โลกเรา มีเท้าช้างมากกว่าช้าง (มากกว่า 4 เท่า)


ประเทศในเอเชียที่เป็นมหาอำนาจด้านช้างคือ ศรีลังกา อินเดีย และพม่า ทีนี้ข่าวดีมักจะมาคู่กับข่าวร้าย ข่าวร้ายคือ ประเทศที่มีช้างมากมักจะมี "เท้าช้าง" มากตามไปด้วย

พวกเราคงจะชื่นชอบหรือชิงชังช้างกันไม่มากก็น้อย... สารานุกรมวิกิพีเดียกล่าวว่า ช้างทั่วโลกมีประมาณ 660,000 ตัว ในจำนวนนี้เป็นช้างอาฟริกา (470,000-690,000 ตัว) ประมาณ 10 เท่าของช้างเอเชีย (38,000-53,000 ตัว)

ประเทศในเอเชียที่เป็นมหาอำนาจด้านช้างคือ ศรีลังกา อินเดีย และพม่า ทีนี้ข่าวดีมักจะมาคู่กับข่าวร้าย ข่าวร้ายคือ ประเทศที่มีช้างมากมักจะมี "เท้าช้าง" มากตามไปด้วย

...

โรคเท้าช้าง (lymphatic elephantiasis) เป็นโรคที่เกิดจากพยาธิตัวจิ๋วเข้าไปทำให้ท่อน้ำเหลืองขนาดจิ๋วอักเสบเรื้อรัง และอุดตัน

ผลคือ ขา แขน อวัยวะเพศ หรือเต้านมอาจบวมเต่ง และโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนไข้ทั้งเจ็บทั้งอาย

...

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการณ์ว่า โลกของเรามีคนไข้โรคเท้าช้างประมาณ 40 ล้านคน หรือ 60.6 เท่าของจำนวนช้างทั่วโลก

ท่านอาจารย์เดวิด โมลีโรซ์ และคณะ แห่งวิทยาลัยเวชศาสตร์เขตร้อนลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร(หมู่เกาะอังกฤษ) ทำการศึกษาชีวิตของคนไข้ 60 คนจากคนไข้โรคเท้าช้างทั่วศรีลังกาประมาณ 300,000 คน

...

ผลการศึกษาพบว่า คนไข้มีอาการครบตามแบบที่ท่านศาสตราจารย์ประเวศ วะสีกล่าวไว้คือ "โง่(ขาดโอกาสทางการศึกษา) จน เจ็บ(ป่วย)" ครบเครื่อง

แถมการเป็นโรคแบบนี้ยังทำให้อาย ไม่ค่อยมีเงินรักษา จะเข้าไปโรงพยาบาลก็กลัวถูกรังเกียจ ทำให้พยากรณ์โรคไม่ค่อยดี

...

พวกเราที่มีโอกาสไปอินเดีย ศรีลังกา หรือพม่าควรพกพายากันยุง และหลีกเลี่ยงการถูกยุงกันให้มาก เนื่องจากโรคนี้มียุงเป็นพาหะสำคัญ

ทีนี้ถ้าอยู่กรุงเทพฯ กับชานเมืองล่ะ... อย่านึกว่าจะพ้นครับ ต้องระวังยุงเหมือนกัน เพราะเมืองไทยเรามีปัญหาขาดแคลนแรงงาน ต้องนำเข้า (import) แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานอย่างน้อย 2 ล้านคน และยุงก็ไม่ได้เลือกเขาเลือกเราว่า จะกัดหรือไม่กัดใคร

...

ทางที่ปลอดภัยหน่อยคือ เวลานอนควรนอนในห้องที่มีมุ้งลวด หรือกางมุ้งนอน ถ้าออกนอกบ้านไปในที่ที่มียุงมาก ควรหายาไล่ยุงมาทาป้องกันไว้

ยาไล่ยุง เช่น ตะไคร้หอม ฯลฯ ส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ได้ดีจริงๆ เพียง 3 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นควรทาซ้ำ

...

ยุงที่ลำปางนี่ดื้อและด้านมาก ไม่ทราบติดเชื้อมาจากนักการเมือง หรือผู้บริหาร(บางคน)หรือเปล่า เพราะทายาไล่ยุงอย่างไร มันก็ไม่ค่อยยอมหนี ผู้เขียนเลยต้องอาศัยการหนียุงแทน

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

ที่มา                                                       

  • Thank Reuters > Millions endure elephantiasis needlessly: study > [ Click ] > Michael Kahn > November 20, 2007. / J Public Library of Science.
  • Thank Wikipedia > Elephants > [ Click ] > November 20, 2007.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 20 พฤศจิกายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 148102เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2007 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

มาแวะอ่านครับ

เคยได้ยินว่า มีคนงานจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นโรคเท้าช้าง ทำให้นำเชื้อมาแพร่ในบ้านเราด้วย

เปรียบเทียบช้างกับเท่าช้าง ช่างคิดดีครับ ;)

ขอขอบคุณ... คุณธวัชชัย

  • ข่าวแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมีโรคเท้าช้างน่าจะเป็นเรื่องจริงครับ

เร็วๆ นี้มีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้แม่สอด จังหวัดตากเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือมีการปกครองคล้ายๆ กับกรุงเทพฯ + พัทยา

  • ถ้าทำได้จะมีส่วนช่วยให้แรงงานส่วนใหญ่อยู่ห่างกรุงเทพฯ และชานเมืองกรุงเทพฯ มากขึ้น
  • ต่อไป... ถ้าพม่าเป็นประชาธิปไตย และเปิดประเทศ เราคงจะมีโอกาสเห็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตามชายแดนพม่า ทั้งฝั่งพม่า+ฝั่งไทย

มองในอีกมุมหนึ่ง...

  • ถ้าเมืองไทยไม่มีแรงงานพม่า เขมร และลาว > อุตสาหกรรมหลายอย่างที่ใช้แรงงานมาก เช่น ทอผ้า แปรรูปประมง แปรรูปเกษตร ฯลฯ อาจจะล้ม เนื่องจากสู้จีนที่กดค่าเงินหยวนให้ต่ำแบบสุดๆ จนอุตสาหกรรมทั่วโลกพังไปตามๆ กันไม่ไหว
  • โปรดสังเกตว่า วิกฤตกับโอกาสมักจะมาคู่กัน อยู่ที่เราจะรู้จักพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสหรือไม่ อย่างไร...
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท