เป็นวิทยากรเว็บบล็อกและการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ที่ม.รังสิตค่ะ


ดิฉันเคยทะเลาะกับสามีว่าตายแล้วเกิดหรือไม่เกิดจนตีหนึ่งตีสอง

24-11-50

ในเสาร์ที่17-11-50     ดิฉันได้รับเชิญจากอาจารย์อ้อที่ สคส.ให้ไปเป็นวิทยากรที่มหาวิทยาลัยรังสิต

หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง

  1. วิชา SBP 716 :  การจัดการภูมิปัญญาสำหรับผู้นำและองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้                                       (3 หน่วยกิต)2. ระยะเวลา  (ทั้งสิ้น 45 ชั่วโมง  ทุกวันเสาร์  ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 3 พ.ย. 2550 ม.ค. 2551  รวม 8 สัปดาห์)3. การประเมินผล   เป้าหมายของหลักสูตร1.    เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจหลักการ หัวใจ ของการจัดการความรู้ และสามารถนำไปต่อยอด   ปรับใช้ได้กับตนเอง ในการทำงาน และองค์กร2.    นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิควิธีการใช้การจัดการความรู้  ในการทำงาน  การบริหารและการเป็นผู้นำพัฒนาการเปลี่ยนแปลง จากผู้มีประสบการณ์จริง    จากนักศึกษาด้วยกันเอง   และจากเครือข่ายการเรียนรู้ภายนอกในเวทีเสมือน (Gotoknow.org)
  1. นักศึกษาสามารถสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หลากหลายออกไปภายนอก โดยใช้  ICT
  2. นักศึกษามีทักษะในการเรียนรู้ (Learning Skill) และสามารถนำทักษะการเรียนรู้ไปพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลเรียนรู้ตลอดเวลา (Learning Person) เพื่อนำการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
  3. นักศึกษาสามารถเผยแพร่ แก่นของการจัดการความรู้  ไปสู่กลุ่ม ชุมชน  หน่วยงาน/ องค์กร ที่นักศึกษาทำงานหรือเกี่ยวข้องอยู่   เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน  สร้างความดี และพัฒนาสังคมต่อไป
  หมายเหตุ : เงื่อนไขความสำเร็จตามเป้าหมายหลักสูตรวิชา                      เนื่องจากวิชานี้มีแผนการเรียนการสอนที่ต้องอาศัยการเรียนรู้แบบ Group Process หรือ เรียนรู้ด้วยกันแบบเป็นกลุ่มมาก   ซึ่งต้องอาศัยการเอาใจใส่ และวินัยของนักศึกษาในการเรียนรู้ร่วมกันสูง จึงจะสามารถบรรลุผลตามเป้าหมายของหลักสูตรที่ร่างไว้ได้    ดังนั้นหากนักศึกษาไม่พร้อม มีเงื่อนไขเรื่องเวลา  หรือไม่สามารถเข้าร่วมเรียนรู้ได้ทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง  การเรียนรู้ของกลุ่มก็จะได้น้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้   ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้เพียงหลักการ ความรู้จากทฤษฎี และจากตัวอย่างได้เพียงบางส่วน (แต่ไม่ถึงกับบรรลุตามเป้าหมายทั้ง 5 ข้อ)   

 ดิฉันดีใจมากค่ะและรีบตอบรับทันที

ดิฉันไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเขียนเก่งนะคะเพราะป่านนี้ดิฉันยังใส่รูปไม่เป็นค่ะ

ดิฉันภาคภูมิใจเพราะอ.อ้อ อยากให้ผู้บริหารใช้KMและใช้บล็อกให้เป็นประโยชน์ค่ะ

ดิฉันอ่านและเรียนKMส่วนใหญ่จากการอ่านบล็อก อาจารย์วิจารณ์และอาจารย์ประพนธ์ จาก สคส.สอนเป็นส่วนใหญ่ทำให้รู้สึกว่ามีประโยชน์มากๆถ้าในองค์กรมีการใช้อย่างจริงจังค่ะ       อาจารย์อ้อสอนทฤษฎีช่วงเช้า     ดิฉันเล่าเรื่องช่วงบ่าย   เป็นเรื่องของตัวดิฉันเองว่าทำไมจึงชอบเขียน   ของหนูเล็กซึ่งเขียนจนได้รางวัลแต่ก็หยุดเขียน     บล็อกของปิ่ง ขวัญ จันทร์เมามายทำไมยังเขียนต่อทำไมไม่เขียนต่อ 

หัวข้อที่ให้พูดทีต้องการนำเสนอจริงๆคือคือแรงบันดาลใจที่เริ่มทำบล็อก ค่ะ 

อ.อ้อบอกว่ามันยากตรงการเริ่มต้นค่ะ

หลังจากสอนแล้วนักเรียนสนใจดีค่ะ   มีคำถามมากจนเกินเวลาเรียน

 ขอยกตัวอย่างคำถามที่จำได้ค่ะ

1บล็อกมีความสำคัญในKM   ในต่างจังหวัดที่ไม่มีไอทีสามารถทำKMได้ไหม ( ขอไม่ตอบเพราะผู้อ่านคงตอบได้ทุกคน  )

2 การประเมินประโยชน์ของการใช้บล็อก  ( ดิฉันตอบว่าเป็นวัฒนธรรมองค์กรและinnovationค่ะ  )

3อยากทราบประโยชน์จริงๆของการใช้บล็อก( ??  )

4ทำไมต้องไปสนใจเครื่องมือKMที่ฝรั่งคิด    สิ่งดีๆในสังคมไทยเช่น สุ จิ ปุ ลิที่ทำให้เราทำงานมีประสิทธิภาพ     คนไทยลืมไปแล้วหรือจ๊ะ     

     มีนักศึกษาบางคนก็มีความเห็นไม่ตรงกันให้ดิฉันเห็นกันในระหว่างที่สอนและหยุดพัก       

เป็นเรื่องการสวดมนต์บทต่างๆซึ่งดิฉันก็เคยเห็นด้วยในใจว่าบทสวดมาตรฐานไม่ค่อยมีคนสนใจ  

 แต่ดิฉันพยายามมองให้เป็นเครื่องมือให้ใจสงบ     สวดบทใหนคงเหมือนกันถ้าสวดแล้วฟุ้งซ่านไม่ฟังคนอื่นที่คิดต่างจากเรา 

KMน่าจะเป็นเรื่องที่ดิฉันว่าเราจะรู้จักการฟังมากที่สุด

ฟังนักศึกษาคุยกันแล้ว   ศาสนายังคงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะมาเสวนากันเพราะขัดแย้งง่ายมาก

ดิฉันเคยทะเลาะกับสามีว่าตายแล้วเกิดหรือไม่เกิดจนตีหนึ่งตีสองและเพลียจากการเถียงกันจนหลับไปทั้งคู่   (ยังดีนะคะ เราไม่ได้บอกว่าอยากรู้ก็ลองตายดูซิเธอ   )

หลังจากนั้นดิฉันอ่านหนังสือธรรมมะแล้วเริ่มฝึกดูจิต

ขณะนี้เราคิดเหมือนกันแล้วค่ะ    แต่ไม่บอกว่าเราเชื่ออย่างไรค่ะ (เกรงว่าจะเชื่อไม่เหมือนกันค่ะ   )

ขอบคุณม.รังสิตที่ให้โอกาสดิฉันไปเล่าเรื่องในสถาบันค่ะ

ขอบคุณหมอประยงค์เพื่อนหมอชัยพรเจ้าของหลักสูตรที่ให้โอกาส

ดิฉันบริจาคค่าวิทยากรบางส่วนให้น้องๆที่ไปเด่นชัยด้วยกันในวันอาทิตย์เพราะเอาเรื่องของเจ้าหน้าที่เราไปเล่าให้นักศึกษาฟังค่ะ

ข้อมูลที่ได้จากอาจารย์อ้อ   สรุป  จำนวนนักศึกษาปริญญาเอก (จำแนกตามอาชีพ)

   1)  ภาครัฐ  รัฐวิสาหกิจ  และองค์กรในกำกับ             7              คน         

   2)  อาจารย์มหาวิทยาลัย                                                                     5            คน                                                                                                           

   3)  ธุรกิจภาคเอกชน                                                                        24           คน                                                         

                                   4)  อาชีพอิสระและอื่น ๆ                                                               3              คน

 

ข้อมูลที่นำเสนอในส่วนของแรงบันดาลใจในการเขียนบล็อกค่ะ

ลูกชายชักชวน เริ่มใช้เดือนมกราคม2549  
อยากสื่อสารถึงผู้ใต้บังคับบัญชาว่าเราคิดอย่างไร และเล่าเรื่องราวขอกิจกรรมKMในสถาบัน
เป็นกลยุทธ์ในการรับทราบข้อมูลจากผู้ใต้บังคับบัญชา
ภาพลักษณ์ดูทันสมัย
อยากได้HA
เป็นตัวชี้วัดระบบคุณภาพ โดยให้
  คนที่เป็น ITเลขาหน้าห้อง เขียนให้
 และอยากบันทึกส่วนที่อยากเก็บไว้เช่น กิจกรรมต่างๆ, แนวคิดและนโยบายค่ะ
หมายเลขบันทึก: 148899เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2007 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณค่ะ รู้สึกเป็นปลื้มจริงๆ

ยังยืนยันว่าเขียนบล๊อคด้วยใจค่ะ ช่วงแรกๆไม่ได้คาดหวังอะไรมาก เป็นการทบทวน/จัดการความรู้ความประทับใจในงานรวมทั้งการดำเนินชีวิตประจำวันด้วยค่ะ  แต่พอเขียนไปเรื่อยๆยิ่งเห็นประโยชน์ รู้สึกว่าตัวเองมีพัฒนาการในการเขียนมากขึ้นค่ะ   นึกถึงประโยชน์ต่อตนเองและคนอ่านมากขึ้น 

ขอบคุณปิ่งค่ะ   อจ. อ้อชมสถาบันเราว่าถึงแม้ผอ.ไม่ได้แจกรางวัลให้        แต่พวกเรายังมีการใช้เรื่อยๆซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีค่ะ

อ่านแล้วอดยิ้มนึกถึงความหลังไม่ได้ขอรับ
เห็นคำถามห้าข้อแล้วอยากตอบมาก ถือโอกาสตอบเลยนะขอรับ

  1. บล็อกมีความสำคัญในKM   ในต่างจังหวัดที่ไม่มีไอทีสามารถทำKMได้ไหม
    ได้ครับ เพราะไอทีเป็นแค่เครื่องมือช่วยสื่อสารอย่างหนึ่ง ถึงไม่มีเราก็สื่อด้วยวิธีอื่นได้ครับแต่ประสิทธิภาพอาจไม่ดีเท่า
  2. การประเมินประโยชน์ของการใช้บล็อก  ( ดิฉันตอบว่าเป็นวัฒนธรรมองค์กรและinnovationค่ะ  )
    ข้อนี้ ถ้าพูดถึงระดับองค์กรผมขอข้ามครับเพราะไม่รู้ แหะๆ
  3. อยากทราบประโยชน์จริงๆของการใช้บล็อก( ??  )
    ผมคิดว่าหมายถึงประโยชน์แบบส่วนตัวผู้ทำเองครับ ผมมองว่า
    1.บล็อกเป็นเครื่องมือสื่อสารกับตัวเองและผู้อื่น 2. เครื่องมือบันทึกและรวบรวมความคิดเช่นเดียวกับไดอารี่ แต่ดีกว่าตรงที่สามารถรวบรวม ค้นหาได้ง่ายเพราะมีการจัดหมวดหมู่ที่ดีและใช้โปรแกรมในการช่วยหา สามารถดึงข้อมูลหรือความรู้ที่บันทึกมาใช้ได้ มีประโยชน์มากตรงนี้เพราะมนุษย์เราขี้ลืมครับโดยเฉพาะผมทำให้ผมต้องมาอ่านบันทึกตัวเองบ่อยครั้งเหมือนกัน นอกจากนี้การพิมพ์หรือเขียนจะช่วยให้เราตกผลึกความคิดได้ง่ายขึ้นกว่าการนั่งคิดอย่างเดียวและจะยิ่งตกดีขึ้นถ้าเรานำไปทำ หึๆ
  4. ทำไมต้องไปสนใจเครื่องมือKMที่ฝรั่งคิด    สิ่งดีๆในสังคมไทยเช่น สุ จิ ปุ ลิที่ทำให้เราทำงานมีประสิทธิภาพ     คนไทยลืมไปแล้วหรือจ๊ะ  
    โห ข้อนี้โดนใจผมมาก จริงๆ ไม่ได้ลืมครับแต่กลายเป็นไม่รู้จักมากกว่า ผมเพิ่งจะรู้ความหมายชัดๆ ของ สุจิปุลิ ก็เมื่อไปอบรม KM นี่เอง (แถมหลายคนนึกว่ารู้แล้วแต่จริงๆ ยังไม่เข้าถึงความหมายที่ซ่อนนัยไว้เหมือนผมเมื่อก่อน)

เรื่องศาสนาผมเองก็เถียงกับเพื่อนบ่อยเหมือนกันแต่ สนุกดีครับเพราะผมกับเพื่อนเองไม่ได้เคร่งมาก ตอนนั้นก็เถียงกันแบบงูๆ ปลาๆ ครับ เรื่องตายแล้วไปไหนเองก็จบโดยที่ไร้ข้อพิสูจน์เพราะเรื่องนี้จะให้พิสูจน์ด้วยตัวเองก็ยังไม่กล้า อิอิ
แต่เรื่องนี้สำคัญมากเหมือนกันนะครับ เพราะคิดดูว่า ถ้าบอกว่าตายแล้วจบกัน ผม(ในตอนนั้น)ก็จะคิดว่าต้องแสวงหาความสุขเข้าตัวให้มากที่สุด จะทำชั่วมั่งก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเชื่อเรื่องเกิดใหม่ก็จะมองอีกเป้าว่าเราต้องหลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิดมารับผลกรรมจากบาปที่เราทำในชาตินี้และชาติก่อนๆ
ความคิดเปลี่ยน เป้าหมายเปลี่ยน พฤติกรรมเปลี่ยน
ทุกอย่างมันไปด้วยกันเลยครับ

ทุกวันนี้ผมก็ยังไม่ปักใจเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิดมากแต่ก็ไม่เถียงครับเพราะเรื่องนี้พิสูจน์กันยาก
เป้าหมายเลยยังอยู่ที่ความสุขชาตินี้และความสุขของลูกหลานเราต่อไป...ดังที่ในหลวงทำครับ

ลืมตอบเรื่องเขียนต่อ ไม่เขียนต่อ

เป็นไปตามที่พี่ปิ่งพูดเลยครับ คือ เห็นประโยชน์ของตนเองและคนอื่น

โดยมากผมจะอ่านกอบโกยความรู้มากกว่าจะมาถ่ายทอดเองเพราะคิดว่าตัวเองรู้น้อยต้องหมั่นอ่านเข้าไว้และปัจจัยอีกอย่าง คือ ใช้เวลาเขียนนานครับ กว่าจะสร้างแรงบันดาลใจได้ต้องปลุกอารมณ์อยู่พอควร บันทึกหนึ่งๆ ผมต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมงในการพิมพ์ จากนั้นมาลบบ้างแต่งบ้างอีกครึ่งชั่วโมง สรุปเงื่อนไขคือ

  • ต้องอยู่ในห้องพักเงียบๆ ไม่มีใครรบกวน
  • มีเวลาสักหนึ่งชั่วโมง
  • ไม่มีงานอื่นมาเป็นภาระขณะนั้น
  • มีสมาธิดี ไม่เหนื่อย(กายและใจ)หรือง่วง
  • ไม่มีสิ่งจูงใจอื่นมาทำให้เขวไปทำอย่างอื่นแทน (ข้อนี้ยากครับ)

หลังๆ ขนาดจะทิ้งร่องรอยการมาอ่านยังขี้เกียจเลยครับเพราะแค่อ่านก็แทบอ่านไม่ไหวแล้ว แหะๆ

ขอบคุณที่เข้ามาติดตามและทำให้หมอนึกถึงความหลังและเป็นสุขกับความดีที่น้องๆทำให้สถาบันค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท