ความสามัคคีคือพลัง


ความสามัคคีก่อให้เกิดพลัง
วันที่  3    ธันวาคม    2550ณ  ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าเรือ  สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านนาเดิม การจัดการความรู้ เรื่อง  ความสามัคคีคือพลัง                ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลท่าเรือ  ได้จัดการประชุมชี้แจงโครงการต่างๆ  ที่ดำเนินการภายใต้ศูนย์ ฯ   ในปีงบประมาณ  2551   ให้กับเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ   โดยเริ่มจากโครงการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน   ใน วันที่   3  ธันวาคม   2550   เวลา   13.00 น.    ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลท่าเรือ  โดยมีเกษตรกรเป้าหมาย  55   ราย   จากเกษตรกรที่สนใจ   6   หมู่บ้าน   ในตำบลท่าเรือ  สาเหตุที่เลือกศูนย์บริการเนื่องจากศูนย์ ฯ  ได้ย้ายที่ทำการมาครบ  2  ปี  เกษตรกรส่วนใหญ่มาใช้บริการน้อยจึงอยากให้เกษตรกรได้รู้และพูดต่อๆ  กันไป  เวลา  13.00   น.  เกษตรกรทยอยมาลงทะเบียน  โดยได้รับการร่วมมือจากคณะกรรมการศูนย์    ในทุกหมู่บ้าน  มาช่วยลงทะเบียน  จัดสถานที่  จัดน้ำดื่ม (ใช้งบประมาณศูนย์ ฯ  ปี  50  ที่ขอจาก อบต. )   เมื่อได้เวลาสมควรและเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการได้เดินทางมาประมาณ  95 %   ของเป้าหมาย   ดิฉัน   นางสาวนันทวัน   วัฒนา  นวส. 4  เลขานุการศูนย์ ฯ   กล่าวต้อนรับและชี้แจงโครงการ (วัตถุประสงค์  ความเป็นมา  และเป้าหมาย)   และแบ่งเกษตรกรออกเป็นกลุ่มซึ่งเน้นพืชอาหาร  จำนวน  2  กลุ่ม  เพื่อสะดวกในการถ่ายทอดความรู้ตามกระบวนการโรงเรียน  (เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาวสวนเงาะ)  แบ่งจากพื้นที่ในการเดินทางที่สะดวกของเกษตรกร  หมู่ที่  1  และ  4  อยู่กลุ่มเดียวกัน  กลุ่มที่  1   โดยเลือกบ้านผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  1  เป็นจุดที่ดำเนินการ  ถึงแม้ว่าบ้านผู้ใหญ่จะมีพื้นที่ปลูกเงาะในปริมาณน้อยแต่เนื่องจากผู้ใหญ่เต็มใจและให้ความร่วมมือร่วมทั้งที่ผ่านมามีการถ่ายทอดความรู้และสาธิตในเรื่องต่าง ๆ  จากหลายหน่วยงานจึงได้เลือกบ้านผู้ใหญ่  กลุ่มที่  2   คือเกษตรกรที่หมู่บ้านที่เหลือ  หมู่ที่  2 ,3 , 5 และ 6    จุดดำเนินการบริเวณศูนย์บริการ  เนื่องจากบริเวณดังกล่าวติดกับสวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่ให้ความร่วมมือกับศูนย์ ฯ  ในทุก ๆ ครั้ง  และทุก ๆ  เรื่องที่ศูนย์ขอความร่วมมือ  เช่น  การตัดหญ้าบริเวณหน้าศูนย์ ฯ   เมื่อมีการแบ่งพื้นที่ก็มีการปรึกษาเกษตรกรเรื่องความต้องการเมื่อเข้าร่วมโครงการ  โครงการได้เน้นการถ่ายทอดความรู้ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร  เกษตรกรส่วนใหญ่เบื่อเรื่องการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการจัดการสวน  เช่น  การตัดแต่งกิ่ง  การให้น้ำ  แต่ต้องการการจัดการสวนในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต  เช่น  เรื่องการปรับปรุงบำรุงดินโดยเน้นการทำปุ๋ยใช้เอง  เนื่องจากปุ๋ยในท้องตลาดราคาแพงมากในขณะนี้  การป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ถูกวิธี  ดิฉันเห็นด้วย  ในข้อเสนอของเกษตรกร  และตกลงในเรื่องดังกล่าว  แต่ขอเพิ่มเรื่องการเรียนรู้เรื่องสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  กำจัดวัชพืช  และกำจัดโรคพืช  เพราะเกษตรกรรู้ในเรื่องนี้น้อยมาก  มักจะใช้เกินขนาดจากคำแนะนำในฉลาก  ร่วมทั้งการรู้จักแมลงศัตรูพืช  ศัตรูธรรมชาติ  การนับแมลงก่อนพ่นสารเคมี  (ดิฉันเคยทำงานอยู่กองกีฏและสัตววิทยา  กรมวิชาการเกษตร  มา  7  ปี คิดว่าสามารถใช้ประสบการในเรื่องดังกล่าวได้ดี )  เกษตรกรเห็นด้วย  แต่ขอให้มีการทัศนศึกษาดูงานในสวนที่ประสบความสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินการ           และตกลงเลือกสวนภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี   เนื่องจากติดที่งบประมาณ มีน้อย  และมีการกำหนดวันในการเรียนรู้ครั้งแรกในวันที่  16  มกราคม  2551  ในกลุ่มที่  1  และ  17  มกราคม  2551  ในกลุ่มที่  2  จากการดำเนินการของศูนย์    ในครั้งนี้  เกิดจากความร่วมมือของเกษตรกรและ  คณะกรรมการศูนย์    ในตำบลท่าเรือ  ทุกท่าน  เพราะถึงแม้ว่าดิฉันจะดำเนินการอย่างดีในทุก ๆเรื่อง  แต่ถ้าเกษตรกรไม่มาหรือไม่ให้ความร่วมมือ  การดำเนินการก็ไม่ประสบความสำเร็จ  ความสามัคคีก่อให้เกิดพลังจริง   ค่ะ   โดยเฉพาะพลังความคิดของคนท่าเรือ  บ้านนาเดิม  สุราด...
หมายเลขบันทึก: 151104เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2007 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หวัดดีครับ

  • เหมือนกับไม้เรียว 1 อัน กับ ไม้เรียว 1 มัด
  • มองเห็นภาพ การขับเคลื่อน งานส่งเสริมในบ้านนาเดิม พอประมวลความก้าวหน้าได้ ในระดับหนึ่ง  
  • ขอบคุณครับ
ขอบคุณพี่ชัยพร  ที่เข้ามาอ่าน  เรื่องเล่าอันน้อยนิด  แล้วจะเล่าบ่อยๆค่ะ

ดีมากเลยค่ะนอกจากเกิดความสามัคคีแล้วก็ไม่ต้อซื้อปุ๋ยราคาแพงด้วยคะ

น้องต่าย กาญจนดิษฐ์เองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท