นักเรียนไทยความภาคภูมิใจของคนไทยได้คะแนนรวมสูงสุด IOAA 2007


เยาวชนจากทั่วโลกที่ได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความสามารถพิเศษ เยาวชนดังกล่าวที่อยู่ในที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ที่ทรงเกียรติในอนาคตของประเทศนั้นๆ ความสามารถพิเศษของเขาเหล่านั้นควรเป็นที่ประจักษ์ในที่นี้

ขอร่วมแสดงความยินดีกับเด็กไทย
เชียงใหม่ : 8 ธันวาคม 2550 : ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีปิดการแข่งขันดาราศาสตร์และฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 7 (IOAA 2007) ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมมอบรางวัลแก่นักเรียนที่ได้รับรางวัลคะแนนรวมสูงสุด รางวัลผู้ทำคะแนนภาคทฤษฎีสูงสุด รางวัลผู้ทำคะแนนภาคปฏิบัติสูงสุด รางวัลกระบวนการคิดสร้างสรรค์และรางวัลคะแนนทีมรวมสูงสุด ซึ่งเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ นายสุวรรณ สุวรรณรัตน์ นักเรียนจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้รับรางวัลคะแนนรวมสูงสุด และนักเรียนไทยทุกคนที่ได้รับรางวัลคะแนนทีมรวมสูงสุดอีกด้วย

           รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในโอกาสนี้ว่า อย่างแรกที่สุด ผมหวังว่าผู้เข้าแข่งขันทุกท่านจะมีช่วงเวลาที่น่าพึงพอใจและมีคุณค่าในช่วง 1 สัปดาห์ในการแข่งขันดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ 1 ในฐานะที่กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรับผิดชอบดูแลการศึกษาในประเทศไทย ขอกล่าวว่ารัฐบาลไทยสนับสนุนวัตถุประสงค์และกิจกรรมของการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศอย่างเต็มที่ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ความร่วมมือ และการสร้างเครือข่ายระหว่างนักเรียนและนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ทั่วโลก พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ประเทศไทยและจังหวัดเชียงใหม่ได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งแรกนี้ ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการศึกษาวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก การแข่งขันระดับนานาชาติที่เป็นที่รู้จักเช่นครั้งนี้สามารถช่วยแสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์สามารถมีส่วนใน การพัฒนาสังคมของประเทศไทยได้อย่างไร

            เป็นที่แน่นอนว่า เป้าหมายของการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการใด ก็ตามคือเยาวชนจากทั่วโลกที่ได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความสามารถพิเศษ เยาวชนดังกล่าวที่อยู่ในที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ที่ทรงเกียรติในอนาคตของประเทศนั้นๆ ความสามารถพิเศษของเขาเหล่านั้นควรเป็นที่ประจักษ์ในที่นี้และควรโน้มน้าวให้เกิดการแข่งขันดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ 1 (The 1st International Olympiad on Astronomy and Astrophysics : 1st IOAA in Thailand 2007) จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ- พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสครบ 80 พรรษา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ- เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา โดย การจัดการแข่งขันดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิ สอวน., กระทรวงศึกษาธิการ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสมาคมดาราศาสตร์ไทย ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. - 8 ธ.ค. 2550 จากเยาวชนที่เข้าแข่งขันทั้งหมด 21 ประเทศ 87 คน โดยในการสอบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การสอบภาคทฤษฎีที่สำนักงานบริการวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการสอบภาคปฏิบัติการ ซึ่งจะมีทั้งการสอบภาคสังเกตการณ์และการสอบภาควิเคราะห์ข้อมูล ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ภาษาที่ใช้ในการสอบคือ ภาษาอังกฤษ แต่จะมีการแปลข้อสอบเป็นภาษาที่ผู้เข้าแข่งขันมีความถนัดโดยอาจารย์ผู้คุมทีมผู้แข่งขันในแต่ละประเทศ เป็นผู้แปล ดังนั้นจึงไม่มีการได้เปรียบหรือเสียเปรียบในเรื่องความถนัดทางภาษาจะวัดเฉพาะความรู้ทางด้านดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของผู้เข้าแข่งขันเท่านั้น

            นอกจากนี้ทางคณะที่เข้าแข่งขันฯ ยังได้ร่วมถวายพระพรพระบาทสมเด็จ- พระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสครบ 80 พรรษา ณ สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และทางเจ้าภาพยังได้จัดการทัศนศึกษาให้แก่คณะอาจารย์ ที่ควบคุมทีมและเยาวชนทั้งหมด ได้เที่ยวชมสถานที่สำคัญๆ ในจังหวัดเชียงใหม่หลายแห่ง เช่น วัดพระธาตุดอยสุเทพ, พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์, สวนเฉลิมพระเกียรติราชพฤกษ์, ดอยอินทนนท์ เป็นต้น ซึ่งทำให้คณะผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดไดสัมผัสถึงวัฒนธรรมกับความสวยงามของจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพได้อย่างดี สำหรับเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันครั้งต่อไป คือ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งจะมีพิธีการรับมอบธงสัญลักษณ์การแข่งขันดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศในครั้งนี้ด้วย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท