การประชุมศึกษาดูงาน KM ที่ประเทศอิหร่าน (3)
การจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตรการประชุม
ในการประชุมศึกษาดูงานส่งเสริมการเกษตรที่ประเทศอิหร่านครั้งนี้ ใช้เวลาในการประชุมอยู่ในห้องประชุม 4 วัน ออกไปศึกษาดูงานในพื้นที่ 1 วันครึ่ง และในช่วงท้าย 2 วัน เป็นการระดมความคิดและประสบการณ์ เขียนเอกสาร การจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร 1 เล่ม
เริ่มต้นจากพิธีการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเทศอิหร่าน เป็นประธานพิธีเปิด แล้วให้คณะแต่ละประเทศแนะนำตัวเองเสร็จแล้วก็เริ่มประชุม สาระในการประชุม จะเน้นอยู่ 3 เรื่องที่สำคัญ ได้แก่
1. การจัดการความรู้
2. การส่งเสริมการเกษตร
3. การวิจัยในงานส่งเสริมการเกษตร
<div style="text-align: center">
</div><div style="text-align: center">
</div><h3>
เริ่มต้นการประชุม Apo ญี่ปุ่นเป็นประธานดำเนินการประชุม ซึ่ง Apo ได้นำเสนอผลการวิจัย 2 เรื่อง ที่สำคัญ ได้แก่
1. การใช้ KM เป็นเครื่องมือในงานส่งเสริมการเกษตร
2. การวิจัยในงานส่งเสริมการเกษตร ในผลการวิจัยของ Apo ทั้ง 2 เรื่อง ได้ศึกษาจาก 15 ประเทศ ที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ของเอเชีย สิ่งสำคัญที่ทำให้การใช้ KM เป็นเครื่องมือในงานส่งเสริมการเกษตรประสบผลสำเร็จก็คือ
- การเริ่มต้นจากเล็ก ๆ จากระดับบุคคล กลุ่มบุคคล ไปสู่ระดับองค์กร และสังคม ตามลำดับ
อีกประการหนึ่ง สิ่งที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเกษตรก็คือเรื่อง IT มีแนวโน้มในการพัฒนาการที่รวดเร็วมาก มีบทบาทมากต่องานส่งเสริมการเกษตร </h3><p> </p><p> <div style="text-align: center"></div></p><div style="text-align: center">
</div><div style="text-align: center">
<h3></h3>
จากผลการนำเสนอในกลุ่มประเทศเอเชีย ประเทศที่สามารถนำ KM มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรให้ผลดีในระดับชั้นนำได้แก่
1. ญี่ปุ่น
2. จีน
3. เกาหลี
4. ไทย
5. ฟิลิปปินส์
อ้นนี้ผมเป็นคนจัดลำดับเอง โดยพิจารณาจากผลการนำเสนอ โดยเฉพาะช่วงการนำเสนอของ Apo ช่วงหนึ่ง เขาบอกว่าเคยมาสังเกตุและติดตามผลการทำ KM ของไทย และไปดูพื้นที่ที่จังหวัดแพร่ เขาชมเชยไทยแลนด์ดำเนินการได้ดีมาก
หลังจาก Apo ได้นำเเสนอผลการศึกษาวิจัยในภาพรวมแล้ว ก็เป็นโอกาสของแต่ละประเทศได้นำเสนอผลงานการทำ KM ในงานส่งเสริมการเกษตรของแต่ละประเทศ โดยเริ่มจากจีน ฟิลิปปินส์ อินเดีย เกาหลี ไทยแลนด์ ฯลฯ รวมแล้ว 15 ประเทศ นำเสนอแล้วให้ประชุมสอบถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
</span>
</div><h2 align="left">การศึกษาดูงานภาคสนาม</h2><h3 align="left">
โปรแกรมการดูงานสนาม ทางประเทศอิหร่านจัดสถานที่ศึกษาดูงาน 5 จุด ในวันเวลา 1 วันครึ่ง ดังนี้
1. ดูงานแปลงไม้กินเมล็ด pistacio
เป็นคล้ายเมล็ดถั่วแต่ลำต้นใหญ่ เป็นพืชที่มีชื่อเสียงมากของอิหร่าน ต้น pistacio เป็นพืชทนเค็ม ดินเค็มจัดมาก ใช้น้ำใต้ดินลึกมากถึง 150 เมตร ในบริเวณที่ไปดูมีอยู่ประมาณ 130 สวน </h3><p style="text-align: center"></p>
<p style="text-align: center">
</p><h3>
อิหร่านมีการเลี้ยงนกกระจอกเทศมากพอสมควร ส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในชุมชน และตัวเมืองหลวง บริเวณที่ไปดูจะเป็นฟาร์มของเกษตรกรรายใหญ่ มี 4 ฟาร์ม ลงทุนค่อนข้างสูง อยู่ห่างจากชุมชนประมาณ 40 กิโลเมตร ต้องลงทุนระบบไฟฟ้า เพื่อดึงน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ ปริมาณฝนที่อิหร่านโดยเฉลี่ย 150 มิลลิเมตร/ปี เท่านั้น
</h3><h3>
<h3 style="text-align: center">
</h3><h2></h2>
</h3><h2>
3. ดูงานกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร (FFS)
</h2><h3>
กระบวนการโรงเรียนตามที่ประธานกลุ่มเล่าให้ฟัง เหมือนกับประเทศไทยทุกอย่าง คือ ให้เกษตรกรมีส่วนร่วม กำหนดประเด็นความต้องการเรียนรู้ กำหนดประเด็นปัญหา เรียนรู้จากของจริงในแปลง มีการสรุปบทเรียน ทบทวนทุกขั้นตอนของการเรียนรู้ อิหร่านกำลังฮิต มีการเรียนรู้ร่วมกันทุกสัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง ขณะที่เมืองไทยทำมานานนับ 10 ปี จนนำกลับมาใช้ใหม่อีก <div style="text-align: center">
</div><div style="text-align: center">
</div>
4. ดูงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (woman Group)
อิหร่านกลุ่มสตรีจะมีบทบาทสำคัญมากในงานส่งเสริมการเกษตร มีบทบาทมากกว่าผู้ชาย กิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านที่สำคัญในจุดที่ไปดู ได้แก่
- ปลูกพืชผัก เช่น มะเขือเทศ พริก แตงกวา
- แปรรูปผลผลิตเกษตร เช่น น้ำผลไม้
- การเพาะเห็ดบริโภคในครัวเรือน
(แต่ที่สำคัญ คือ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านมีแต่คนสาว ๆ หน้าตาดี สวยมาก หากเป็นแบบนี้ เกษตรตำบลไทยแลนด์คงขยันเยี่ยมกลุ่มทุกวัน
</span>
</h3><p> </p><p></p><div style="text-align: center">
</div><h2>5. ดูงานไม้ตัดดอกเชิงการค้า </h2><h3>
เทคโนโลยีหลักในการผลิตจะมาจากฮอลแลนด์ มีการจ้างนักวิชาการเกษตรจากฮอลแลนด์มาควบคุม กิจกรรมการผลิตสามารถควบคุมอุณหภูมิ น้ำ ได้ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิต ไม้ตัดดอกที่สำคัญ ได้แก่ หน้าวัว กุหลาบ
</h3><p>
</p><p>
</p><p> </p><h2>
การผลิตเอกสารวิชาการ KM
</h2><h3>
2 วันสุดท้าย เป็นการแบ่งกลุ่มเขียนเอกสารวิชาการการจัดการความรู้ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ตามหัวข้อของเอกสาร
กลุ่ม 1 บทนำการจัดการความรู้
กลุ่ม 2 การใช้ KM เป็นเครื่องมือในงานส่งเสริมการเกษตร
กลุ่ม 3 การใช้ ICT กับ KM ในการส่งเสริมการเกษตร
กลุ่ม 4 ปัญหาอุปสรรค KM กับงานส่งเสริมการเกษตร
กลุ่ม 5 ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการทำ KM ในงานส่งเสริมการเกษตร
ผมเลือกอยู่กลุ่มที่ 5 เพราะความรู้น้อย อาศัยประสบการณ์จริงจากการทำงานในการเล่าให้เขาฟัง เล่าภาษาไทยก็คงพอฟังได้ แต่ครั้งนี้เล่าเป็นภาษาอังกฤษ เดาเอาเองว่าจะปวดหัวขนาดไหน รวมแล้วก็ได้เอกสาร KM ออกมาเล่มหนึ่ง ท่านใดสนใจไปดูรายละเอียดได้จาก www.nakhonphanom.doae.go.th รวมแล้วประมาณ 80 หน้า ดีใจมากจะได้กลับบ้าน </h3><h3>
วันต่อไปจะเล่าสิ่งที่ได้พบเห็น ประสบการณ์ และการทำการเกษตรที่อิร่านมาแลกเปลี่ยนครับ
</h3><p></p> <p></p>ทวี มาสขาว
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ทวี ใน kmนักส่งเสริมการเกษตรนครพนม
คำสำคัญ (Tags)#ศึกษาดูงาน
หมายเลขบันทึก: 151783, เขียน: 06 Dec 2007 @ 13:46 (), แก้ไข: 06 Sep 2013 @ 18:36 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 3, อ่าน: คลิก
สรุปแล้ว...ความสำเร็จในงานส่งเสริมการเกษตร ของประเทศอิหร่านนั้นมีเรื่องอะไรบ้างค่ะ...(อยากรู้)