หนักไปหรือเปล่า


การฝึกที่ดี คือการฝึกที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่การฝึกเยอะๆ จนลูกไม่มีเวลาเล่นแบบเด็กๆ แม้แต่เครื่องยนต์ ยังต้องมีเวลาพัก

         คุณเคยฟังลูกไหม สิ่งที่คุณมองว่าดี มีประโยชน์สำหรับลูก อาจเป็นสิ่งที่ลูกไม่ต้องการก็ได้

         การให้ลูกที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนเสริมในสิ่งที่เด็กบกพร่องเป็นสิ่งที่ดี และควรให้การส่งเสริม เพียงแต่การส่งเสริมนั้นต้องไม่หนักหรือมากจนเกินไป โดยที่ลูกของคุณไม่มีเวลาเล่นแบบเด็กๆหรือทำอะไรที่เขาอยากทำ เพราะถ้ามากไปการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆอาจจะไม่เกิดหรือมีการพัฒนาช้า เนื่องจากเด็กเกิดความล้าและความเครียด ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอาจนำมาซึ่งปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมตามมา ไม่เพียงแต่ลูกของคุณเท่านั้นที่มีปัญหาทางอารมณ์หรือพฤติกรรมแต่ตัวผู้ปกครองก็จะมีปัญหาดังกล่าวตามมาเช่นกัน เนื่องจากลูกไม่เป็นไปดังหวัง ทำไมเรียนตั้งเยอะไม่ค่อยจะก้าวหน้าเท่าที่ควร บางทีทางผู้ปกครองก็ต้องหันมาทบทวนประเด็นตรงนี้ด้วยว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ลูกเรามีปัญหาเพิ่มขึ้นหรือมีพัฒนาการช้าหรือเปล่า

         สถานที่ฝึกที่ดีคือบ้าน ครูฝึกที่ดีคือพ่อแม่ ดังนั้นหากผู้ปกครองมีเวลาน่าจะแบ่งเวลามาเล่น/ฝึกลูกด้วยตนเองบ้าง เพราะช่วงเวลาที่ผู้ปกครองมีให้กับลูกเป็นช่วงเวลาที่มีค่าไม่มีสิ่งไหนมาเทียบได้ นอกจากได้ทำการฝึกลูกด้วยตนเองแล้ว ยังเป็นการสร้างความผูกผัน ถือเป็นพื้นฐานพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม และเป็นทักษะที่ฝึกยากและเป็นทักษะที่เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะยังคงมีพฤติกรรมเหล่านี้คงค้างอยู่ (ไม่รู้กาละเทศะในการพูด การเล่น การวางตัว เมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น)  แม้พัฒนาการด้านต่างๆจะดีขึ้น 

         การฝึกเด็กที่มีความต้องการพิเศษด้วยตนเองไม่ยาก เพียงแต่ขอ 3 ใจ คือ เข้าใจ ใส่ใจ ด้วยใจรัก หากท่านมีใจทุกอย่างที่จะทำก็ไม่ยากเกินความสามารถที่เราจะทำเพื่อลูกหลานอันเป็นที่รักของเรา

หมายเลขบันทึก: 152317เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2007 00:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ถูกต้องค๊าบ
  • แต่ผมยังไม่มีเมียมีลูกคับ
  • เลยไม่รู้ อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท