ลงแขกเกี่ยวข้าว วัฒนธรรมการพึ่งพาของคนชนบท ฤาจะหมดไป


ช่วงนี้คนหนุ่มสาว คนวัยกลางคน คนผู้สูงอายุ ก็จะได้ช่วยกันดำเนินกิจกรรมออกแรงงาน เอื้อเฟื้อแรงงาน ช่วยกันเกี่ยวข้าว ซึ่งเรียกว่า การลงแขกเกี่ยวข้าว

ลงแขกเกี่ยวข้าว วัฒนธรรมการพึ่งพาของคนชนบท ฤาจะหมดไป 

อิศรา ประชาไท  

เมื่อวันวานที่ผ่านมา(15 พ.ย.50) ผมมีโอกาสไปทำธุระที่ขอนแก่น ขับรถไปกับนายสิงห์ ลูกศิษย์ก้นกุฏิ ซึ่งอีกไม่ถึงเทอมก็คงจะจบเป็นบัณฑิตทางสถิติ ถามกันอยู่ว่า จบแล้วจะไปทำอะไร ผมเลยตอบว่า บัณฑิตสาขาทางนี้ไม่อึดหรอกงาน ทำอะไรได้หลายอย่างอยู่ เป็นครูสอนเด็กก็ได้ เป็นพนักงานในมหาวิทยาลัยก็ได้ บริษัท ร้านค้า ก็ได้ อบต.  ก็ได้ สำคัญว่า อยากทำมีจิตสำนึกที่จะทำกับภารกิจนั้นหรือเปล่า ถ้าไม่อยากทำงาน ราชการ หรือเอกชน ที่บ้านมีไร่นา มั้ย กลับไปทำไร่ทำนาที่บ้าน ก็ไม่เห็นแปลก ชาวนาระดับปริญญาตรี น่าจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำนาทั้งในแง่การจัดการและกระบวนการผลิต อาจดีกว่าเดิม จริงมั้ย 

 

ป้านารีกำลังเกี่ยวข้าวเพื่อไว้ทำพันธุ์  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">          </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมจึงชี้ให้เห็นสองข้างทางที่เราเดินทางไปขอนแก่นจากมหาสารคามมุ่งไปกันทรวิชัยผ่านทุ่งนาสองข้างทาง  ข้าวกำลังออกรวง สุกเหลืองอร่าม กำลังเตรียมรอการเก็บเกี่ยวจากชาวนา แต่ก็น่าเสียดายว่า แรงงานในหมู่บ้านลดน้อยลง น้อยลงมาก เพราะส่วนหนึ่งออกไปทำงานต่างถิ่น  โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว  แทบจะนับคนได้ เหลือแต่พ่อใหญ่แม่ใหญ่ และ คนรุ่นกลางคน ข้าวจึงรอการเก็บเกี่ยว ซึ่งแต่เดิมในช่วงนี้คนหนุ่มสาว คนวัยกลางคน คนผู้สูงอายุ ก็จะได้ช่วยกันดำเนินกิจกรรมออกแรงงาน เอื้อเฟื้อแรงงาน ช่วยกันเกี่ยวข้าว ซึ่งเรียกว่า การลงแขกเกี่ยวข้าว ผู้คนก็ได้ช่วยเหลือกัน เปลี่ยนกันไปช่วยนาคนโน้น นาคนนี้ จนหมดหมู่บ้าน ฝ่ายเจ้าของนาก็ดูแลเรื่องข้าวปลาอาหาร ถ้อยทีถ้อยอาศัย เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ทำให้ความผูกพันในชุมชนแน่นแฟ้นสามัคคีกันยิ่ง แต่ตอนนี้คงหาดูยากลำบากมาก เพราะคนในชุมชนก็น้อยลง ต้องดำเนินการโดยการจ้าง เพียงอย่างเดียว การวานเหมือนอดีต แทบไม่มีแล้ว เพราะไม่มีคนให้วาน คนที่จะวานไปอยู่กรุงเทพฯหมด การทำนาจึงใช้ เงิน เข้ามาเกี่ยวของ ตั้งแต่ การซื้อกล้า  การไถ การจ้างปักดำ  บางครอบครัวครอบครัวใหญ่หน่อยพี่น้องเยอะ ก็อาจแบ่งให้ญาติที่ไม่มีที่นามาทำให้แล้วแบ่งข้าวหลังจากเก็บเกี่ยวกันตามแต่ตกลง เช่น เจ้าของนา หนึ่งส่วน คนทำ หนึ่งส่วน หรือ เจ้าของสองส่วน คนทำ หนึ่งส่วน ปุ๋ยและอุปกรณ์เสริม เป็นของเจ้าของนาออกทั้งหมด สุดแล้วแต่จะตกลงกันในหมู่ญาติ  เงินที่จะนำมาจ้างก็ส่วนใหญ่จะถูกส่งลงมาจากคนที่ไปทำงานในกรุงเทพฯ เพื่อแบ่งเบาภาระพ่อแม่ ครั้นถึงเวลากลับมาบ้านหน้าเทศกาลก็จะกลับมา เมื่อถึงเวลาลงกรุงเทพฯใหม่ ข้าวใหม่สองสามถุงปุ๋ย โดยเฉพาะข้าวเหนียวก็จะถูกลำเลียงใส่รถลงไปกรุงเทพฯเพื่อเป็นเสบียงของหนุ่มสาวที่กรุงเทพฯต่อไป  ก็เป็นอย่างนี้ทุกปี ทุกครอบครัวก็ทำอย่างนี้ คนอีสานไปไหนถึงอยู่ได้ตามอัตภาพ ขอให้มีข้าวทานมีปลาร้าบอง มีผักจิ้มแจ่วบอง ก็เกินพอสำหรับอาหารมื้อธรรมดา ๆ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>ตากข้าวต้องให้ได้ 3 แดด น้อยกว่าหรือมากกว่าก็ไม่ดี  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">          </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สมัยผมเรียนที่ประสานมิตร ผมกลับมาเยี่ยมบ้านตอนปิดเทอม เมื่อลงไปกรุงเทพฯ เที่ยวใหม่ ก็จะเอาข้าวจ้าวสีใหม่ ซึ่งแม่เตรียมไว้ให้ แรก ๆ ก็อิดออดไม่อยากเอาไป เพราะใส่ถุงปุ๋ย ขึ้นบนรถเมล์ ด้วยความอายเพราะกำลังเป็นหนุ่ม ก็เลยหาวิธีเอาข้าว โดยเอาถุงปุ๋ยใส่ข้าวแล้วใส่เป้หรือกระเป๋าอีกชั้นหนึ่ง  ทำให้ไม่รู้ว่าในเป้หรือในกระเป๋ามีข้าว พอกลับมาคิดถึงวันนี้ บอกได้คำเดียวว่า ไม่เข้าท่า เพราะ อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับเสบียงอาหาร ที่พ่อแม่หาให้ ใส่อะไรไปขอให้แข็งแรงคงทน ไม่ต้องกลัวอาย เพราะถ้าอายเราก็อด ที่สำคัญ การเอาข้าวไปหุงทานและซื้อแต่กับข้าว ลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมากเลยที่เดียวสำหรับคนต่างจังหวัดกับสภาพเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ร่องรอยของการเกี่ยวข้าวด้วยรถยนต์เกี่ยวข้าวคือนวัตกรรมใหม่ในท้องนาภาคอีสาน         </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เมื่อเงินเป็นตัวกำหนดให้ชีวิตต้องดิ้นรน คนจึงต้องไปทำงานเพื่อหาเงิน การหาอยู่หากินจึงเปลี่ยนแปลงไป หนุ่มสาวไปหาเงินในกรุงเทพฯ คนเฒ่าคนแก่ก็อยู่บ้านเพื่อดูแลครอบครัวและผลผลิตแทน กิจกรรมใดที่ทำได้ก็ทำด้วยตนเอง กิจกรรมใดที่ทำไม่ได้ก็ต้องไหว้วาน ซึ่งหากไม่มีก็ต้องจ้างวาน เป็นเรื่อง ๆ ไป  เมื่อกำลังคนไม่มี  วัฒนธรรมที่เกิดจากการไหว้วานด้วยแรงคน เช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว ก็หายไปเช่นกัน เดียวนี้จึงเกิดอาชีพใหม่ในฤดูเก็บเกี่ยวก็คือ การรับจ้างเกี่ยวข้าวด้วยรถเกี่ยวข้าว ถ้าว่าพัฒนาก็ต้องถือว่าพัฒนา ถ้าถามว่าดีมั้ย แน่นอนสะดวกขึ้น สบายขึ้น ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา เหมาะกับชาวไร่ชาวนาที่ไม่มีกำลังแรงงานคน แต่ต้องจ่ายเงิน ถ้าไม่มีเงิน หรือไม่มีลูกหลานไปทำงานที่กรุงเทพ ฯ ก็ลำบากขึ้น นอกจากจะมีรถเกี่ยวข้าว รถไถนา แล้ว ก็ยังมีรถสีข้าวอีก สะดวกมาก ๆ แต่จ่ายเงิน ถูกแพงก็พิจารณาขนาดของนา และความยากง่ายในการเก็บเกี่ยว เช่น ลักษณะ ของที่นา ใหญ่ เล็ก มีน้ำไม่มีน้ำ ประเภท ชนิดของข้าว ซึ่งเมื่อตกลงกันก็ดำเนินการเก็บเกี่ยวไป</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>กี่วันจะเสร็จ กี่วันจะแล้ว แรงงานมีแค่ผู้เฒ่า 2 เฒ่า ลูกหลานลงกรุงเทพฯเหมิด           </p><p>ผมดูนาข้างทางก็เห็นเป็นเช่นเดียวกัน มีร่องรอยของรถเกี่ยวข้าวเก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว เห็นคุณป้าคนหนึ่งกำลังเกี่ยวข้าวอยู่ ก็เลยจอดรถข้างทางแล้วลงไปถามเลย ได้ความว่า คุณป้าคนนี้ ชื่อ คุณป้านารี จันทะสาน อายุ 58 ปี บ้านอยู่บ้านหนองอุ่ม ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย มีนา 15 ไร่ ปลูกข้าวเหนียว 3 ไร่ เอาไว้กินเอง ปลูกข้าวจ้าว 9 ไร่ ข้าวเหนียว ปลูกข้าว กข 6 ข้าวเจ้าปลูก ข้าวเจ้าใหญ่หอมมะลิ เอาไว้ขายเส่วนใหญ่  นาแถวนี้น้ำมาก จ้างคนเกี่ยวไม่คุ้ม สู้ใช้รถเกี่ยวไม่ได้ ที่สำคัญก็คือ แรงงานในบ้านแต่ละบ้านไม่มีแล้ว ลูกหลานลงไปทำงานที่กรุงเทพฯกันหมด ก็เลยจ้างรถเกี่ยวข้าว แต่ที่ป้ากำลังเกี่ยวนี้ ไม่ใช้รถช่วย ก็เพื่อเก็บไว้ทำพันธุ์ ส่วนนาแปลงอื่นใช้รถหมด  ผมถามว่า ไม่มีการลงแขกแล้วเหรอเดียวนี้ คุณป้าก็บอกว่า มีเป็นบางครอบครัวที่มีคนเยอะ แต่ตอนนี้เด็ก ๆ ไปทำงานกรุงเทพฯหมด หาแรงงานวานกันไม่มีแล้ว ก็ต้องใช้รถเกี่ยวนี้แหละ ก็ทำให้เสร็จไว แต่ต้องเสียเงิน ข้าวที่ได้ก็ขาย ส่วนใหญ่ก็เป็นข้าวเจ้า ส่วนข้าวเหนียวเก็บไว้กินเอง  ผมมองท้องไร่ท้องนาแล้วก็เป็นอย่างป้านารีว่า คือ ไร้ผู้คน ลงแขกเหมือนเดิม มีชาวนา คนสองคน ในแปลงนาแต่ละแปลงกำลังเก็บเกี่ยว ก็คงเป็นต้นกล้าพันธุ์เหมือนกัน ส่วนข้าง ๆ รอยรถเกี่ยวข้าว  เคลียรพื้นที่ไปเรียบร้อยแล้ว มองเห็นเป็นทางยาวไปตามท้องนาดูแปลกตาดี   เทคโนโลยีพื้นบ้านกับเทคโนโลยีของการเกษตรแบบใหม่ แบบทันสมัย เริ่มปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมกันแล้ว น่าดูมาก  เทคโนโลยีพื้นบ้าน ก็คือ การเกี่ยวด้วยมือ การตากข้าว 3 แดด เพื่อไล่ความชื้นก็ยังคงมีให้เห็น การตีข้าว การนวดข้าว ก็มองไปรอบ ๆ ก็ยังเห็น และพร้อมนั่นก็เห็นรถเกี่ยวข้าวเห็นรถนวดข้าว เห็นรถไถแบบใหม่ของคูโบต้า ควายและวัวก็ยังมีหากินในทุ่งนาอยู่  ก็สวยงามดี บ้านชาวนาก็หลังใหญ่ขึ้น รถปิคอัฟก็จำเป็น มอเตอร์ไซด์ก็จำเป็น เห็นแล้วก็ออนซอนชาวบ้านชาวไร่ชาวนาว่า ดำรงชีวิตในสังคมแบบทุนนิยมได้อย่างกล้าหาญ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จริง ๆ   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">บ่อปลา  ส่างปลา ภูมิปัญญาการปรับตัวให้ดำรงวัฒนธรรมหาอยู่หากินในท้องถิ่นอีสานได้อย่างชาญฉลาด</p><p>          </p><p>เดินไปอีกหน่อยเห็น บ่อน้ำเล็ก ๆ ข้างนา น้ำยังเต็มเปี่ยมในบ่อ บ่อนี้ไม่ใหญ่แต่ก็กว้างอยู่ อาจเกิดจากการขายดินให้รถเอาไปถมที่ในเมือง หรือเป็นบ่อดั้งเดิม ก็ไม่แน่ใจแต่รู้ด้วยใจว่า ปลาในบ่อคงเยอะน่าดู  ผมจำได้ว่า ผมมีลุงญาติผู้ใหญ่คนหนึ่ง ชื่อลุงน้อย บ้านอยู่ บ้านหนองแวงควง เขตอำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม ทุก ๆ หลังหน้าเกี่ยวข้าวเสร็จใหม่ ๆ  ลุงน้อยจะมาหาพ่อกะแม่ที่บ้าน ชวนครอบครัวผมไปกินปลา สระปลา(เอาปลาขึ้นจากบ่อ) ของลุง เพื่อเตรียมเอาปลาขึ้นจากบ่อ เป็นเสบียงอาหารเพื่อจะทำบุญต่าง ๆ ในช่วงนั้นหากมี เช่น บุญกฐิน บุญแจกข้าว เป็นต้น  พวกเราก็เตรียมของไปต้อนคุณลุงด้วย และก็เดินทางไปบ้านของลุง พอถึงบ้านลุงน้อย ท่านก็พาออกไปนาเลย ข้าวของเตรียมใส่รถเข็น สมาชิกครอบครัวร่วมทั้งไทแขก ประมาณ10 กว่าคน ก็ออกไปด้วยกัน เดินผ่านกอข้าวที่เกี่ยวแล้ว ลัดเลาะไปตามคันแถนา นาคุณลุงเป็นนาโคก อยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน ไม่นานก็ถึง มีต้นแสบง อยู่รายล้อมหลายต้น ผมเลาะหาดูว่าบริเวณที่จะสระปลา (เอาปลาขึ้นจากบ่อ) อยู่ตรงไหน ผมหาอย่างไรก็ไม่เห็นบ่อ  ความเข้าใจของผม บ่อที่มีปลาต้องเป็นสระน้ำขนาดพอประมาณ มีกอบัว มีผักตบ มีพืชน้ำขึ้นเต็ม แต่บริเวณนาลุงน้อยไม่มีสถานที่แบบนั้นเลย  เห็นแต่ลูกชายลุงและคนอีกสองสามคนกำลังเอาน้ำขึ้นจาก ส่าง บริเวณมุมหนึ่งของนา (บ่อน้ำสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ที่ขุดไว้เพื่อเอาน้ำไว้ใช้สำหรับอุปโภคบริโภค  เรียกว่า ส่าง  ถ้ามีการทำอย่างดีมีการตีไม้หรือใช้อุปกรณ์ก่อสร้าง เช่นไม้ หรือ ท่อปูนซีเมนต์  อาจเรียกว่า ส่างแส่ง  หรือ ส่างน้ำแซบ ด้วยความสงสัย นึกว่า เขากำลัง ฮื่อส่าง (ปรับปรุง แก้ไข บ่อน้ำใหม่) ก็เลยเข้าไปดูใกล้ ปรากฏว่า โอ้โฮ ปรากฏว่า ปลาดุกน้อย ขนาดตัว ถ้าเอามาปิ้ง ก็หอม กินอร่อย โดยไม่ต้องกล้วก้างติดคอเลย ครุถังที่เอาขึ้นมาแต่ละครั้งจึงมีปลาเต็มครุติดขึ้นมาด้วย ทุกครั้งไป  ผมจึง ยูเรก้า ตรงนั้นพอดี ที่บอกมากินปลา มาเอาปลาคือ  ปลาเอาปลาที่บ่อ หรือส่างในนา นี่เอง มันเป็นภูมิปัญญาการหาอยู่หากินแบบพื้นบ้านของคนอีสาน ที่ใช้แก้ปัญหาความยากแค้นในเรื่องอาหาร ที่เมื่อต้องการหรือมีต้องจำเป็นที่จะใช้ในยามขาดแคลน หรือ ในยามมีกิจกรรมพิเศษ หรือ งานบุญ หรือ อื่น ๆ ก็มาเตรียมได้ในที่นาของตน นาแต่ละเจ้า นาแต่ละแห่งก็จะเป็นแบบนี้ บางที่ก็เป็นบ่อเลย บางทีก็เป็นบ่อเล็ก ๆ บางทีก็เป็นส่างแบบนี้  ซึ่งจะอยู่ตรงบริเวณต่ำที่สุดของนาเมื่อน้ำเต็มนาน้ำก็จะอยู่ทุก ๆ ที่ ครั้นพอช่วงตอนนี้ข้าวตั้งท้องแล้วและกำลังแก่จัด น้ำก็หมดความจำเป็น น้ำก็จะถูกชาวนาบังคับให้ไหลลงที่บ่อ หรือ ส่าง ทั้งหมด  ทุกสิ่งทุกอย่างจึงไหลลงไปรวม ณ สางปลา หรือ บ่อปลา  ปลา สัตว์น้ำต่าง ๆ ก็จะไปเจริญเติบโตที่นั้น จนเกี่ยวข้าวแล้ว ได้เวลาพอสมควร ซึ่งมักตรงเดือน 11 เดือน 12 ปลาก็จะถูกคัดสรร ออกมา เพื่อกิจกรรมของงานบุญ  การลงแขกเกี่ยวข้าว  การตีข้าว  การร่วมทำกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่งของครอบครัว ของหมู่บ้าน ปลาก็จะถูกนำมาเป็น ข้าวปลาอาหารเพื่อเลี้ยงดูแขกผู้มาร่วมงาน มาเยือน  บ้านหรือครอบครัวหนึ่ง ไม่ได้มีบ่อปลา หรือ ส่างปลาเพียงบ่อเดียว  แต่ยิ่งมีนามาก ก็มีหลายบ่อ  ในบริเวณทุ่งนาบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ในจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม มักจะมีส่างปลา และในปัจจุบันทำไว้เพื่อจำหน่าย จนกลายเป็นอาชีพเลยก็มี นับว่าประยุกต์ได้อย่างชาญฉลาดที่เดียว            วันนี้พอมองเห็น บ่อน้ำข้างนาบริเวณนาใกล้ทางของป้านารี ก็นึกถึง ส่างปลาของลุงน้อยญาติผู้ใหญ่ไทวาปีปทุมของผม ที่ทำให้ผมได้เรียนรู้ข้อมูลอันทรงคุณค่าของวัฒนธรรมการหาอยู่หากินของคนท้องถิ่น ว่าสามารถเอาตัวรอดเสมอ มีวิธีการปรับตัวให้สามารถดำรงอยู่ในธรรมชาติอย่างดีเยี่ยม แต่น่าเสียดายว่า วันนี้ ส่างปลา คงไม่ได้ให้การต้อนรับ ผู้มาช่วยลงแขกเกี่ยวข้าวแล้ว ไม่ได้สระปลา ให้ผู้คนญาติมิตรใกล้ชิดได้กินกัน  คงแต่รอวันที่พ่อค้าเร่ มาหาซื้อปลาไปขาย หรือ รอลูกสาวและลูกชายพาหนุ่มสาวโรงงานทอผ้ามาทอดกฐิน  ฟังว่า ปีนี้ไม่รู้จะมาหรือเปล่า เพราะ อีนางน้อย ต้องหางานใหม่ เนื่องจาก โรงงานทอผ้า ปิดตัวเองรับการการขาดทุนไม่ไหว เมื่อสองเดือนที่ผ่านมา              </p>

หมายเลขบันทึก: 148208เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2007 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท