สัตตศิลาสู่โรงเรียน


การเปลี่ยนผ่านการศึกษา(education transformation)

นายเทียนชัย จูเจี่ย ผอ.สพท.พล.1 เป็นประธานพิธีเปิด

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
พิษณุโลก เขต 1
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
กลยุทธ์การขับเคลื่อนนวัตกรรมการเปลี่ยนผ่านการศึกษา
สัตตศิลา สู่โรงเรียน
ณ ห้องโรงละครเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ
มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
หลักสูตรวันเดียว ตั้งแต่ สามโมงเช้าถึงบ่ายสี่โมงครึ่ง
ประธานพิธีเปิด
นายเทียนชัย จูเจี่ย
ผอ.สพท.พล.1
วิทยากร ประกอบด้วย
ศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช
รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ
ผศ.ดร.วารีรัตน์ แก้วอุไร
วิธีการอบรม
ใช้วิธีการบรรยาย
การเล่าประสบการณ์ของโรงเรียนแกนนำ
คือโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี
โรงเรียนวัดเสาหิน
โรงเรียนบ้านวังสาร 
การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อวางแผนการปฏิบัติงาน
การนำนวัตกรรมการเปลี่ยนผ่านการศึกษา
สัตตศิลาสู่ภาคปฏิบัติ
ของเครือข่ายโรงเรียน 11 เครือข่าย
แล้วส่งตัวแทนนำเสนอผลการประชุมกลุ่มต่อที่ประชุมใหญ่
และการอภิปราย ซักถาม
ความเป็นมาของการอบรม
เป็นโครงการวิจัย
กลยุทธ์การขับเคลื่อนนวัตกรรมการเปลี่ยนผ่านการศึกษา
สัตตศิลาสู่โรงเรียน
เป็นโครงการวิจัยระยะที่ 3 ที่ดำเนินการ
ต่อเนื่องจากโครงการวิจัยบูรณาการการเปลี่ยนผ่าน
การศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้
โดยการดำเนินการวิจัยในระยะที่ 3
มีวัตถุประสงค์หลัก
เพื่อกำหนดกำหนดกลยุทธ์การนำต้นแบบนวัตกรรม
สัตตศิลา สู่การปฏิบัติจริงโรงเรียนที่เป็นเป้าหมาย คือ
โรงเรียนในพื้นที่การศึกษาเขต 1
ของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดอุบลราชธานี
ซึ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาที่ให้ความร่วมมือ
ในการดำเนินการวิจัยจนโครงการวิจัยบูรณาการฯ
ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
จึงเป้นที่มาของการจัดประชุมในครั้งนี้
เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในการพัฒนาการจัดการศึกษา
อย่างต่อเนื่องและเป็นการขยายเครือข่าย
การเปลี่ยนผ่านการศึกษาโดยใช้นวัตกรรมสัตตศิลา
ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

อะไรบ้างที่ต้องเปลี่ยนผ่าน

การจัดการศึกษาของโรงเรียนต้องมีการเปลี่ยนผ่าน
ในประเด็นต่อไปนี้

คุณลักษณะของผู้เรียนที่พึงประสงค์
การจัดหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นรายบุคคล
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
การสร้างโอกาสการเรียนรู้
การเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทย
รูปแบบของระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ
แนวทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ

หลักสัตตศิลา

ประกอบด้วยหลัก 7 ประการ

หลักที่ 1
คุณลักษณะผู้เรียนที่พึงประสงค์ (คุณลักษณ์ 4ร.)
หลักที่ 2
การพัฒนาสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ
หลักที่ 3
การบริหารจัดการแบบบูรณาการ (iEMS)
หลักที่ 4
การจัดหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (4F)
หลักที่ 5
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (CRP)
หลักที่ 6
ทักษะการรู้สารสนเทศ (NET)
หลักที่ 7
บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง (3M)
ครั้งต่อไปจะนำเสนอตัวย่อต่าง ๆ ครับ 

   
   
   

 

   
หมายเลขบันทึก: 148011เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2007 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท