การบริหารงานเกี่ยวกับผู้บริโภคในมหานครโตเกียว (Tokyo Metropolitan Government: TMG)


การคุ้มครองผู้บริโภคในมหานครโตเกียว

ผู้เขียนขอถ่ายทอดประสบการณ์ในการศึกษาสภาพความเป็นจริงต่าง ๆ ของการบริหารงานเกี่ยวกับผู้บริโภคในมหานครโตเกียว (Tokyo Metropolitan Government: TMG) และการใช้ PIO-NET ในศูนย์ผู้บริโภคแห่งมหานครโตเกียว (Tokyo Metropolitan Comprehensive Consumer Center: TMCCC) ที่ผู้เขียนได้เดินทางไปศึกษา ณ มหานครโตเกียว (Tokyo Metropolitan Government: TMG) โดยสรุปดังนี้

 1.มหานครโตเกียว ((Tokyo Metropolitan Government: TMG)ขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของ TMG ในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สรุปได้ ดังนี้ลักษณะการบริหารงานของ TMG เป็นรูปแบบมหานคร (Metropolitan) งานด้านหนึ่งของมหานครโตเกียว ได้แก่ งานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ Bureau of Citizens and Culture Affairsขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของ TMG ในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคนี้ ได้แก่ งานนโยบายและแผนการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค งานธุรกรรมทางการค้าและฉลาก งานป้องกันความเสียหาย งานพัฒนาผู้บริโภค งานที่อาบน้ำสาธารณะ งานการสำรวจราคาสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน งานการพัฒนาระบบการจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ และงานการจำหน่ายข้าวเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ The Consumer Protection Fundamental Act, 1968 เพื่อเป็นหลักประกันเสถียรภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองแห่งมหานครโตเกียว จึงได้บัญญัติข้อบัญญัติมหานครโตเกียวเพื่อรับรองสิทธิผู้บริโภค ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการบริโภค  สิทธิในการรับรู้รายละเอียดจากสินค้าในฉลาก การห่อและปริมาตร  สิทธิที่จะได้รับการป้องกันจากธุรกิจการค้าที่ไม่เป็นธรรม สิทธิที่จะได้รับการชดเชย สิทธิที่จะได้รับข่าวสารข้อมูล และสิทธิที่จะได้การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในการดำเนินงานจะมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีหน้าที่ในการวางแผนและกำหนดข้อกฎหมาย การวางแผนจะมีการปรับปรุงทุก 3  ปี

การบริหารจัดการของ TMG จะมีการสำรวจ แนะนำผู้ประกอบธุรกิจให้ปรับปรุงวิธีการค้า การจำหน่ายสินค้า หากมีปัญหาจะมีผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น อาจารย์จากมหาวิทยาลัยและทนายความร่วมให้การวินิจฉัยด้วย  ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตาม เช่น ห้ามจำหน่ายสินค้าหรือเปิดเผยชื่อผู้ประกอบธุรกิจ การดำเนินงานยังครอบคลุมไปถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม การสำรวจค่าครองชีพ สำรวจปริมาณสินค้าและการบริการสาธารณะ เช่น การควบคุมห้องอาบน้ำสาธารณะให้มาตรฐาน เป็นต้น   อนึ่ง  การคุ้มครองผู้บริโภคไม่หมายความรวมถึงนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศแต่อย่างใด

 2. ศูนย์ผู้บริโภคแห่งมหานครโตเกียว (Tokyo Metropolitan Comprehensive Consumer Center: TMCCC)TMG ได้ก่อตั้ง TMCCC เมื่อ ค..1996 เพื่อเป็นศูนย์กลางของศูนย์ผู้บริโภคต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตการบริหารของมหานครโตเกียว  แนวความคิดหลักของ TMCCC ได้แก่ การเป็นศูนย์กลางในการบริหารงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค การให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้บริโภค การให้การสนับสนุนกับหน่วยงานบริหารในเขตต่าง ๆ ในมหานครโตเกียว และเป็นศูนย์กลางซึ่งผู้อาศัยในมหานครโตเกียว สามารถเข้าถึงได้ง่ายงานของ TMCCC ได้แก่ งานความร่วมมือต่าง ๆ งานสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ งานการให้คำปรึกษา งานการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และงานการเป็นศูนย์กลางในเขตต่าง ๆ ในมหานครโตเกียวอนึ่ง ระบบฐานข้อมูลข่าวสารภายในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของ TMCCC ซึ่งเชื่อมโยงกับ TMG และเขตการปกครอง 23 เขต รวมทั้งเทศบาลอีก 13 แห่ง เรียกระบบเชื่อมโยงนี้ว่า Metropolitan Consumer Information System (MECONIS) ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับระบบ Practical Living Information Online Network System (PIO-NET) ของ National Consumer Affairs Center of Japan (NCAC)การดำเนินงานของ TMCCC นั้น จะมีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ตัวแทนจากสมาคมผู้บริโภคต่าง ๆ  ตัวแทนผู้อยู่อาศัยในมหานครโตเกียว  และบุคลากรในเขตการปกครองต่าง ๆ ในมหานครโตเกียว ซึ่งจะมีการประชุมปีละ 5 ครั้งการบริหารจัดการอื่น ๆ เช่น การจัดให้มีศูนย์ทดสอบสินค้าเพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบสินค้าและสำหรับเจ้าหน้าที่ดำเนินการทดสอบเอง มีสถานที่ให้กลุ่มแม่บ้าน ชมรมใช้ในการดำเนินกิจกรรม การจัดให้มีห้องสมุดไว้ค้นคว้าหาข้อมูลผู้บริโภคและโดยทั่วไป รวมถึงมีการตราข้อบัญญัติที่จะให้ผู้บริโภคสามารถยืมเงินทดรองในการฟ้องคดีในศาลได้

ข้อสังเกตของผู้เขียน

1. มหานครโตเกียวได้ให้ความสำคัญแก่การคุ้มครองผู้บริโภค  ทั้งนี้ เป็นการสอดคล้องและบรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคพื้นฐาน2. มหานครโตเกียวกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีความคล้ายคลึงกันในลักษณะการบริหาร ซึ่งหากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคดำเนินกิจกรรมร่วมกันกับกรุงเทพมหานครในระดับนโยบายให้เด่นัดมากขึ้น ประโยชน์ก็จะได้แก่ผู้บริโภคโดยรวม3. กิจกรรมของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หากจะกระจายไปสู่ชุมชนในแต่ละเขตใน กทม. ก็น่าจะเป็นการเสริมบทบาทของ สคบ. มากยิ่งขึ้น  ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความร่วมมือในระดับนโยบายของกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย4. การดำเนินงานของส่วนกลางหรือท้องถิ่นต่าง ๆ นอกจากจะมีระบบฐานข้อมูลเดียวกันแล้ว ยังมีระบบ Monitor ในการเป็นฐานขยายการดำเนินงานในแต่ละเรื่องอีกด้วย ---------------- 
หมายเลขบันทึก: 149067เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2007 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท