วิจัยประเมินผล บทบาทของศูนย์อนามัยกับการดำเนินงานทันตสาธารณสุข เมื่อ สปสช.จ่ายเงินไปที่พื้นที่โดยตรง


ศูนย์อนามัย ทันตสาธารณสุข สปสช

ในปีงบประมาณปี 51 นี้ สปสช. จ่ายงบประมาณในการทำงานด้านทันตสาธารณสุขลงไปที่พื้นที่โดยตรง ไม่ผ่านมาทางกองทันตฯ และศูนย์อนามัยดังเหมือนแต่ก่อนที่ผ่านมา ทำให้จังหวัดมีอิสระในการดำเนินงาน โดยที่ไต้องรอแนวทางการทำงานจากส่วนกลาง งานทันตฯเป็นงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในส่วนตัวผมกลัวว่า งานทันตฯที่ทำมาในอดีตจะขาดความต่อเนื่อง ทั้งนี้การทำงานในพื้นที่นั้น อำนาจในการตัดสินใจขึ้นอยู่กับ นพ.สสจ. เป็นหลัก คือ ถ้า สสจ. ไหน ทพ.ให้ความสนใจในการทำงานทันตสาธารณสุข และ นพ.สสจ. มีความเข้าใจในการทำงาน ก็ไม่มีปัญหาในเรื่องของงบประมาณที่จัดสรรให้ แต่ถ้าจังหวัดไหน นพ.สสจ. ให้ความสำคัญน้อย ก็อาจจะทำให้งานทันตสาธารณสุขหายไปได้เหมือนกัน

ตัวชี้วัดของ สปสช. เหลืออยู่ 3 เท่านั้น คือ

1. ร้อยละ เด็กป. 1 ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน ต้องการแค่ร้อยละ 80

2. ร้อยละ เด็ก ป.1และ ป. 3 ได้รับการตรวจฟัน ต้องการแค่ร้อยละ 80

3. ฟันเทียมพระราชทานที่เป็น vertical programe

ซึ่งจะเห็นว่าตัวชี้วัด ของกองทันตฯ ที่ต้องการนั้น หายไปหลายตัวมาก การทำงานของจังหวัดอาจจะมีปัญหาในการดำเนินงานทั้งงบประมาณและบุคลากรในการทำงาน  ให้กองทันตฯ ในตัวชี้วัดที่ไม่ได้อยู่ในเป้าหมายของ สปสช. โดยศูนย์อนามัยเป็นผู้ขอข้อมูลให้

ผมมีแนวความคิดว่าในการที่จะทำงานประเมินผลการดำเนินงานทันตสาธารณสุขว่า ในปี 51 นี้จะเป็นอย่างไรเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ลองมาดูผลงานด้านทันตสาธารณสุขว่าจะเป็นอย่างไร และทันตฯ จะมีการปรับตัวอย่างไรบ้าง ต้องการแนวร่วมครับ เพื่อที่จะได้ร่วมกันเสนอข้อคิดเห็นต่าง ๆ ไปที่ สปสช.ในการจัดสรรงบประมาณในปีต่อไป

หมายเลขบันทึก: 153279เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2007 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ความหมายของผมคือว่า ไม่ได้หมายความว่า ประชาชนจะไม่ได้รับการดูแลหรือรักษา แต่เป้าหมายในการทำงาน หรือเกณฑ์ในการดำเนินงานนั้น พื้นที่จะให้ความสำคัญน้อยลงกว่าที่เป็นมา และอาจจะส่งผลให้การทำงานทันตสาธารณสุขน้อยลงไปอีก จะกลายเป็นแค่งานรักษาหรือการตั้งรับที่สถานบริการเท่านั้น แต่การทำงานเชิงรุกจะหายไปทันที ซึ่งปัญหาเดิม ๆ ที่เรามีอยู่แล้วคือ การขาดแคลนทันตบุคลากร และในอนาคตอันใกล้ก็จะกลายเป็นการบริการจูงใจให้พื้นที่ทำงานและมีผลตอบแทน กลายเป็นงานบริการมากกว่าครับ

ผมได้ไปประชุมที่ สปสช. เขต โคราช สิ่งหนึ่งที่ กรมอนามัย(ทุกงาน)ต้องตระหนักก็คือ จังหวัดเริ่ม ไม่ให้ความสำคัญกับ ศูนย์ฯ กรมอนามัย แล้ว ถ้าเรายังไม่ปรับรูปแบบการทำงาน

จังหวัดอยาก ให้กรมปรับเป็น กรมวิชาการเต็มตัว ไม่ใช่ที่ทำงานในปัจจุบัน ที่กลายเป็นผู้นิเทศงานจังหวัด และตัวชี้วัดของเราหลาย ๆ ตัวไม่หมายกับของ สปสช. ซึ่งจังหวัดจะไม่สามารถเก็บข้อมูลให้เราได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท