ความเคลื่อนไหวการประเมินวิทยฐานะ


ประเมินวิทยฐานะอีกแล้ว

มาตรา ๕๔ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นข้อกำหนดที่สำคัญที่จะทำให้ครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์เลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้น แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด

ก.ค.ศ.ได้กำหนดมาแล้วและใช้แล้ว พบว่า ขณะนี้ ข้าราชการที่ได้รับการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว ก็ได้เลื่อนกันไปมากโดยเฉพาะ วิทยฐานะชำนาญการ สำหรับชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ รู้สึกจะได้เลื่อนน้อยมาก ยกเว้น อาจารย์ ๓ เชิงประจักษ์ ที่ปรับรูปแบบการประเมินโดยเน้นการอบรม พัฒนา สอน ประเมิน และทดสอบ ก็ได้เลื่อนวิทยฐานะเป็นกอบเป็นคือมีปริมาณมากหน่อย แต่ขณะนี้ทาง ก.ค.ศ.ที่เป็นเจ้าของเรื่องได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของการด้มาซึ่งวิทยฐานะ เช่น การอบรม่อนที่แต่งตั้งเป็นเวลา ๕ วัน(ชำนาญการพิเศษ) ๖ วัน สำหรับเชี่ยวชาญ ซึ่งแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดมหกรรมการพัฒนาในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ในกรณีที่สมัคร เดือนเมษายน และพัฒนาในช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงธันวาคม ก็ถือว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องก็ลงทุนทั้งเงินและเวลา ต่อมาคณะกรรมการก็จะต้องออกไปประเมินด้านที่ ๑ ด้านที่ ๒ อีก ซึ่งคณะกรรมที่ไปประเมินส่วนหนึ่งก็คือครูที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าคนที่ถูกประเมิน ก็มหกรรมการประเมินของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งต้องลงทุนทั้งเงินและเวลาอีก

ขณะนี้ได้ทราบว่า ก.ค.ศ.ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อร่าง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการใหม่ คิดว่าจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จะเน้นการไม่ดึงครู ผู้บริหารออกจากโรงเรียน เท่าที่ติดตาม จะยังคงมีการประเมิน ๓ ด้าน เหมือนเดิม แต่ด้านที่ ๑ ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ จะเน้นการประเมินว่าผ่านกับไม่ผ่านจะไม่มีคะแนน สำหรับด้านที่ ๒ คือด้านคุณภาพการสอน/การบริหาร/การนิเทศ และการพัฒนาผู้เรียน ถ้าเป็นครูก็จะพิจารณา ๑)การจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การใช้เทคโนโลยี การประกันคุณภาพภายใน การทำให้เกิดประสิทธิภาพการสอน การปฏิบัติงานที่ดีเป็นแบบอย่างในการสอน เป็นต้น ๒)การเอาใจใส่ แนะแนว แก้ปัญหา ส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียน ประกอบด้วย การสอนซ่อมเสริม การป้องกัน การแก้ปัยหา การทำให้เกิดประสิทธิผลในการดูแล แก้ปัญหา เป็นต้น ๓)การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับโรงเรียนและชุมชน ประกอบด้วย การร่วมพัฒนาโรงเรียน การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน การทำให้เกิดประสิทธิผลด้านความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน เป็นต้น สำหรับด้านที่ ๓ ด้านคุณภาพ ประกอบด้วย ระดับพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดูได้จาก คะแนน O-net, A-net ,NT และคะแนนอื่นๆ ผลการประเมินคุณภาพภายใน ผลการประเมินคุณภาพภายนอก บทความทางวิชาการ การเป็นวิทยากร/พี่เลี้ยง สื่อ/นวัตกรรม รายงานการพัฒนาห้องเรียน/บรรยากาศ รายงานการศึกษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละวิทยฐานะจะมีความมากน้อยหรือปริมาณที่แตกต่างกัน เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงความเคลื่อนไหวของการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะเห็นว่า ครู บริหาร ศึกษานิเทศก์ จะเลื่อนวิทยฐานะคุณภาพ ต้องเกิด ต้องพัฒนา โดยเน้นข้อมูลจาก ผลการตรวจสอบจาก สทศ. สมศ.เป็นตัวชี้วัดสำคัญ นั่นก็หมายความว่าทุกท่านต้องเตรียมตัวพัฒนาคุณภาพให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ตัวนักเรียนแล้วจะประสบผลสำเร็จซึ่งสอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการศึกษา ที่นเน้นการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ

หมายเลขบันทึก: 152811เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2007 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท