กองล่อ (1) : สงครามน้ำลายยั่วศึก


กองล่อในสงครามน้ำลายในสงครามประชาธิปไตยที่เราเห็นยุคนี้ เห็นได้ดิบได้ดีเป็นถึงเสนาบดีหรือตำแหน่งที่มีอำนาจตรงและแฝงอื่น ๆ มากมาย...

            การต่อสู้ตามแบบประชาธิไตยไทย ๆ ระยะไม่กี่ปีมานี้  เราจะเห็นบทบาทของผู้ที่อาสามาเป็น หัวหมู่ทะลวงฟัน  ทำหน้าที่  ยั่วยุ  เยาะเย้ย  สบประมาทฝ่ายตรงกันข้าม  หรือออกมาพูดสร้างกระแสให้นายของตนเอง  พร้อมให้ร้ายฝ่ายตรงข้าม  จนถือเป็นเรื่องปกติในการต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามไปแล้ว

หน้าที่อย่างนี้คล้ายกับพวกลิ่วล้อในหนังจีน..   หรือพวกลูกสมุนขุนพลอยพยักในหนังบู๊ไทยโบราณ   

ลักษณะดังกล่าวในวรรณคดีไทย  ในบันทึกพงศาวดารมอญ  ซึ่งรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) และกวีราชสำนักอีก 3 ท่านเรียบเรียงในชื่อ ราชาธิราช เรียกกองทหารหน่วยด่ายั่วยุข้าศึกนี้ว่า กองล่อ

        ไม่ว่าในงานวรรณกรรมหรือการต่อสู้ทางการเมืองปัจจุบัน กองล่อ มีบทบาทไม่น้อย  ถึงคนละแบบ  คนละยุคสมัยกัน  แต่ กองล่อ ก็สร้างสีสันทั้งในงานวรรณกรรม  ในประวัติศาสตร์  มาจนถึงยุคสงครามเย็นของโลก  การยั่วยุเชิงคำพูด หรือที่เรียกกันว่า สงครามนำลาย  จึงเป็นที่คุ้นเคยกันดีในวงการข่าวสาร  การโฆษณาชวนเชื่อ

        บทบาทของ กองล่อ  ในประวัติศาสตร์และวรรณคดีพงศาวดารบางเรื่อง  ที่พอจะพบบ้างบางส่วน  เช่น       

        พงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราช   ตอนสมิงพ่อเพชรแม่ทัพใหญ่ของพระเจ้าราชาธิราช  คิดกลอุบายให้พม่าเข้ามารบในแม่น้ำปันเกลาะ  เพื่อให้น้ำทะเลหนุนขึ้นมาทำให้ทหารพม่าจมน้ำทั้งกองทัพ  คำพูดด่าทอยั่วยุศึกระหว่างทหารกองล่อมอญ  และทหารไทยใหญ่ (กองหน้าของพม่า : ครูชา)โต้ตอบกันไปมาว่า         

        อ้ายไทยใหญ่  อ้ายขี้ข้าพม่า  มึงยกมาตีมอญแล้วทำไมจึงมุดหัวอยู่ในค่ายเล่า  ให้พวกมึงเร่งออกมารบกับกู  กูจะตัดศีรษะให้สิ้นบัดเดี๋ยวนี้       

        อ้ายมอญ  แต่ก่อนพวกมึงก็เป็นขี้ข้าพม่า  แล้วไปเป็นขี้ข้าไทยน้อย (ไทยสยาม : ครูชา) อ้ายหน้าซื่อใจคดทรยศต่อเจ้า  กูรู้อยู่ว่าในท้องของพวกมึง  มีเคียวเจ็ดเล่ม  มีเข็มเจ็ดอัน  กูจะรบฟาดฟันผ่าอกเอาเคียวในท้องออกตัดคอพวกมึงเสียให้สิ้น       

        อ้ายไทยใหญ่  อ้ายเดนตายพม่า  พม่าให้พวกมึงเป็นกองหน้าเป็นทัพผี  พวกมึงจะตายก่อนไม่ได้ฆ่ามอญ  มอญจะแหวกท้องออกเอาเคียวเกี่ยวตัดศีรษะพวกมึง  ข้ามน้ำมาให้สิ้นประเดี๋ยวนี้       

         อ้ายมอญ  พวกกูไม่สู้ฝีปากพวกมึงแล้ว  ถึงมึงจะประดิษฐ์คำด่าก็ไม่เจ็บเหมือนไม้ขว้าง  กูจะเอาอาวุธออกขว้างพวกมึงให้เห็นฝีมือบัดนี้       

         ไม่มีใครรับรองได้ว่าในประวัติศาสตร์ "กองล่อ" ทหารมอญ และทหารไทยใหญ่ของพม่า  ซึ่งร้องด่ายั่วยุกันนี้  จริงแล้วจะว่ากันอย่างไรบ้าง  แต่อรรถรสที่ท่านเจ้าพระยาพระคลัง (หน) และกวีราชสำนักเรียบเรียงไว้  ช่างมีนัยแฝงที่แสดงอะไรได้หลายอย่าง  อ่านเอาสนุก ก็สนุก  เอาประวัติศาสตร์ก็ได้สาระ  และอรรถรสอื่น ๆ ...

        ทั้งนี้ทหารที่ทำหน้าที่กองล่อด่าทอยั่วศึกนี้น่าจะเป็นทุกข์  ไม่สนุกเอามากนะครับ  เพราะพอฝ่ายถูกยั่วยุโมโหได้ที่  ถ้าไม่โดนพลธนูฝ่ายโมโหยิงก่อน  ก็ต้องชักดาบออกรบก่อน  เจ็บก่อนตายก่อนกองอื่นอยู่ดี..

         ไม่เหมือนกองล่อในสงครามน้ำลายในสงครามประชาธิปไตยที่เราเห็นยุคนี้  เห็นได้ดิบได้ดีเป็นถึงเสนาบดีหรือตำแหน่งที่มีอำนาจตรงและแฝงอื่น ๆ มากมาย...

              (บันทึกหน้าพบกับ กองล่อ  แบบวรรณกรรม-ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอีสานครับ)

หมายเลขบันทึก: 148773เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2007 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สวัสดีค่ะ ครูชา
  • ถึงเวลาลั่นกลองรบอีกแล้วค่ะ
  • เมื่อกี้ก็บุกมาถึงในห้องตกใจ..บอกขอสักคะแนน..จะบอกว่าไม่ใช่คนแถวนี้ก็กลัวเขาหน้าแตก..ฮ่าๆ
  • ถึงเวลาหาเสียงแบบปูพรหมอีกแล้ว
  • น่าแปลกนะคะครู พวกหัวหมู่ทะลวงฟัน..บ้าน้ำลายพวกนี่ทำไมได้ดิบได้ดีกันทุกคน
  • ขอบคุณที่แวะไปฟังเพลงที่บันทึกค่ะ
  • ที่จริงกำลังเขียนเรื่องที่เกี่ยวกับอากาศยานอยู่
  • อิอิ..เรียกซะหรูแล้วเพลงนี้เข้าบรรยากาศมาก
  • ยินดีที่ได้รู้จักศิลปินตัวจริงค่ะ
  • ขอบคุณ คุณP   naree suwan  บันทึกท่านน่าอ่านมากครับ 
  • ตื่นเต้นกับฉากหลังรูปภาพอีกต่างหากครับ
  • ครูชา มิกล้าเป็นศิลปินหรอกครับ... ชอบและสนใจมีส่วนร่วมบางกิจกรรม  มากกว่าครับผม

สวัสดีครับครูชา

ผมเบื่อการเมืองก็เรื่องพวกนี้แหละครับ เอาเรื่องไม่จริงไปใส่ร้ายป้ายสีคนอื่นบ้าง กล่าวถ้อยคำยั่วยุอีกฝ่ายหนึ่งให้ออกมาตอบโต้บ้าง เพื่อให้เป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์หรือสื่อต่างๆ จะได้มีคนสนใจพรรคของตัว  ไม่เคยคิดว่าจะพัฒนารูปแบบการหาเสียงเลย กี่ปีกี่ชาติก็ทำกันแบบนี้ทุกทีน่ารำคาญมาก

แล้วพวกกองล่อเนี่ยก็มักจะถูกล่อเสียดิ้นมานักต่อนักแล้ว เฮอะๆๆ

สวัสดีครับท่านอัยการ

  • กองล่อซึ่งเป็นทหารผู้น้อยที่ถูกให้ใช้วาทศิลป์ไปร้อง/รำยั่วยุศึก  ในสงครามโบราณ  น่าสงสาร น่าเห็นใจ เป็นบรรพชนผู้เสียสละต่อบ้านเมืองเราป็นอย่างยิ่ง 
  • ส่วนกองล่อทางการเมืองปัจจุบัน  ก็เป็นดั่งที่เรารู้ ๆ กันนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

    มันมีกองล่อ กองหลอย

    วันหลังเขียนเรื่อง กองหลอย ด้วยนะครับ

     จะติดตามอ่าน ครับ

  • ครับลุงวอ  ผมจะลองรวบรวม กองหลอย ดู
  • แต่...เอ...หลอยแบบโบราณ  หรือหลอยร่วมสมัยหนอ..
  • ขอบคุณครับ

 

   แหม ท่าน ผอ.  จะหลอยแบบไหนก็เอาเถอะครับ อยากอ่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท