จินตนาการห้วยขาแข้ง


นั่นคือปลายทางของศิลปศึกษาที่ไม่ได้มุ่งเน้นให้นักเรียนของเราเป็นศิลปินเหมือนก่อน...แต่หากนักเรียนคนใดได้แสดงออกด้วยความมุ่งมั่นมีแววศิลปินก็ควรที่จะต้องส่งเสริมต่อไป

9 ธันวาคม 2550 จังหวัดอุทัยธานีได้จัดให้มีงานวันเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร ขึ้น ณ สถานีควบคุมไฟป่าห้วยขาแข้ง อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย... 

 

มีการแสดงนิทรรศการจากสถานศึกษาต่างๆ หลากหลายน่าสนใจ มีการประกวดวาดภาพ กล่าวสุนทรพจน์ ประกวดเรียงความ มีนักเรียนให้ความสนใจร่วมกิจกรรมมากมายเช่นกัน 

 

ผมได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการประกวดวาดภาพในหัวข้อ "จินตนาการห้วยขาแข้ง" ที่มีนักเรียนตั้งแต่ช่วงชั้น 1 - 4 เข้าร่วมกิจกรรมนับร้อยคน  ด้วยบรรยากาศริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนทับเสลา (สะ-เหลา) ชายป่าห้วยขาแข้ง ที่มีสายลมและแสงแดดอ่อนๆ ปกคลุมเวิ้งน้ำอันสงบนิ่งใสเย็น สร้างอารมณ์ให้จิตรกรน้อยๆ ปลดปล่อยจินตนาการให้บรรเจิดด้วยหัวใจอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม 


 
แต่...นักเรียนหลายคนที่มีภาพในใจใส่จินตนาการสำเร็จรูป ไม่ได้

ผ่านกระบวนการสังเกต ซึมซับประสบการณ์ในการเห็นความมีอยู่และเป็นไปในทางธรรมชาติ...หลายคนถูกทำให้ข้ามผ่านพัฒนาการศิลปะทางทัศน์ด้วยการสอนให้ทำตามแบบอย่างโดยไม่ได้เกิดจากการรับรู้ เรียนรู้ตามพัฒนาการแห่งวัยและด้วยประสบการณ์ ก่อนจะสื่อความหมายแห่งจินตนาการให้ผู้อื่นได้รับรู้...คือในขั้นตอนการฝึกฝนมีใครบางคนสั่งให้วาดตามแบบหรือความคิดของใครบางคนนั่นเอง ซึ่งเป็นความหวังดีที่อาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์...  <p> </p><p>
 </p><p>การสอนศิลปศึกษาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่เริ่มต้นด้วยการ ให้คัดลอกจากภาพวาดที่คิดว่าดี ว่าสวยนั้นกลับทำให้นักเรียนของเรา เกิดความยุ่งยากกังวล ไม่อาจสังเกตรับรู้ความเป็นจริงตามธรรมชาติ ที่จะนำไปสู่ทักษะการวาดภาพที่สูงขึ้น ซึ่งหมายถึงเรากำลังทำของง่ายให้กลายเป็นของยากนั่นเอง...</p><p> </p><p>สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาแล้วควรจะได้รับการฝึกให้สังเกต รับรู้ ความงามของธรรมชาติรอบตัว ต้นไม้ ใบหญ้าที่มี สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง เส้นสาย พื้นผิว องค์ประกอบทั้งหลายแห่งทัศนธาตุที่มาประกอบกันให้เราได้เห็น (ทัศนะ) ตามโลกธรรมก่อนที่ความงาม (ศิลป์) จะปรากฏตามจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์และถ่ายทอดสิ่งที่ประทับใจออกมาเป็นผลงานทางศิลปะในแง่มุมต่างๆ อย่างอิสระเป็นงานศิลปะของตนเอง...</p><p></p><p></p><p></p><p>นั่นคือปลายทางของศิลปศึกษาที่ไม่ได้มุ่งเน้นให้นักเรียนของเราเป็นศิลปินเหมือนก่อน...แต่หากนักเรียนคนใดได้แสดงออกด้วยความมุ่งมั่นมีแววศิลปินก็ควรที่จะต้องส่งเสริมต่อไปดังที่เห็นศิลปินน้อยใหญ่ ทั้งหลายของเราชาว สพท.อุทัยธานี ในภาพนี้และในงานฯ วันนั้น...</p><p> </p><p></p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 153596เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2007 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เป็นกิจกรรมที่เยี่ยมมากเลยครับ
  • ขอสนับสนุน
  • ขอบคุณครับ
หากมีกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ หรือแบบใด ชักชวนด้วยนะค้า ขอไปด้วยคน

ขอขอบคุณแทนเด็กๆที่มีผู้ใหญ่ใจดีมองเห็นและเข้าใจศิลปะในหัวใจน้อยๆค่ะ

ครูแอ๋มค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท