kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การอบรมเรื่องการวิจัยเชิงคุณภาพกับการพัฒนางานสาธารณสุข


เน้นเรื่องเกี่ยวกับตัวคน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพที่สำคัญยิ่ง งานวิจัยเชิงคุณภาพเน้นเป้าหมายสำคัญคือการเข้าใจความหมายของปรากฎการณ์นั้น ๆ ในบริบทของคนที่เข้าไปศึกษา และเปลี่ยนแนวคิดจาการเก็บข้อมูลเป็นการเข้าไปเรียนรู้จากชาวบ้านหรือชุมชน

      เมื่อวันที่ 19-23 พ.ย. 2550 ได้มีโอกาสไปอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิจัยเชิงคุณภาพกับการพัฒนางานสาธารณสุข  ณ ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์  อ.สันกำแพง  จ.เชียงใหม่  จัดโดยภาควิชาทันตกรรมชุมชนและหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง  คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

      วันแรกหลังจากกล่าวเปิดในช่วงบ่ายโมง จากนั้นมีการแนะนำตัว และมีกาแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 4 กลุ่มเพื่อเก็บข้อมูลภาคสนาน โดยอาจารย์ในช่วงแรกประกอบด้วยอาจารย์จากภาควิชาทันตกรรมชุมชน (ผศ.ทพ.ดร.ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์   ผศ.ทพญ.ศศิธร ไชยประสิทธิ์  อ.ทพ.วิชัย วิวัฒน์คุณูปการ  อ.ทพญ.ดร.ธิดารรณ วะสีนนท์ และ อ.ทพญ.ศุภลัคภ์  เลิศมโนรัตน์) ซึ่งมีการแนะนำการใช้ fieldnote และตั้งหัวข้อการเก็บข้อมูลเป็นเรื่อง ขนมหวาน  จากนั้นประมาณ 4 โมงเย็น ก็จะมีการพาวนรอบหมู่บ้าน 1 รอบก่อน เสร็จแล้วก็จะปล่อยกลุ่มทั้ง 4 กลุ่มลงตามหมู่บ้านที่แบ่งไว้กลุ่มละ 1 หมู่ โดยในแต่ละทีมจะแบ่งเป็นทีมย่อย ทีมละ 2 คน เพื่อออกเก็บข้อมูล ให้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นประมาณ 6 โมงเย็นก็จะนัดหมายกันกลับ หลังจากทานอาหารเย็น ก็จะให้แต่ละกลุ่มย่อยมารวบรวมข้อมูลเพื่อเขียนเนื้อหาจาก note ที่เขียนไว้

      วันที่ 2  ในตอนเช้า ในแต่ละกลุ่มย่อยนำข้อมูลมารวบรวม และแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มใหญ่ เพื่อสรุปเป็นหัวข้อ เพื่อนำเสนอในที่ประชุม ซึ่งอาจารย์จะให้แต่ละกลุ่มเขียนหัวข้อใหญ่ในการสำรวจตามที่กลุ่มตนเองสนใจ ขึ้นบนแผ่นกระดาษ ต่อมาจะให้กลุ่มอื่นลองเดาดูว่าในแต่ละหัวข้อใหญ่มีหัวข้อย่อยอะไรบ้าง ซึ่งสรุปสุดท้ายก็พบว่าส่วนใหญ่กลุ่มอื่น ๆ สามารถเดาได้เกือบถูกหมดว่าในกลุ่มเราเองต้องการพูดถึงเรื่องอะไร  หลังจากนั้นอาจารย์ก็จะให้แต่ละกลุ่มลองเขียนสิ่งที่ได้จากการออกภาคสนานซึ่งในกลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ไม่สนใจหรือไม่ได้เป็นประเด็น ซึ่งแต่ละกลุ่มก็สามารถเรียบเรียงออกมาได้มากมาย ไม่ว่าเป็นลักษณะท่าทาง ความรู้สึก  สิ่งที่ไม่เกี่ยวกับขนมหวาน วิถีชีวิต  ฯลฯ  ซึ่งข้อมูลดังกล่าวอาจารย์บอกเป็นข้อมูลที่สำคัญต่องานวิจัยเชิงคุณภาพทั้งสิ้น  ในตอนค่ำหลังจากรับประทานอาหารแล้ว อาจารย์จึงเริ่มให้ความรู้เรื่องงานวิจัยเชิงคุณภาพ  ในหลักสูตรนี้อาจารย์จะเน้นเรื่องเกี่ยวกับตัวคน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพที่สำคัญยิ่ง งานวิจัยเชิงคุณภาพเน้นเป้าหมายสำคัญคือการเข้าใจความหมายของปรากฎการณ์นั้น ๆ ในบริบทของคนที่เข้าไปศึกษา และเปลี่ยนแนวคิดจาการเก็บข้อมูลเป็นการเข้าไปเรียนรู้จากชาวบ้านหรือชุมชน

     วันที่ 3 อาจารย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับขนมหวาน อาจารย์ได้ตั้งประเด็นที่สนใจว่าขนมหวานในมุมมองเกี่ยวกับ เช่น ความหมาย (เช่นในบ้านเป็นสิ่งดี แต่ที่โรงเรียนเป็นสิ่งต้องห้าม) , ขนมกับเด็กและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง , ขนมในบริบทของครอบครัว , ความสุขของเด็กกับการกินขนมหวาน , การปรับเปลี่ยนผัสสะแลประสบการณ์รับรส (มีอาจารย์มาเพิ่มอีกท่าน คือ อ.สุริยา สมัทรคุปต์)  จากนั้นในช่วงบ่ายอาจารย์ให้กลับไปเก็บข้อมูลภาคสนามอีกรอบหนึ่ง เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลเชิงลึก ครั้งนี้ให้พยายามสังเกตุลักษณะท่าทางของผู้ที่เราเข้าไปคุยด้วย และพยายามไม่ตั้งประเด็นคำถามตามหัวข้อที่ต้องการ แต่ให้ใช้วิธีการสร้างความคุ้นเคย แต่พร้อมที่จะกลับไปหาหัวข้อที่เราสนใจได้เมื่อพร้อม ใช้เวลาในคราวนี้ประมาณ 3 ชั่วโมง จากนั้นกลับมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เพื่อจด ขยายความลงในสมุด

   วันที่ 4  ได้มีการพูดคุยในกลุ่มเพื่อสรุปเป็นประเด็นอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นมีการนำเสนอ โดยเสนอในประเด็นของการสรุป และประเด็นที่ได้มาของการสรุปในประเด็นนั้น ๆ   ในตอนบ่ายมีอาจารย์มาเพิ่อีก 2 ท่านคือ คร.ชยันต์ วรรธนภูติ และพ่อหลวงจอนิ โอโดเชา ซึ่งมาพูดคุยในเรื่องประสบการการวิจัยเชิงคุณภาพกับการให้ได้มาซึ่งกฎหมายป่าชุมชน  

    วันที่ 5  ได้มีการสรุปประเด็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย อ.ทพ.อติศักดิ์ จึงพัฒนวดี ซึ่งให้ความคิดพื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพในประเด็น  Holistic perspective , Context sensitivity , Dynamic approach , Design Flexibility และ Reflexivity

     ซึ่งรายละเอียดจะนำเสนอในโอกาสต่อไปครับ

              

 

                  

หมายเลขบันทึก: 149610เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2007 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • กระบวนการละเอียดดีจังเลยนะคะ หมอก้อง
  • ขอบคุณค่ะ ที่นำเรื่องราว มา ลปรร.

ขอบคุณค่ะที่เป็นความรู้ให้ดิฉันทำวิจัยพยบ.ปี3ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท