึ้น   บางครั้งหากให้เห็นทั้งสองคน     เรียกว่า ภาพTwo  shot  ก็ได้
๔. Medium Close Up(MCU.)
                                         Dv00003 
เป็นภาพขนาดใหญ่กว่าภาพ  MS.   ขึ้นมาอีกเล็กน้อย    สื่อให้เห็นราย ละเอียดมีความใกล้ชิดเป็นกันเองมากขึ้น ใช้เป็นภาพในรายการสนทนา   แต่จะให้เห็นเฉพาะคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
๕. Close Up(CU.) ภาพขนาดใหญ่
                                         Dv00004
ให้เห็นรายละเอียดเพิ่มขึ้น  ตัดส่วนที่ไม่สำคัญออกไป    เน้นเฉพาะใบหน้าสื่อแสดงออกด้านอารมณ์ ความรู้สึก  เช่น ดวงตา ปาก   ใช้ในการแสดงมากกว่ารายการสนทนา    เพราะคล้ายเป็นการละลาบละล้วงคาดคั้นใกล้ชิดมากเกินไป
 ๖. Big Close up(BCU.) เป็นภาพขนาดใหญ่มากกว่า CU. 
                                          Dv00005
ตัดส่วนที่ไม่ได้แสดงอารมณ์  บริเวณเหนือคิ้ว    ขึ้นไปเน้นเฉพาะส่วนที่แสดงอารมณ์ ความรู้สึก เช่น  ยินดี  
ดีใจ  เสียใจ  เหงา เศร้า โกรธ  ภาพลักษณะนี้ใช้กับรายการสาธิต ที่แสดงให้ เห็นขั้นตอนก็ได้
๗. Extreme  Close up (ECU.)  ภาพใหญ่พิเศษ
                                          
Dv00006
   เน้นเฉพาะจุดที่สำคัญ  ตัดส่วนอื่นทิ้งไป เพื่อ ให้เห็นรายละเอียดเฉพาะส่วนที่ต้องการ
การเคลื่อนกล้องและการปรับเลนส์
กล้องนั้นเปรียบเหมือนกับศีรษะ  ที่มีหน้าตาจมูกปาก   ซึ่งเลนส์นั้นเปรียบเหมือนดวงตา 
                                                 
%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%97%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b9%8c1
การปรับเคลื่อนกล้อง   จึงคล้ายกับการก้ม  หรือเงยหน้า เหลียวซ้าย  มองขวา  เดินเข้าไปหา ถอยออกมา ลุกขึ้นนั่งลง  จึงต้องมีศัพท์เฉพาะเพื่อ สื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน
Pan 
                          Pan%201  Pan%202
  คือการเคลื่อนกล้องที่มีลักษณะคล้ายกับการเหลียวใบหน้าไปทางซ้าย  และทางขวา  การ  Pan  ใช้เพื่อ สื่อให้เห็นว่าสถานทีแห่งนั้น  อยู่ในบริเวณดียวกัน  หากถ่ายภาพตรงๆ  ก็จะไม่สามารถมองเห็นบริเวณทั้งหมดได้   จึงต้องกวาดหรือ แพนไปทางซ้ายหรือทางขวาในแนวระนาบ  กล้องจะต้องวางอยู่กับที่บนขาตั้ง (Tripod) ที่มั่นคงไม่จำเป็นอย่าแบก  หรือหิ้วกล้องขณะที่กำลังถ่ายทำ
   ข้อควรระวัง 
                  Pan%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%20%20pan%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a1                     อย่า แพน กล้อง ไปในทิศทางตรงกันข้าม ย้อนหรือสวนทางกับวัตถุ ที่กำลังเคลื่อนที่ไปในอีกทิศทางหนึ่ง    ควรแพนตามวัตถุ หรือหยุดกล้องไว้  โดยให้วัตถุเคลื่อนผ่านไปเอง 
๒. Tilt  ทิ้ลท์คล้ายกับการก้มและเงยหน้าก้มลง เงยขึ้น
               Dv00018Dv00014
Tilt นำมาใช้เพื่อการถ่ายภาพ สื่อให้เห็นรายละเอียดของวัตถุที่มีความสูงเช่น เจดีย์   อาคาร  อนุสาวรีย์ ฯ  หากจะถ่ายเป็นภาพกว้างๆ  ก็จะไม่สามารถเห็นลายละเอียด  จึงต้องถ่ายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แล้วจึงTilt ขึ้นหรือลงอย่างช้าๆกล้องจะต้องวางอยู่กับที่บนขาตั้ง(Tripod) ที่มั่นคง   อย่าแบกหรือหิ้วกล้องขณะที่กำลังถ่ายภาพโดยไม่จำเป็น   เว้นแต่มีความจำเป็นหรือ
มีวัตถุประสงค์อื่น
๓. Dolly ดอลลี่ 
               DollyDolly1   
คล้ายกับการเดินเข้าไปหา   หรือถอยออกมาจากวัตถุ   แทนสายตาของผู้แสดงที่กำลังเดินเข้าไปด้วยตัวเอง  กล้องจะต้อเคลื่อนไปทั้งตัว  ต้องวางกล้องไว้บนขาตั้งที่ มีล้อ หรือรางเลื่อนรองรับ  เพื่อให้สามารถ ถ่ายภาพออกมาได้อย่างนุ่มนวล สวยงาม
๔. Track แทร็ค หรือ Crab
               TrackTrack%202
คือการเคลื่อนกล้องตามวัตถุ ไปทางด้านข้าง  ใช้เป็นภาพแทนสายตาของผู้ที่กำลังเดินคุยกัน  กล้องต้องเคลื่อนที่ติดตามไปทั้งตัวต้องวางกล้องไว้บนขาตั้ง ที่มีล้อหรือรางเลื่อนรองรับเพื่อให้สามารถถ่ายภาพออกมาได้อย่างนุ่มนวล  สวยงาม
๕. Elevate  & Depress
                ElevateHydrolic
คือการเคลื่อนกล้องไปทั้งตัวในแนวดิ่ง(ยกขึ้น-ลดลง)ใช้เป็นภาพแทนสายตาของผู้ที่กำลังลุกขึ้นหรือนั่งลง  Elevate  คือการยกกล้องขึ้น Depress คือการลดกล้องลง ต้องวางกล้องไว้บนขาตั้งที่เป็นระบบไฮโดรลิก หรือเครน ยกระดับขึ้นลงได้    เพื่อให้สามารถถ่ายภาพออกมาได้อย่างนุ่มนวลสวยงาม  ไม่สั่นไหว  แต่ถ้าต้องการสื่อให้เห็นความไม่มั่นคง ความตื่นเต้น ก็สามารถจะยกขึ้นด้วยมือได้
๖. Zoomซูม
                 Zoom%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%875
คือการถ่ายขยายหรือย่อภาพ   ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง   โดยใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสหลายขนาด  ประกอบอยู่ในเลนส์ตัวเดียวกัน  กล้องจะต้องตั้งอยู่กับที่   ต่างจาก  Dolly  ที่ต้องเคลื่อนไปทั้งตัวกล้อง  การซูมนั้นมุมมองที่ฉากหลังจะแคบลง  แต่การดอลลี่นั้นมุมมองที่ฉากหลัง   จะไม่เปลี่ยนไปมากนัก การซูมจะนำมาใช้แทนความรู้สึก   ความคิดคำนึง ซึ่งเป็นนามธรรม   จึงไม่ควรนำมาใช้ สื่อแทนภาพสายตาของคน เพราะตาคนเราซูมไม่ได้   จึงควรที่จะเลือกนำมาใช้สื่อความหมายให้ถูกต้อง  อย่าใช้พร่ำเพรื่อไร้ความหมาย  และก่อให้เกิดความรำคาญต่อผู้ชม
๗. De focus ดีโฟกัส
Defocus  Defocus%202   Defocus1  Defocus%203       
เป็นภาพที่เกิดจากการปรับเลนส์  โดยการปรับภาพที่คมชัดอยู่ให้เบลอ (Blur) หรือพร่ามัวแล้วกลับมาคมชัดเหมือนเดิม  ใช้สื่อความหมายแทนความคิด  ความฝันของผู้แสดง    ที่กำลังนึกถึงเหตุการณ์ในอดีต  เป็นการใช้เทคนิค  ที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษ  ใช้การปรับเลนส์แทน แต่จะต้อง
เตรียมวางแผนไว้ล่วงหน้าเสียก่อนว่าจะ นำมาใช้เมื่อไร ให้สอดคล้องกัน  หรือใช้เทคนิคย้อมสีน้ำตาล(sepia)  เป็นภาพในอดีตที่ผ่านมาเรียกว่าภาพ flashback ก็ได้
 ๘. Shift  focus
                          Dv00049Dv00050                  
   ชิฟท์โฟกัสเป็นภาพที่เกิดจากการปรับเลนส์อีกแบบหนึ่ง  โดยปรับให้คมชัดเฉพาะจุดที่ต้องการจะเน้น  และให้เบลอ  ในจุดทีไม่ต้องการจะเน้นด้วยการปรับสลั ไปมาภาพลักษณะนี้ ผู้แสดงจะต้องอยู่ในแนวเดียวกันกับกล้อง  แต่อยู่ในระยะที่ห่างกันพอประมาณ   และจะต้องใช้ เลนส์ยาว (Tele) เพื่อให้เกิดความชัดและเบลอแตก ต่างกัน
 
องค์ประกอบภาพ (Composition)
กฎสามส่วน
                  %e0%b8%81%e0%b8%8e%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%99
  แบ่งภาพภายในกรอบสี่เหลี่ยมนี้ออกเป็นสามส่วนทั้งแนวตั้งและ แนวนอน    เน้นสัดส่วนของสิ่งที่ต้องการจะสื่อ   ให้มีมากกว่าส่วนอื่นเช่นท้องฟ้า น้ำและภูเขา หากต้องการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับท้องฟ้าก็ควรเน้น ให้ มีท้องฟ้าสองส่วนเหลือภูเขาไว้เพียงส่วนเดียวก็พอ
เส้นนำสายตา
  - เส้นทแยงมุม 
                      %e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b8%b2%20s
 เช่นถ่ายภาพถนน  เริ่มจากมุมบนด้านซ้ายของจอภาพ   มายังมุมขวาด้านล่างของจอภาพเป็นภาพแม่น้ำลำคลอง  หรือภาพอย่างอื่น  เพื่อเชื่อมโยงไปสู่เนื้อ หาเรื่องราวที่กำลังจะพาไป   ลักษณะภาพอาจให้มองดูเป็นรูปอักษรคล้ายตัว S  ตัว L หรือแล้วแต่จะคิดจินตนาการ
  - รูปสามเหลี่ยม
                  %e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b8%b2%203 %e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b8%b2%204
จากสิ่งก่อสร้าง  เช่นหน้าจั่วบ้านทรงไทย  หน้าบรรณโบสถ์วิหาร  หรือภาพคนสองคนกำลังมองไปยังจุดเดียวกัน   เพื่อนำไปสู่ภาพแทนสายตาของทั้งสองคนไปยังจุดนั้น
  - เส้นรัศมี 
                      %e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%a8%e0%b8%a1%e0%b8%b5  %e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%a8%e0%b8%a1%e0%b8%b5%202
 เป็นภาพที่มีพลังเกิดมาจากจุดศูนย์กลาง  เช่นกอบัวที่ถ่ายจากมุมด้านบนมองเห็นการแผ่ขยายของใบบัวแต่ละใบในกอนั้น  หรือกลีบดอกไม้ที่ถ่ายจากมุมสูงลงมา  เห็นการแผ่ขยายของกลีบดอก  
ความสมดุล  (Balance)
                      %e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%94%e0%b8%b8%e0%b8%a5  %e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%99%e0%b8%b2
    ควรจัดวางวัตถุภายในภาพให้เกิดความสมดุล   ไม่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง   เช่นคนกับวัตถุ  ฉากการสนทนาต้องให้น้ำหนักระหว่างคู่สนทนาทั้งสองคนเท่ากัน  ไม่เอียงหรือหนักไปด้านเดียว 
ส่วนเกิน 
                      %e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%991   %e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%992
   ก่อนถ่ายภาพต้องสังเกตให้ดีทั้งด้านหน้า(Foreground) และด้านหลัง (Background) อย่าให้มีสิ่งที่ไม่ต้อง การปรากฏขึ้นในภาพเช่น  คนสองคนยืนสนทนากัน แต่มีฉากหลังเป็นต้นไม้หรือเสาไฟฟ้า คั่นอยู่ระหว่างกลาง  แต่ถ้าจะสื่อถึงความขัดแย้งของคนทั้งสองก็ใช้ได้  หรือบางครั้งก็อาจจะมีเขางอกออกมาบนศีรษะเพราะกิ่งไม้ด้านหลัง  บางภาพอาจมีโคมไฟฟ้าโผล่ขึ้นมาบนศีรษะ
หมายเลขบันทึก: 153996เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2007 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ต่อไปจะพยายามแก้ไข  หาภาพมาแทรก (insert)  ให้ครบทุกเรื่อง  คอยติดตามนะครับ   แต่เมื่อเข้ามาเยี่ยมก็ทักทายกันบ้าง   ติติงวิจารณ์ได้ครับ

อาจารย์สมเจตต์คะ

       เขียนอ่านเข้าใจง่ายดีค่ะ   แต่อยากให้เพิ่มขนาดตัวหนังสือเพื่ออ่านได้อ่านขึ้นนะค่ะ

สวัสดีครับคุณ เต้าเจี้ยว

ขอบคุณครับที่บอกว่าอ่านเข้าใจง่ายดี   ส่วนขนาดตัวอักษรจะพยายามแก้ไขต่อไป   เห็นว่าคุณเต้าเจี้ยวก็ชอบถ่ายรูป   การถ่ายรูปเป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่ง   ภาพหนึ่งภาพแทนคำบรรยายได้ 1,000 คำ    ภาพแต่ละภาพมีคุณค่า   เพราะมีภาพเดียวในโลกเท่านั้น   ไม่เชื่อลองให้ใครมาถ่ายอีกก็คงไม่มีทางเหมือนกับภาพที่เราถ่ายแน่ ๆ  แม้แต่เราเองถ่ายภาพตรงนั้นในเวลาที่ต่างกัน  ก็ไม่ได้ภาพแบบนั้นอีก   ไม่เชื่อก็ทดลองดูนะครับ  จึงควรภูมิใจและเก็บไว้เป็นบันทึกแห่งความทรงจำ   

ผศ. พิพิษณ์ สิทธิศักดิ์

อาจารย์ครับ

ผมอยากให้อาจารย์จัดอบรมเกี่ยวกับการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้หน่วยงานผม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ผู้เข้ารับการอบรมจะเป็นอาจารย์และเจ้าหน้าที่ในส่วนงานเทคโนโลยีทางการศึกษาจากทั้ง ๔ พื้นที่ ประกอบด้วย เพาะช่าง บพิตรภิมุข จักรวรรดิ ศาลายา วังไกลกังวล จำนวน ประมาณ ๒๔ คน ใช้สถานที่ของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา โดยจะจัดตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ - ๒๕๕๔

เบื้องต้นจึงใคร่ขอคำแนะนำจากอาจารย์ว่า ถ้าจะแบ่งจัดอบรมเป็นหัวข้อย่อย ๆ ปีละ ๑-๒ หัวข้อ เช่น การถ่ายทำวิดีทัศน์นอกสถานที่ การถ่ายทำวิดีทัศน์ในสตูดิโอ เทคนิคการตัดต่อวิดีทัศน์ ฯลฯ

รบกวนอาจารย์พิจารณาหัวข้อ และหัวย่อยที่จะสอนในแต่ละหลักสูตรว่าควรมีอะไรบ้าง ถ้าจะกรุณาส่งตัวอย่างไฟล์โครงการที่เคยจัดมาแล้ว ส่งให้ผมทางอีเมล์จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ

พิพิษณ์ สิทธิศักดิ์

รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิทยบริการ

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

โทรศัพท์ 02 8894585-7 ต่อ 2223

083 992 8587

[email protected]

ชอบคะ กำลังทำงานด้านนี้อยู่คะ

ชอบคะ กำลังทำงานด้านนี้อยู่คะ

ขอบคุณค่ะ กำลังหาข้อมูลทำรายงานอยู่พอดี

ว่าไหมคะ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับกล้อง มันเป็นอะไรที่เจ๋งจริงจริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท