การลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกเพื่อเตรียมทำงานโครงการร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์


ทางคณะกรรมการสื่อปลอดภัย เดินทางลงพื้นที่เพื่อหารับฟังปัญหาในการประกอบการ และ รับฟังข้อเสนอในการพัฒนาร้านที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อนำมาจัดทำเป็นนโยบายที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของสังคมและสามารถใช้ได้จริงในทางปฏิบัติอย่างเป็นสุขทุกฝ่าย

         การลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกเพื่อเตรียมทำงานโครงการร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์

          ในการเตรียมการจัดทำโครงการร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ร้านเกมคาเฟ่ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่เน้นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศส่งเสริมการลงทุน ทำให้ผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่ ร้านเน็ตคาเฟ่ที่ประกอบการโดยมีความรับผิดชอบในการดูแลสังคม คุ้มครองเด็ก เยาวชนได้รับการสนับสนุนในการประกอบการทั้งในรูปของตัวเงิน เช่น การลดต้นทุนในการประกอบการภายในร้านโดยเฉพาะค่าลิขสิทธิ์โปรแกรมที่จำเป็นในการใช้งาน และ การสนับสนุนที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่นการลดอุปสรรคในการประกอบการ

         หลังจากเดินทางลงพื้นที่ในจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ และ จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ วันนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราในฐานะคณะกรรมการสื่อลบปอดภัยและสร้างสรรค์ได้เดินทางลงพื้นที่ในจังหวัดพิษณุโลกใน วันที่๑๙ พฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๕๐

         ในการเตรียมงานครั้งนี้ ทางคุณ ช้วง และ คุณจิ๊บ กองเลขานุการคณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จากแผนงาน ICT ของ สสส. ได้จัดเตรียมการเข้าพบกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกในช่วงบ่าย และ ประสานงานกับทางเอเซียซอฟท์ที่ได้เดินทางไปเปิดตัวเกมออนไลน์ใหม่ให้กับผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่ และ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ในจังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้ทางคณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดในการจัดทำโครงการร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ร้านเกมคาเฟ่ ปลอดภัยและสร้างสรรค์กับเครือข่ายผู้ประกอบการ

           ที่สำคัญ ทางคณะกรรมการสื่อปลอดภัย เดินทางลงพื้นที่เพื่อหารับฟังปัญหาในการประกอบการ และ รับฟังข้อเสนอในการพัฒนาร้านที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อนำมาจัดทำเป็นนโยบายที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของสังคมและสามารถใช้ได้จริงในทางปฏิบัติอย่างเป็นสุขทุกฝ่าย (อาจารย์แหววเรียกว่า สุขนิยม)

         

           คณะทำงานที่เดินทางออกจากสนามบินดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ในเวลา ๑๐.๓๐ น. ประกอบด้วย อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์ (อาจารย์โก๋) และ อ.ดร.ประภาพรรณ จูเจริญ (อาจารย์เหม่ง) จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล อ.ณรงค์ ลมลอย ผู้อำนวยการศูนย์อินเทอร์เน็ตสร้างสรรค์ กระทรวงศึกษาธิการ คุณ ช้วง และ คุณจิ๊บ กองเลขานุการคณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จากแผนงาน ICT ของ สสส. คราวนี้ ผอ.ลัดดา ไม่ได้ไปด้วยเพราะติดราชการเรื่องการประกวดเรียงความระดับชาติ

         

          เมื่อไปถึงพิษณุโลก ทางคุณจุติ จากกระทรวงวัฒนธรรมได้เดินทางมารับที่สนามบินพิษณุโลก  จุดเริ่มต้นของการเดินทางก็คือ การเข้าร่วมแลกเปลี่ยนในวงเล็กๆกับกลุ่มผู้ประกอบการจากสมาคมการค้านักธุรกิจผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย นำโดย คุณนุช (คุณปรียนุช แซ่บ้าง) กับเพื่อนๆอีก ๑๐ คน โดยมีอาจารย์รุ่นใหม่จาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ก็คือ อ.อุ๋ม อ.อิท และอาจารย์ที่น่ารักที่อาจารย์โก๋จำชื่อไม่ได้อีก ๒ ท่าน ที่อาจารย์แหววแนะนำให้อาจารย์โก๋ตามมาช่วยคิดอีกแรงหนึ่งตามมาสบทบด้วย

           ในการหารือเราใช้ภายในร้านเกมคาเฟ่ของคุณนุชเป็นห้องประชุมชั่วคราว ก็เป็นสถานที่ประชุมที่เหมาะกับสถานการณ์จริงๆ การแลกเปลี่ยนในวงนี้ค่อนข้างเข้มข้น โดยประเด็นหลักที่แลกเปลี่ยนกันก็คือ การหาข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดทำร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ เกมคาเฟ่ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์

            ทางทีมของคุณนุช เสนอเรื่องมาตรการในการคุ้มครองดูแลเด็ก เยาวชน หรือที่คุณนุชเรียกสั้นๆว่า “ขาสั้น หัวเกรียน” ก็คือกลุ่มนักเรียนในสายสามัญที่คุณนุชกับพี่อ้วน(รองประธานชมรมร้านอาหารในจังหวัดพิษณุโลก) บอกกับเราว่าเรื่องการดูแลไม่ให้เด็กนักเรียนกลุ่มนี้เข้ามาใช้บริการในช่วงเวลา ก่อน ๑๔.๐๐ น. หลัง ๒๒.๐๐ น. ถือเป็นการปฏิบัติที่ทางร้านเข้มงวดกับเรื่องนี้มาก เพราะไม่ต้องการให้เด็กหนีเรียนมาเล่นเกม และ กลับบ้านดึกเป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพในการเดินทางกลับ

          อันนี้อาจารย์โก๋ และ คณะทำงานขอชื่นชม

         คุณนุชได้ตั้งข้อสังเกตว่า แล้วในกลุ่มนักเรียนสายอาชีวะ เช่น นักเรียน ปวช ปวส ซึ่งแบ่งการเรียนเป็นภาคค่ำ กับภาคเช้า ถ้าไม่มีเรียนก็น่าที่จะสามารถเข้ามาใช้ช่วงเวลาที่ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีเข้าร้านได้ อีกทั้งช่วงเวลาปิดเทอม ก็น่าจะมีต้องให้เด็กเข้ามาใช้บริการในช่วงเวลาได้ทั้งวัน แต่ไม่เกิน ๒๒.๐๐ น.

         ในจุดนี้ ต้องบอกว่า ในประเด็นนักเรียนในสายอาชีวะนั้น หากพิจารณาจากเจตนารมย์ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยแนวปฏิบัติการปฏิบัติในการกำหนดเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่มุ่งคุ้มครองเด็กให้เรียนหนังสือ และ คุ้มครองสวัสดิภาพในยามวิกาลแล้ว ข้อเสนอของคุณนุชน่าสนใจ แต่ต้องตอบให้ได้ว่า หากมีการอนุญาตัดงกล่าวแล้ว สังคมจะได้ประโยชน์อะไร ? เด็กจะได้ประโยชน์อะไร ?อย่ามองเพียงแต่ ร้านจะได้อะไร ? ที่สำคัญ หากบอกได้ว่าสังคมจะได้อะไรแล้ว ต้องตระหนักต่อมาว่า ทางร้านจะมีระบบการพิสูจน์ให้ได้ว่าเด็กนักเรียนในสายอาชีวะนั้นเป็นเด็กในสายอาชีวะจริง ไม่มีชั่วโมงเรียนจริง อย่างไร

            มาถึงตรงนี้ เราเสนอให้คุณนุชในนามของสมาคมจัดทำข้อตกลงร่วมกับทางโรงเรียนให้เป็นระบบเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน กับร้านเน็ต

            ประเด็นปัญหาที่ทางพี่อ้วน กับคุณนุช อยากให้เกิดขึ้นก็คือ การทำให้ผู้ประกอบการร้านเน็ตคาเฟ่ เกมคาเฟ่รู้กฎหมายเบื้องต้น รู้เทคโนโลยีป้องกันปัญหาเบื้องต้นสำหรับชาวบ้านเพื่อให้สามารถดูแลกันเองได้ในระดับหนึ่ง อาจารย์โก๋ก็เลยเสนอให้ทางอาจารย์อุ๋ม อาจารย์อิท จากคณะนิติศาสตร์ ม.เสรศวรรับไปพิจารณาเพื่อจัดทำหลักสูตรการอบรมให้กับชุมชนในพื้นที่

           อีกประเด็นหนึ่งที่ทางกลุ่มคุณนุชกับพี่อ้วนอยากฟังคำตอบจากคณะกรรมการมาก็คือ การขอเปิดร้านเน็ตตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพราะในขณะนี้ที่ พิษณุโลกเปิดได้ถึง ๒๔.๐๐ น. (แต่มีการแอบกระซิบว่า รอบ ม.นเรศวรเปิดเกินเวลา  ตรงนี้อาจารย์โก๋รับว่าจะไปหารือกับทางจังหวัดในช่วงบ่าย) เป็นคำถามที่ยอดฮิตในทุกพื้นที่ที่เราเดินทางไปทำงาน ได้เคยคุยกับอาจารย์แหววเมื่อครั้งที่เดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี อาจารย์แหวว ตั้งประเด็นว่า ถ้าเปิดร้าน ๒๔ ชั่วโมง สังคมจะได้อะไร ?

             คุณนุชบอกกับเราว่า การไม่อนุญาตให้เปิด ๒๔ ชั่วโมง เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งวถ้าหากกลับไปเปิดกฎหมายรัฐธรรมนูญก็จะพบว่า ประชาชนมีเสรีภาพในการประกอบการครับ แต่มีข้อยกเว้นว่ารัฐสามารถห้ามได้หากการประกอบการนั้นไปขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี หรือ สวัสดิภาพของสังคม ก็ต้องมาพิจารณากันว่า ถ้าจะเปิดได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ก็คงจะต้องอธิบายให้ได้ว่า การประกอบการนั้นมีการคุ้มครองถึงสวัสดิภาพของสังคม ซึ่งพิจารณาได้จาก ความพร้อมในการบรรเทาสาธารณภัย ความพร้อมของเจ้าหน้าที่ อีกทั้งความพร้อมของชุมชน

            อันนี้ ก็ต้องค้นหาคำตอบให้ได้ครับ เพราะเท่าที่หารือกับจังหวัดต่างๆ ก็ได้คำตอบในทิศทางเดียวกันครับว่า ถ้าในพื้นที่แต่ละพื้นที่มีความพร้อมในเรื่องข้างต้นแล้ว เรื่องนี้เป็นไปได้ครับ

             คุยกันมาถึงตรงนี้ ก็เป็นเวลาเกือบบ่ายโมงตรง กำหนดการต่อไปก็คือ ต้องเข้าหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด คณะทำงานจึงเดินทางออกจากร้านไปที่ศาลากลางจังหวัด นั่นหมายความว่า คณะทำงานคงต้องหิ้วท้องมือกลางวันไปก่อน ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วเราจะเข้าประชุมกับทางขจังหวัดสายแน่นอน

         ที่ศาลากลางจังหวัดเราได้พบปะกับปลัดจังหวัด เป้าหมายของการหารือในครั้งนี้ก็คือ การตรวจสอบสถานการณ์จากมุมมองของภาครัฐ และ ร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม

          ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดติดภารกิจสำคัญในการรับเสด็จ จึงได้มอบหมายให้ทางปลัดจังหวัด “สาโรช แสงอรุณผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด นายอำเภอเมืองพิษณุโลก เข้าร่วมหารือ

                ท่านปลัดจังหวัด สาโรช หารือใน ๒ ประเด็นหลัก โดยให้ทางวัฒนธรรมจังหวัดเริ่มต้นเล่าถึงสถานการณ์ของปัญหาในพิษณุโลก โดยแยกเป็น ๒ ส่วน

          ส่วนแรกก็คือ ร้านเกมคาเฟ่มักจะเปิดเกินเวลา โดยเฉพาะ ร้านเกมคาเฟ่บรเวณหน้า ม.นเรศวร

          ส่วนที่สอง ก็คือ ปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการดำเนินการกับผู้ปิดร้านเกินเวลาที่จังหวัดกำหนด เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องรายงานมายังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ก็คือ วัฒนธรรมจังหวัด เพื่อดำเนินการระงับ เพิกถอน ใบอนุญาตในการประกอบกิจการ ทำให้เกิดความลักลั่นในการดำเนินการ

            ประเด็นต่อมาก็คือ แนวทางในการทำงานร่วมกัน ท่านปลัดจังหวัด เห็นชอบในหลักการที่จะทำงานร่วมกันระหว่างภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคนโยบาย และภาคผู้ประกอบการ ทั้งในเรื่องของ

  •            การจัดตั้งคณะกรรมการตรวจเยี่ยมร้านเกมคาเฟ่ที่มีภาคประชาชนในชุมชนอยู่ด้วย
  •            การจัดทำยุทธศาสตร์สื่อสร้างสรรค์ในระดับภาคเหนือ
  •             การจัดเวทีวิชาการในการประเมินสถานการณ์ร่วมกันในทุก ๓ ถึง ๖ เดือน
  •            การจัดอบรมกฎหมายให้กับประชาชน ก็เหลือแต่เพียงการหารือเพื่อลงในรายละเอียดของการทำงานซึ่งคาดว่าจะมีการเริ่มต้นคุยกันในเดือนหน้า

          หลังจากหารือกับทางจังหวัด ก็ถึงเวลาที่ต้องเดินทางไปที่โรงแรมริเวอร์แคว สถานที่ที่เราจะได้หารือแลกเปลี่ยนกับผู้ประกอบการทั้งจากจังหวัดพิษณุโลกและจากจังหวัดใกล้เคียง

           

           อาจารย์โก๋ก็ได้ขึ้นเวทีเพื่อแนะนำโครงการร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ร้านเกมคาฟ่ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ (อาจารย์โก๋ตั้งชื่อเล่นของโครงการนี้ไว้ว่า 4C (Clean Creative Cyber Café) โดยผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการนี้จะต้องมาสมัคร โดยมีเกณฑ์เงื่อนไขในการพิจารณา ๒ ส่วน ก็คือ เกณฑ์ด้านความปลอดภัย (อัสยระเบียบกระทรวงมหาดไทย) และ เกณฑ์ด้านความสร้างสรรค์ (ที่อาศัยหลัการเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม จริยธรรมในการประกอบการ)

            ผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งในเรื่องของการการลดต้นทุนการประกอบการ เช่น ค่าซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์ เป็นต้น อีกทั้งจะได้รับความคุ้มกันในการตรวจเยี่ยมเชิงกลัยาณมิตรจากคณะกรรมการตรวจเยี่ยมจากชุมชน

          หลังจากนั้น ก็มาถึง ช่วง Q&A คำถามที่อาจารย์โก๋ได้รับส่วนใหญ่ก็คือ

Q :  เรื่องของเวลาในการเปิดปิด ว่า จะเปิดได้ ๒๔ ชั่วโมงหรือไม่ ?

A:  ตอนนี้ยังไม่ได้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณของแต่ละจังหวัดซึ่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย และ ระเยบราชการบริหารแผ่นดินได้ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดไว้ แต่ในอนาคตสามารถทำได้ แต่ต้องตอบคำถามให้ได้ว่าการเปิด ๒๔ ชั่วโมงสังคมได้รับประโยชน์อะไร และ จะคุ้มครองสวัสดิภาพของสังคมได้อย่างไร นอกจากนั้น ยังมีแนวคิดเรื่องสัดส่วนของร้าน 4c ในจังหวัดนั้นๆ ว่าถ้ามีร้านที่ผ่านเกณฑ์ 4c จำนวนกว่า ร้อยละ ๘๐ ของจังหวัดก็อาจเป็นการพิสูจน์ว่าสามารถคุ้มครองสวัสดิภาพของสังคมได้

Q :  ทำไมก่อนเวลา ๑๔.๐๐ น. ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีเข้ามามาใช้บริการ ?

A:  อาจารย์โก๋บอกว่า เจตนารมย์ก็คือ ห้ามไม่ให้เด็กหนีเรียนมาเล่นเกม ลองคิดให้ดี ถ้าวันนี้เราเปลี่ยนหมวกจากู้ประกอบการเป็นหมวกของคุณพ่อ คุณแม่ เราอยากให้ลูกเราไปเรียนหนังสือหรือว่ามาร้านเกม

Q :  ทำอย่างไรเราถึงจะรู้กฎหมายเพื่อคุ้มครองตัวเอง

A:  วันนี้ชวนอาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ม.นเรศวรมาด้วย กำลังหารือกันว่าจะจัดอบรมกฎหมายเบื้องต้นให้

        เสร็จจากคำถาม คณะทำงานก็ได้ออกจากโรงแรม อาจารย์ทั้งสี่จากคณะนิติศาสตร์ ม.นเรศวร ต้อรีบกลับไปสอนหนังสือต่อที่คณะ ซึ่งหากจากโรงแรมกว่า ๓๐ กิโลกเมตร ก็เลยไม่ได้ทานข้าวเย็นด้วยกัน ผู้ประกอบการบางรายแอบมากระซิบบอกว่าอยากให้รัฐช่วยสนับสนุนซอฟท์แวร์ส่งเสริมการศึกษาในราคาถูกจะได้ไม่ต้องซื้อจากต่างชาติ (อันนี้เห็นด้วยเต็มที่ กลับมาคราวนี้คงนัดอาจารย์แหววอาจารย์รอม อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล พี่เสรีจากกระทรวงการคลัง มานั่งคุยเรื่องนี้)

 หลังจากเลิกเวทีในตอนเย็นกว่า ๑๗.๓๐ น. แล้ว คุณนุช ก็พาเรามานั่งทานข้าวที่ร้านริเวอร์แควร์ไซด์ ร้านแพเล็กที่เดินจากโรงแรมแค่ ๑๕๐ เมตร ก็จะได้นั่นริมแม่น้ำน่าน อาหารมือแรกของวันนี้สำหรับคณะทำงาน

วันนี้ดูเหมือนน้ำลด แต่พี่อ้วนบอกว่า เมื่อปีที่แล้ว น้ำท่วมสูงมาก นึกไม่ออกเหมือนกันว่าถ้านำสูงขนาดนั้น จะท่วมเมืองพิษณุโลกมากน้อยแค่ไหน

            อาหารร้านนี้อร่อยหลายอย่าง เช่น ต้มยำ น้ำพริก ปลาทอด รวมไปถึงข้าวผัดทะเล เราคณะทำงานนั่งคุยกันไป หัวข้อการคุยก็คือ การหาแนวทางในการพัฒนาร้านเกมคาเฟ่ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์

             อ.ดร.ประภาพรรณ เสนอให้มีการเปิดให้ร้านเกมคาเฟ่เป้นห้องแล็บในทางสังคม เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้สำหรับคนในสังคม ข้อเสนอนี้น่าสนใจมาก

           คุณนุชเองก็เสนอโปรโมชั่นพิเศษ ว่า เด็กๆคนไหนพาคุณพ่อคุณแม่มาด้วย จะลดราคาครึ่งหนึ่งสำหรับค่าบริการ โดยฉพาะในวันพ่อ ต้องยกนิ้วให้คุณนุชจริงๆเพราะว่ากำลังเข้ากับกระแสวันพ่อ ถ้าจะให้ดี เอาวันอทิตย์ด้วยเลยครับ เป็นวันครอบครัว มาทั้งครอบครัว ลดราคาพิเศษให้ไปเลย ส่งเสริมวันครอบครัวครับ

            เห็นเกมใหม่ของเอเซียซอฟท์ เป็นเกมบาสเกตบอล นึกไปถึงว่าเด็กสมัยนี้เล่นกีฬาผ่านเกมคอมพิวเตอร์ คงต้องส่งเสริมให้เกิดการออกกำลังกายในที่แจ้งบ้าง เสนอให้คุณนุช พี่อ้วน จัดแข่งสตรีตบาสเกตบอลเลยดีไหม พาเด็กออมาจากเกมบ้างก็ดี หารือร่วมกับโรงเรียนในละแวกนั้นเลยครับ

             รวมไปถึงการจัดทำข้อตกลงระหว่างสมาคมร้านเกมกับโรงเรียนในกรณ๊ที่เด็กหนีเรียนมาในระหว่าวเงวลาเรียน ก็ให้ทางร้านแจ้งข่าวมายังโรงเรียน

             เลยเวลา ๒๐.๐๐ น.เราต้องเดินทางไปที่สนามบินเพื่อเดินทางกลับกรุงเทพ เครื่องบินออกจากสนามบินตอน ๒๑.๓๐ น. มาถึงสนามบิน ก็แวะซื้อของตามธรรมเนียมครับ ของฝากที่ขึ้นชื่อก็คือ กล้วยตาก กล้วยทอด หารือกันระหว่างคณะทำงานถึงการเตรียมงานในคราวหน้าที่จะลงมาทำงานในพื้นที่เพื่อรับสมัครร้านเกมคาเฟ่ เข้าร่วมโครงการ คงต้องอาศัยคณะนิติศาสตร์มาเป็นแกนหลักในการทำงานร่วมกับทางจังหวัดและผู้ประกอบการ เรากำหนดการเดินทางกลับมาที่พิษณุโลกอีกครั้งในเดือนหน้า

           คราวนี้เสียดายอย่างเดียวไม่มีเวลาไปไหว้พระพุทธชินราชเลย ไว้คราวหน้าก็แล้วกัน

หมายเลขบันทึก: 148120เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2007 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • วันที่ 7 ตค
  • จะได้พบอาจารย์ไหมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท