สวัสดิการชุมชน จังหวัดพัทลุง ณ 28 พฤศจิกายน 2550


โดย  ภาคีองค์กรเครือข่ายชุมชน จังหวัดพัทลุง                

ภาคีองค์กรเครือข่ายชุมชน จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุม  20 พื้นที่ แบ่งเป็น 18 ตำบล 2 เทศบาล  มีโครงสร้างองค์กร ดังนี้ 

o      โครงสร้างองค์กร  ประกอบด้วย

·       ที่ปรึกษา ได้แก่ 

§       ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง

§       พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง

·       คณะอนุกรรมการสวัสดิการชุมชน  จำนวน 16 คน

·       คณะอนุกรรมการระดับตำบล  จำนวน 20 คน   

องค์กรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ผ่านเวทีระดมความเห็นของแกนนำและสมาชิกเป็นเวลา 6 เดือน ทำให้ได้แผนปฏิบัติการดังนี้

วิสัยทัศน์

ชุมชนเข้มแข็ง อยู่ดีมีสุข มีพื้นฐานการจัดสวัสดิการตนเอง 

เป้าประสงค์

1.       ชุมชนสามารถจัดการสวัสดิการด้วยชุมชน

2.       สร้างความร่วมมือในการจัดสวัสดิการร่วมกับท้องถิ่นและภาคี

 ยุทธศาสตร์

1.       สร้างชุมชนเข้มแข็งภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างมีศักดิ์ศรี

2.       ส่งเสริมการเรียนรู้  การจัดสวัสดิการภายใต้หลักธรรมมาภิบาล

3.       สร้างเครือข่ายสวัสดิการภาคประชาชนในระดับจังหวัด

 แนวทางดำเนินงาน

1.       ส่งเสริมกระบวนการจัดสวัสดิการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

2.       พัฒนาระบบข้อมูลในการจัดสวัสดิการที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

3.       สร้างชุมชนต้นแบบในการจัดสวัสดิการสู่การขยายผล

4.       ประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายในการจัดสวัสดิการ

5.       สนับสนุนทรัพยากรในการจัดสวัสดิการของชุมชน

 การประชุมสวัสดิการชุมชน จังหวัดพัทลุง

โดย: ภาคีองค์กรเครือข่ายชุมชน จังหวัดพัทลุง

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 

วาระหารือ

·       การทำบันทึกความร่วมมือ/เปิดบัญชีธนาคาร

                    สืบเนื่องมาจาก ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาชนบทตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.ปชช.) สนับสนุนงบประมาณ 700,000 บาท ผ่านมายัง พอช. ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกองเลขา  งบประมาณส่วนนี้ส่งเสริมและพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล/เทศบาล/เขต  มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) หนุนเสริมพื้นที่  จังหวัดพัทลุงกำหนดไว้จำนวน 18 พื้นที่ กำหนดใช้งบประมาณส่วนนี้ประมาณ 553,000 บาท 2) พัฒนาแกนนำระดับตำบล  3)งบบริหารจัดการ กำหนดใช้งบประมาณส่วนนี้ประมาณ 147,000 บาท  ที่ประชุมภาคีองค์กรเครือข่ายชุมชน จังหวัดพัทลุง มีมติให้แต่ละตำบลสมาชิก เปิดบัญชีเงินฝากของพื้นที่ตำบล และทำบันทึกความร่วมมือระหว่าง คณะกรรมการสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นจังหวัด กับ คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบล/เทศบาล/เขต  ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเปิดบัญชีธนาคาร  ซึ่งหากทำบันทึกความร่วมมือเรียบร้อยแล้ว พอช.จะโอนเงินงวดแรกเป็นเงินจำนวน 27,000 บาท ต่อ ตำบล

                      ในส่วนของการพัฒนาแกนนำ ที่ประชุมมีความเห็นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพแกนนำ ให้มีข้อมูล ความรู้เพื่อเข้าใจการจัดสวัสดิการมากขึ้น  เพื่อเป็นฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานสวัสดิการไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ  ด้วยการกำหนดให้มีเวทีการ พัฒนาศักยภาพแกนนำ ในวันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2551 โดยอาจารย์ภีม ภคเมธาวี  เข้าร่วมเพื่อให้ความรู้ด้วย 

อาจารย์ภีม ภคเมธาวี  เชื่อมโยงการทำงานของแต่ละหน่วยงานในด้านการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมท้องถิ่น               

                                  ภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข มีภารกิจของแต่ละหน่วยงานมาสนับสนุนในแต่ละเรื่อง โดยพัฒนาชุมชน (พช.) ส่งเสริมให้เกิดการการทำ แผนชุมชน มีพื้นที่เป้าหมายทุกหมู่บ้านของประเทศ  จำนวนประมาณ 69,000    หมู่บ้าน  เนื้อหาของแผนชุมชนครอบคลุมด้าน  กระบวนการเรียนรู้  อาชีพ  ผลิตภัณฑ์  สิ่งแวดล้อม  และการเงินสวัสดิการ  มีทีมงาน/คณะทำงานรับผิดชอบในแต่ละด้าน  ซึ่งในด้านการเงินและสวัสดิการ ยังมีหน่วยงานที่มาหนุนเสริม ได้แก่ ศจพ.ปชช. ที่สนับสนุนงบประมาณผ่านลงมายัง พอช.  นอกจากนี้ยังมีงบประมาณจากกระทรวง พม. ที่เป็นโครงการวิจัยนำร่องขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมเชิงพื้นที่  ที่มีพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น  ลำปาง  จันทบุรี  และพัทลุง นั้น  ด้วยงบประมาณสนับสนุนจังหวัดละ 1 ล้านบาท  แต่ละจังหวัดให้จัดสรรลงสู่พื้นที่ 3 อบต. 2 เทศบาล  สำหรับพื้นที่ปฏิบัติการของจังหวัดพัทลุง  ประกอบด้วย ต.ลำสินธุ์  ต.ทะเลน้อย  ต.ชุมพล  เทศบาลปากพะยูน และเทศบาลป่าบอน  การบริหารงบประมาณ 1 ล้านบาทอยู่ภายใต้การทำงานของคณะทำงาน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย1)      คณะทำงานยุทธศาสตร์สังคม2)      คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการสังคม (มี พมจ.เป็นเลขา) 3)      คณะทำงานสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น

หมายเลขบันทึก: 151731เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณข้อมูลจากน้องรัชค่ะ

ฟังดูซับซ้อนพอสมควรค่ะ  พยายามทำความเข้าใจ  ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกรึเปล่า  คือ ...คิดว่า

1.  บันทึกนี้กล่าวถึงสองโครงการ  คือโครงการของ พม. กับ โครงการของ พอช.

2. มีการกล่าวถึงโครงสร้างองค์กรของแต่ละโครงการ  แต่ไม่รู้ว่า  แต่ละหน่วย (ในโครงการเดียวกัน)  มี ภาระกิจอย่างไร  แบ่งงานกันทำหรือซ้ำซ้อนกันแค่ไหน

3. เรื่องงบประมาณ  หากดูองค์ประกอบ  บางครั้งตกไปอยู่ที่ค่าใช้จ่ายประจำ  แต่เป็นงบให้ชาวบ้านใช้จ่ายจริงๆไม่มากนัก  ในงานนี้เป็นอย่างไรคะ  พอจะมีรายละเอียดงบประมาณไหมคะ

4. "เชื่อมโยงการทำงาน"  หมายความว่าอย่างไร  อะไรคือสิ่งที่ต้องประสานกัน  อะไรทำร่วมกัน  อะไรต้องแบ่งงานกันทำ .. ระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน  ระหว่างหน่วยงานกับชาวบ้าน

5. "การจัดสวัสดิการสังคมท้องถิ่น"  หมายความว่าอย่างไรคะ

พอดีต้องสังเคราะห์งาน   ก็เลยเพียงแต่พยายามติดตามและทำความเข้าใจระบบค่ะ  ...  (หวังว่าคงไม่ถามรุนแรงเกินไป)  ไม่แน่ใจว่า เข้าใจบทบาทของตัวเองถูกต้องแค่ไหน   ฝากเรียนถามอาจารย์ภีมด้วยค่ะ

 

 

 

ขอโทษค่ะ  ข้างบนคงเป็นโครงการของ พช. กับ ของ ศจพ.ปชช ผ่าน พอช.

พม.เคลื่อนงานนี้ในเชิงนโยบายผ่านฐานงานที่อ.ไพบูลย์เข้าไปวางกลไกศตจ.ปชช.ในยุคคุณทักษิณเป็นนายกฯในนโยบายแก้ปัญหาความยากจน โดยให้พลเอกชวลิตมาดูแล งบประมาณผ่านพอช.ลงสู่ชุมชนในรูปเงินทุนสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในงานวิจัย5พื้นที่ที่ผ่านมา(งบวิจัยก็ได้จากศตจ.ปชช.ผ่านสกว.)สมทบให้ตำบลละ1แสนบาท

1)นโยบายนี้ตั้งคณะทำงานสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นขึ้นมา(ซึ่งผมร่วมเป็นคณะทำงานด้วย)ตั้งกลไกในระดับจังหวัดขึ้นมาในชื่อเดียวกัน โดยใช้งบคงเหลือจากศตจ.ปชช.(เปลี่ยนชื่อเป็นศจพ.)เกลี่ยให้จังหวัดละ7แสนบาท โดยพอช.ได้งบจากพม.200ล้านบาทเพื่อเคลื่อนงานนี้ต่อ คณะทำงานของพัทลุงใช้เงิน7แสนแยกเป็งบบริหารกับงบสมทบกองทุน20ตำบล นี่เป็นนโยบายเพื่อเปิดพื้นที่ทางสังคม "สวัสดิการชุมชนท้องถิ่น" ขึ้นมาในภาคปฏิบัติ โดยพม.เข้าไปแก้พรบ.สวัสดิการสังคม2546ให้มีนิยามนี้และเพิ่มสัดส่วนคณะกรรมการตามนิยามนี้ด้วย

2)ในกลไกตามพรบ.2546 มีกองทุนสนับสนุนให้องค์กรสาธารณประโยชน์ขอเงินไปสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคม มีปลัดกระทรวงเป็นประธาน มีอำนาจอนุมัติอยู่ตรงกลาง ฝ่ายนโยบายได้ผลักดันให้กระจายอำนาจลงมาที่จังหวัดชื่ออนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม มีตัวแทนจาก4ภาคส่วนจำนวน15คนคือราชการ4 ประชาสังคม3 ท้องถิ่น3และชุมชน4 มีพมจ.เป็นเลขา
พมจ.เสนอให้ผู้ว่าแต่งตั้ง ภาคประชาสังคมสรรหาโดยคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมจังหวัด ภาคท้องถิ่นเลือกกันเองจากอบจ. เทศบาลและอบต. ภาคชุมชนเลือกกันเอง ส่วนกลางได้ทดลองโอนงบกิจกรรมลงมาให้5จังหวัดนำร่องทดลองจังหวัดละ1ล้านบาทคือกทม. พัทลุง จันทบุรี ขอนแก่นและลำปาง กำหนดกรอบดำเนินการเชิงประเด็น25% พื้นที่75%จำนวน2เทศบาล3อบต. ตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท