ยาปฏิชีวนะ


เอกสารประกอบการเรียน

                
ยาปฏิชีวนะ

      ยาปฏิชีวนะเป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และเป็นยาที่ใช้ได้ผลดี  นอกจากนั้นยาปฏิชีวนะจัดเป็นยาที่ได้จากธรรมชาติโดยได้จากการสกัดสารที่เป็นยาจากจุลินทรีย์บางชนิด     เช่น แบคทีเรีย  ราพันธ์ต่างๆ  ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านั้นมีสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตหรือทำลายเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆได้ เรียกว่า         สารปฏิชีวนะ  ถ้านำไปใช้เป็นยาจะเรียกว่า  ยาปฏิชีวนะ
      ข้อควรจำ
      ยาปฏิชีวนะตัวแรก สกัดได้จากเชื้อราสีเขียงที่ชื่อว่า Penicilium  notatum ค้นพบโดยอเลกซานเดอร์  เฟลมมิง  นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ และตั้งชื่อยานี้ว่า  เพนิซิลลิน  ใช้รักษาแผลอักเสบ และกามโรค
     ชนิดของยาปฏิชีวนะ
     ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด  สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
     1. แบ่งตามผลของการออกฤทธิ์ของยาต่อเชื้อ แบ่งได้  2 กลุ่มดังนี้
          1.1 ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยตรง  ยากลุ่มนี้จะมีผลต่อแบคทีเรียที่กำลังเจริญเติบโต  และมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเช่น
               1.1.1 เพนิซิลลิน
               1.1.2 สเตรปโตมัยซิน
               1.1.3 คานามัยซิน
          1.2 ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยากลุ่มนี้จะทำให้เชื้ออ่อนแอและถูกทำลายโดยเม็ดเลือดขาวในที่สุด เช่น
              1.2.1 คลอแรมฟินิคอล
              1.2.2 เตตราชัยคลิน
              1.2.3 คลินตามัยซิน
      2. แบ่งตามขอบเขตการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ของยา  แบ่งเป็น  2 กลุ่มคือ
          2.1 ยาปฏิชีวนะชนิดทำลายเชื้อจำกัด  ยากลุ่มนี้สามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้เพียงบางชนิดเท่านั้น  เช่น  เพนิซิลลิน ส่วนมากใช้ฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดหนอง  ฝี
         2.2 ยาปฏิชีวนะชนิดอำนาจทำลายเชื้อจุลินทรีย์ครอบจักรวาล  ยากลุ่มนี้มีขอบเขตในการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้กว้างมาก สามารถทำลายได้หลายชนิด แต่ประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เช่น
               2.2.1 เตตราชัยคลิน
               2.2.2 คลอแรมฟินิคอล
     อันตรายของยาปฏิชีวนะ
เพนิซิลลิน

       ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ  เช่น 
       1. เพนิซิลลินจี หรือ เพนิซิลลินวี
       2. แอมพิซิลิน
       3. ออกซาซิลลิน
       4. เมธิซิลลิน
       อันตราย
       ลมพิษ  ผื่นคันตามตัว  แน่นหน้าอก  หายใจไม่สะดวก หอบ ใจสั่น  หน้ามืด  ช็อก  และอาจถึงตายได้
ฮีโรมัยซิน
     
ยากลุ่มนี้เช่น
      1. โรซิโธมัยซิน
      2. สไปรามัยซิน
      อันตราย
      คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตับอักเสบ
เตตราซัยคลิน
      ยาในกลุ่มนี้เช่น
      1. ออริโอมัยซิน  เทอรามัยซิน
      อันตราย
      1. คลื่นไส้  อาเจียน 
      2. ยาที่หมดอายุมีพิษต่อไต
      3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพราะจะทำให้กระดูกและฟันไม่เจริญและแข็งแรงเท่าที่ควร  ฟันเป็นคราบสีเหลือง ดำตลอดชีวิต
      4. ถ้าใช้ในหญิงมีครรภ์ก่อนคลอด 3 เดือน อาจทำให้ทารกสมองพิการ สติปัญญาเสื่อม และยับยั้งการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน
คลอแรมฟินิคอล
     ยากลุ่มนี้เช่น
     ไธแอมแฟนิคอล
     อันตราย
     1. กดการสร้างเม็ดเลือดแดง กดไขกระดูกทำให้โลหิตจาง
     2. อาจแพ้ยาโดยเป็นผื่นคัน หรือมีไข้
     3. ถ้าใช้ในเด็กแรกเกิดจะทำให้เกิดยาคั่งในเลือด ทำให้อาเจียน ตัวเขียว หรือซีดเป็นสีเทา ร่างกายอ่อนปวกเปียก ความดันโลหิตต่ำ  หมดสติถึงตายได้
สเตรปโตมัยซิน
    ยากลุ่มนี้ เช่น
    1. คานามัยซิน  
    2. นีโอมัยซิน 
    3. เจนตามัยซิน
     อันตราย
    1. เป็นพิษต่อระบบประสาทที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยิน 
    2. ทำให้เวียนศีรษะ มึนงง
    3. อาจทำให้หูหนวก
    4. เป็นพิษต่อไต
    5. ชาตามปลายมือปลายเท้าหรือรอบๆปาก 
    6. เกิดการแพ้ เช่น เป็นไข้  ผื่นตามผิวหนัง
ซัลโพนาไมด์
    
ยาในกลุ่มนี้เช่น
     1. ซัลฟิซอกซาโซล
     2. ซัลฟาเมธอกซาโซล
     3. ซัลฟาไดอะมีน
     อันตราย
     1. ผื่นคันตามตัว 
     2. เป็นไข้
     3. แผลผุพองตามผิวหนัง  รอบปาก และตาบวมเป่ง
     4. มีพิษต่อตับและไต
     5. ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก 
     6. ถ้าใช้ในหญิงมีครรภ์หรือในเด็กทารกแรกเกิดจะทำให้เด็กมีความผิดปกติทางสมอง และปัญยาอ่อนได้
      จะเห็นได้ว่า ยาปฏิชีวนะที่ใช้ทำลายเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้ผลแต่บางชนิดไม่ได้ผล ทั้งนี้เนื่องมาจากใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกต้อง เช่น ใช้ยาผิดขนาด  ผิดวิธี  ระยะเวลาไม่เหมาะสม เลือกยาไม่ถูกกับเชื้อแบคทีเรีย และใช้ยาพร่เพื่อโดยไม่จำเป็น จึงก่อให้ผู้ป่วยเกิดอาการเชื้อโรคดื้อยา
      เชื้อโรคดื้อยา  หมายถึง  ความสามารถของเชื้อโรคที่จะดำรงชีวิตอยู่หรือขยายพันธ์ต่อไปภายในร่างกาย  แม้ว่าจะใช้ยาในขนาดที่เคยใช้ได้ผลมาแล้ว หรือสูงกว่าขนาดที่เคยใช้มา
     ข้อควรจำ
      ยาปฏิชีวนะนอกจากเป็นอันตรายจากที่กล่าวมาข้างต้น  ยังมีอันตรายดังนี้
      1. เกิดเชื้อโรคแทรกซ้อน เช่น ปากเปื่อย  ลิ้นเป็ฝ้าขาว  คันตามช่องคลอดและทวารหนัก  ลำไส้อักเสบ อุจจาระร่วง
      2. การแพ้ยา 
      3. เกิดพิษและอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ยาคลอแรมฟินิคอลทำให้เกิดพิษต่อไขกระดูก
      4. ปัญหายาเสื่อมคุณภาพและหมดอายุ ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่เสื่อมคุณภาพได้ง่ายถ้าเก็บรักษาไม่ถูกวิธี ยาปฏิชีวนะที่เสื่อมคุณภาพจะไม่มีผลในการรักษา
     
      หลังจากนักเรียนศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ทำชุดฝึกเรื่อง ยาปฏิชีวนะ  ที่ครูแจกให้และส่งภายในวันที่ 13 ธันวาคม 2550
     

หมายเลขบันทึก: 150055เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2007 06:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
ดูแล้วนะคะ

เมื่ออ่านแล้วก็ทำชุดฝึก เรื่อง ยาปฏิชีวนะ และดำเนินการส่งให้ทันเวลา
                 คุณครุพิศมัย  พานโฮม

นางสาวโศภิตา สังโวลี

มีสาระดีๆเยอะแยะเลยค่ะ  ช่วยให้ทำแบบฝึกหัดถูกเยอะเลย 

นางสาวสุดารัตน์ พลแพงขวา
ชอบมากค่ะ เนื้อหาดีสุดๆ
นางสาวอาทิตย์ติญา เพลาวัน
ดูแล้วเหมือนกัน 
นางสาวทิพวรรณ ปัญจะการ
ดูแล้วนะค่ะ 
นางสาวคนึงนิตย์ ไชยธรรม
ดูแล้ว  ทำแบบฝึกหัดแล้ว
นางสาวทิวาวรรณ โคกฉวะ
เว็บนี้น่าสนใจมากเลยค่ะ   ชอบบบบบ
นางสาวชฎาพร ดวงคำน้อย
เยี่ยมจิงๆ ค่ะ  ดีมากค่ะ
นางสาววลัยลักษณ์ บุญสาร
เยี่ยมจิงๆ เฮ้
นางสาวหิรัญย์ อัมกุล

หนูชอบเนื้อหาของอาจารย์มากเลยนะค่ะ 

แบบฝึหหัดทำเสร็จสวยงาม

นางสาวนิสรา สุภักดิ์

ดีมากค่ะ เยี่ยมๆๆๆๆ

นางสาวแคทรียา จางวางสิทธิ์

น่าสนใจมากค่ะ เยี่ยมจิงๆ

นางสาวทิพวรรณ รัตนโคตร

เยี่ยมๆๆจิงๆนะค่ะ คุณครู

ดีมากค่ะ

นางสาววัจนารัตน์ สานุการ

สนจนเนื้อหามากค่ะ

ครูเข้าดูแล้วว่าใครเข้ามาเรียนเรื่องยาปฏิชีวนะกันบ้างแล้ว  แต่มีนักเรียนคนหนึ่งที่ชื่อนางสาวหิรัญย์  ครูไม่เคยสอนสอนแต่นายหิรัญย์จ้า
          คุณครูพิศมัย  พานโฮม

น.ส.กนิษฐา โฮมวงศ์ ม.6/12 ,16

ทบทวนก่อนสอบ o-net

อัจฉรา บุญเรือง เลขที่ 47 ห้อง 6/12

วิลาภรณ์ บุตรสะอาด เลขที่ 38 ม.6/12

ศึกษาเพิ่มเติมคะ

อ่านแล้วครับ อยากได้ข้อมูลยาปฏิชีวนะที่มากกว่านี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท