การจัดทำแผน(พัฒนา)หน่วยบริการ(สุขภาพ)ปฐมภูมิจังหวัดแม่ฮ่องสอน


ยุทธศาสตร์และศักยภาพที่น่าจะเป็นไปได้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนในการพัฒนาศักยภาพของ PCU ซึ่งอาจแตกต่างกับจังหวัดที่อยู่ในเมืองเจริญหรือเมืองที่มีมีการคมนาคมที่สะดวกกว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน

วันนี้ผมตื่นประมาณ 6 โมงเช้านั่งรอรถของหน่วยงานมารับที่บ้านเพื่อเดินทางไปประชุมที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในหัวข้อ "การจัดทำแผนพัฒนายุทธศาสตร์บริการปฐมภูมิ 5 ปี" (เหลือ ปี  51-54 )ในฐานะผู้รับผิดชอบงานด้านชุมชนจึงต้องเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วยวันนี้หมอกลงจัดมาก มองผ่านกระจกรถได้ไม่ไกลนัก คงต้องใช้เวลาเดินทางนานพอสมควรเลยทีเดียว  

จากการประชุมวันนี้แพทย์ใหญ่และรองฯได้ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมว่า เป็นการทำความเข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ(การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานหรือในระดับสถานีอนามัย:PCU) ชี้แจงเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และศักยภาพที่น่าจะเป็นไปได้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนในการพัฒนาศักยภาพของ PCU ซึ่งอาจแตกต่างกับจังหวัดที่อยู่ในเมืองเจริญหรือเมืองที่มีมีการคมนาคมที่สะดวกกว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน

จากการประชุมเรื่องทุกเรื่องไม่พ้น งานส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู โดยเน้นอยู่ที่งาน 5 อ โดยกล่าวถึงการบริหารจัดการงาน PCU ของCUP ซึ่งไม่พ้น 4 M คือ

:-การจัดการงบประมาณซึ่งมาจากงบส่วนกลาง(ราชการ) งบท้องถิ่นและงบจากภาคเอกชน-NGO

:-การจัดการระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพ

:-การจัดการด้านโครงสร้าง อุปกรณ์ เครื่องมือ

:-การพัฒนาบุคลากร 

ซึ่งแบ่งเป็น 5 ยุทธศาสตร์คือ

1)ยุทธศาสตร์เพิ่มศักยภาพและขยายบริการปฐมภูมิ ให้เข้าถึงชุมชนโดยความรุ่มมือทุกภาคส่วน อันนี้หมายถึงการทำให้ PCU มีศักยภาพในการบริการที่ดีขึ้น โดยอาจมีการปรับปรุง ขยาย พัฒนาหน่วยบริการต่าง ๆให้ดี สามารถบริการและเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน โดยต้องแสวงหาความร่วมมือจาก อปท.เอกชนหรือหน่วยอื่น ๆ ให้มาช่วยเราทำและใช้ประโยชน์ร่วมกันนั่นเอง

2)ยุทธศาสตร์ปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนระบบการบริการปฐมภูมิอย่างมีประสิทธิภาพ อันนี้หมายถึงการหารูปแบบกลไกที่เหมาะสมในการจัดการงานของPCU ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณ(ที่จะต้องมาจากหลาย ๆแหล่ง) เรื่องรูปแบบงาน-ขีดความสาสมารถของบริการ เรื่องของคนด้วย

3)ยุทธศาสตร์การปรับปรุงระบบการผลิต พัฒนา และระบบบริหารจัดการบุคลากรที่หลากหลายสอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิและบริบทของแต่ละพื้นที่ อันนี้หมายถึงการที่จะต้องมีระบบการบริหารจัดการบุคลากรที่เหมาะสม ใช้ได้ผล คนทำงานมีความสุข มีกำลังใจ อยู่กับเรานาน ๆ ซึ่งอาจหมายถึง การสนับสนุนในด้านต่าง ๆของการทำงาน ขวัญกำลังใจ ตลอดจนการได้คนท้องถิ่นมาทำงานให้กับชุมชนตนเอง เช่น นักเรียนทุน อปท.กลับมาทำงานในชุมชนตนเอง เงินเราจ้างหรือเงิน อปท.แล้แต่ความเหมาะสม

4)ยุทธศาสต์สร้างความยอมรับ คุณค่า ศักดิ์ศรี และเอกลักษณ์ของระบบบริการปฐมภูมิ อันนี้สำคัญเพราะบ้านเราไม่สามารถให้แพทย์ลงไปอยู่ ไปทำ ที่ pcu เต็มรูปแบบได้ ดังนั้นต้องมาดูว่าจะทำอะไรทดแทนให้ได้รับการยอมรับได้ เช่น ส่งพยาบาลpcu ไปเรียนเวชปฏิบัติ 4 เดือนทุกคนและ empowerment เขา หาเครื่องมือให้ ให้ความรู้ ฯลฯ

5)การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนระบบบริการปฐมภูมิ อันนี้แพทย์ใหญ่ท่านพูดได้ถูกเป๊ะเลยที่ว่าการทำงานของเราก็คือการวิจัย การเรียนรู้ การพัฒนา งานในหน่วยของตนเอง ก็ LO และ KM น่ะแหละเนาะ! จัดเวทีเสนองาน หรือจัด "กาดกำกึ๊ด"อย่างเราก็ได้

สำหรับผมอันดับแรกคือ การเตรียมทำความเข้าใจเรื่องนโยบาย แนวทาง ยุทธศาตร์กับ จนท.สอ.ทุกแห่งให้เข้าใจ ต่อไปคือการนำทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมคิดร่วมทำแผนอันนี้ค่อยตะล่อมชวนเขามานะ เสร็จแล้วค่อยขอตังค์เขามาช่วย โดยให้เขาเต็มใจ เพราะเขาเห็นประโยชน์ และเข้าใจว่างานสร้างสุขภาพคือการสร้างความสุขให้ประชาชน และความสุขของประชาชนก็คืองานของเขานั่นเอง เมื่อได้ภาคีแล้วทีนี้เรื่องลงมือทำไม่ยากแล้วล่ะครับ

สำคัญแต่ละที่ แต่ละแห่ง มีความแตกต่างกันในหลาย ๆด้าน ดังนั้น อาจไม่มีกลยุทธิ์หรือแผนเพียงแผนเดียวแล้วจัดการได้หมด แต่ละที่คงขึ้นกับบริบทและความต้องการของหน่วยนั้น ๆเอง

คำสำคัญ (Tags): #กาดกำกึ๊ด#5 อ 4 m#lo-km
หมายเลขบันทึก: 151900เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

 ..โอ้..สุดยอดมากๆเลยครับ

  ...อ่านเสร็จได้รู้ได้เข้าใจ  เหมือนกะผมมาร่วมประชุมด้วยมากเลยครับ

 ...ขอบคุณมากๆครับ

 ..อ่านแล้วรู้สึกเข้าใจ  มีพลังและมองเห็นทิศทางแห่งความสำเร็จนะครับ

 ...ยิ่งล้อกับความเห็นท่านสมคบเรื่อง PCU  แล้ว ยิ่งน่าสนใจมากๆครับผม

...ดีใจที่ได้เรียนรู้แบ่งปัน.

  อิอิ..และดีใจที่จะได้ร่วมฝึกงานพัฒนาสาสุขชุมชนร่วมกับพี่และท่านสมคบนะครับ...

ท่านP

กลไกสำคัญในความคิดของผมคือ

1)ผู้บริหารองค์กรด้านสาธารณสุข(ผอก&สสอ.)ให้ความสำคัญสนับสนุน เป็นเจ้ดันด้วย

2)ผู้บริหารระดับอำเภอเป็น เจ้ดันกะเราด้วย

3)ผู้บริหารตำบล+ปลัด เล่นบทเอาด้วย(ต้องให้เข้าใจ)

4)เจ้าหน้าที่เราเองเข้าใจและเอาใจทำ

เท่านี้ก็Happy !!

สวัสดีครับP

ผมจะขออนุญาตถือว่าเป็นสุดยอดคำชมนะครับ

ปายหนาวมากครับ มาเมื่อไรพักบ้านผมครับ !! 

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท