กระบวนการส่งเสริมการอ่าน


ความรู้จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดพิจิตร

กระบวนการส่งเสริมการอ่าน

สังคมโลกในยุคปัจจุบันเป็นสังคมฐานความรู้ หรือที่ฝรั่งมักเรียกว่า Learning Society เนื่องด้วยเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยความรู้นานาชนิด ดังนั้นคนที่จะอยู่ในโลกยุคนี้ได้อย่างดีก็ควรจะมีลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ เป็นนักอ่าน การเป็นนักอ่านที่ดีมีคุณภาพได้นั้นมิใช่เพียงแค่อ่านออกเขียนได้เท่านั้น หากแต่ต้องมีนิสัยรักการอ่าน อ่านแล้วรู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักจินตนาการ สร้างสรรค์อย่างถูกวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการอ่านในปฐมวัยนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง    

 หลังจากผมได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่อาจารย์นิเทศก์นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต การศึกษาปฐมวัยของม.ราชภัฏสวนดุสิตก็ได้พบTacit Knowledge อย่างบังเอิญ ซึ่งเป็นความรู้ที่ดี มีประโยชน์อย่างมากเกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กเล็กซึ่งมีขั้นตอนในการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย

ขั้นที่ 1  ขั้นการสอน

     ประกอบด้วยการสอนเนื้อหาการอ่านซึ่งเด็กเล็กนั้น เนื้อหาการอ่านก็คือรูปภาพนั่นเอง ซึ่งเทคนิคการสอนก็ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องนั่นเอง แต่สิ่งที่ครูต้องคำนึงเสมอ คือ ครูต้องสอดแทรกวิธีการอ่านที่ถูกต้องเข้าไปด้วย จะโดยวิธีการทำให้ดูหรือบอกก็ได้ ในขั้นนี้ผมขอแบ่งสาระการอ่านออกเป็น 2กลุ่ม คือ เนื้อหาของเรื่องที่อ่าน(ที่เหมาะกับเด็กเล็กคือ รูปภาพ) และ พฤติกรรมการอ่าน ได้แก่ ความตั้งใจ วิธีการจับหนังสือ การดูแลรักษาหนังสือ ฯลฯ

ขั้นที่ 2  ขั้นการฝึก

     ขั้นที่สองนี้เป็นขั้นของการฝึกความชำนาญในการอ่านหรืออาจเรียกว่าขั้นฝึกความเคยชินกับการอ่านขั้นนี้เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กเล็กได้อ่านหนังสือด้วยตนเอง โดยอาจอ่านคนเดียวหรืออ่านร่วมกับเพื่อน ๆ ก็ได้ แต่ครูต้องให้โอกาสเด็กได้อ่านบ่อย ๆ พร้อมทั้งสร้างบรรยากาศสบาย ๆ ให้กับเด็กด้วย เช่น การสร้างมุมอ่านหนังสือที่รู้สึกปลอดภัย สุขสบาย มีเครื่องอำนวยความสะดวกให้กับเด็กเล็กอย่างเพียงพอ

ขั้นที่ 3 ขั้นการนำไปใช้

     เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากสำหรับสร้างสรรค์จินตนการของเด็ก เพราะขั้นตอนนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้อ่านหนังสืออื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกับสิ่ที่เคยอ่าน หรือ ได้อ่านในสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่แตกต่างจากเดิม ในขั้นตอนนี้ครูจะพบว่าเด็กจะนำความรู้เดิมไปใช้ประโยชน์ในการอ่านและจะเพิ่มเติมจินตนาการของตนเองเข้าไป ทั้งนี้ ครูหรือผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการอ่าน โดยการป้อนคำถามสร้างสรรค์เข้าไปในระหว่างการอ่าน เช่น ทำไม อย่างไร เหมือนกันไหม เป็นต้น

   สิ่งสำคัญที่สุดในแนวคิดที่ผมนำเสนอนี้ อยู่ที่ การให้แรงเสริม อย่างต่อเนื่องในทุกขั้นตอนของกระบวนการส่เสริมการอ่าน ทั้งนี้ควรเป็นแรงเสริมทางบวกที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Positive Reinforcement

     ขั้นตอนทั้ง 3 ที่ผมนำเนอมานี้จะพบว่า ง่ายมากสำหรับครูทุกท่านที่จะนำไปใช้เพื่อช่วยพัฒนาเด็กเล็กให้รักการอ่านและเป็นนักอ่านที่มีคุณภาพเขาจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคมโลกที่เรียกว่า Learning Society ได้อย่างมีความสุข

     หากเนื้อหาสาระที่ผมนำเสนอในครั้งนี้มีประยชน์และมีคุณค่าต่อท่านแล้วไซร้ ผมขอมอบความดีนี้ให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตที่ให้โฮกาสแก่ผมในการร่วมภาระกิจที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาทรัพยากรต้นน้ำของแผ่นดินไทย รวมทั้งขอยกความดีนี้ให้แก่นักศึกษาที่ปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะตามศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่งในจังหวัดพิจิตร สำคัญที่สุด ผมขอมอบความดรที่จะบังเกิดแก่ท่านผู้อ่านให้กับท่านผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษประธานวิทย์ ยูวะเวศ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคพิจิตรที่ท่านสั่งสอนผมทั้งด้วยวาจาและการปฏิบัติเป็นตัวอย่างในเรื่องการคิดวิเคราะห์องค์ความรู้ทั้งมวลเสมอมา โอกาสหน้าผมคงได้นำเสนอองค์ความรู้อื่น ๆ ที่พบจากการเป็นอาจารย์นิเทศก์ของ ม. ราชภัฏสวนดุสิตอีกนะครับ คอยติดตามนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #learning society
หมายเลขบันทึก: 152654เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2007 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ่านแล้วคิดกันอย่างไรบ้างครับ แสดงความคิดเห็นกันบ้างครับ

สวัสดีคะอาจารย์

 พอดีเปิดเข้ามาเยี่ยมชม เห็นหัวข้อนี้เลยสนใจ เพราะกำลังจะนำมาใช้กับที่ทำงานบ้าง ขอคำแนะนำอาจารย์เกี่ยวกับการดำเนินงานด้วยได้ไหมคะ ขอบคุณมากคะ

คุณวิภาวดีครับ ผมต้องขอขอบคุณมากนะครับที่แวะมาเยี่ยมชม ผมยินดีให้คำแนะนำแก่ท่านนะครับ ช่วยถามคำถามมาละเอียดกว่านี้นะครับ

เป็นวิธีการที่น่าสนใจ เพราะเด็กไทยทุกวันนี้ชอบอ่านน้อย แต่ชอบภาพ
และเกมส์มาก และหนังสือที่อ่านจะชอบบันเทิงคดี การนำกระบวนการนี้
ไปใช้น่านำผลมาเล่าสู่กันฟังครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท