เเรงงานต่างด้าวสามสัญชาติกับประกันสังคม: หลักฐานไม่ครบ สมัครได้ จ่ายรับ เเต่เบิกไม่ได้


กระทู้เมื่อสักครู่ทำให้นึกได้ถึงกรณี นางหนุ่ม ไหมเเสงซึ่งเป็นเเรงงานต่างด้าวฯ  "พม่า" ที่ประสบอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานจนเป็นอัมพาต เเละไม่สามารถรับเงินจากกองทุนทดเเทนได้ เเม้จะเป็นเเรงงานต่างด้าวจดทะเบียนถูกต้อง เเละจ่ายเงินสมทบให้กับระบบประกันสังคม การเบิกค่ารักษาของนางหนุ่ม ก็ต้องอาศัยเบิกจากระบบหลักประกันสุขภาพเเรงงานต่างด้าว ที่จ่ายไป 1900 บาท เเต่การรับเงินทดเเทนจากสำนักงานประกันสังคม กลับตกเป็นเรื่องความเมตตาของนายจ้างที่จะจ่ายให้ตามที่สำนักงานประกันสังคมเเจ้งให้จ่าย มิใช่การได้รับเงินสมทบจากกองทุนทดแทนที่นางหนุ่มถูกหักเงินประกันสังคมเพราะข้ออ้างที่ว่านางหนุ่มไม่มีหนังสือเดินทางเเละไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ นายจ้างต้องมาขึ้นทะเบียนกับกองทุนทดแทน เเละลูกจ้างต้องมายื่นเเบบเสียภาษี 

ถ้าตัดเงื่อนไขเรื่องนายจ้างต้องขึ้นทะเบียนกับกองทุนทดแทนเเละนางหนุ่มต้องมายื่นเเบบเสียภาษี เเล้วกลับไปอ่านข่าวจากสำนักงานประกันสังคม เรื่องการขึ้นทะเบียนของเเรงงานต่างด้าวสามสัญชาติ ที่ผ่านการพิสูจน์สถานะ (โดย นายไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เป็นผู้ข่าว)กระทู้ที่เเล้วอีกครั้งว่า ... 
"ส่วนของนายจ้างมีหน้าที่ต้องดำเนินการดังนี้คือ ให้แจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างคนต่างด้าวที่เป็นผู้ประกันตนพร้อมเอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนพร้อมหลักฐานประกอบการขึ้นทะเบียน คือ  ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) หนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารแสดงตัวแทนหนังสือเดินทาง " [...] เลขาธิการกล่าวต่อไปว่า หากลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าวไม่มีหลักฐานดังกล่าว หรือมีหลักฐานไม่ครบให้ถือว่าหลักฐานประกอบการขึ้นทะเบียนประกันตนไม่ครบถ้วน  และไม่สามารถขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนได้ 

โปรดอ่านอีกครั้งหนึ่ง

จะเห็นได้ว่า ที่จริงเเล้วระบบนี้ล็อกให้เเรงงานต่างด้าวสามสัญชาติ ที่ไม่มีหลักฐาน คือใบอนุญาตทำงาน หนังสือเดินทาง หรือเอกสารเเสดงตัวเเทนหนังสือเดินทาง หรือมีหลักฐานไม่ครบถ้วน ไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนได้ ดังนั้นความโชคร้ายบนความโชคดีของนางหนุ่มก็คือ ถ้าข้อความที่ขีดเส้นใต้เป็นจริง นางหนุ่มก็โชคดีที่ได้เป็นผู้ประกันตน เเละได้จ่ายเงินสมทบ ทั้งๆ ที่ตามระเบียบที่ล็อคไว้ บอกว่า คนที่เอกสารไม่ครบอย่างนางหนุ่ม ไม่น่าจะสามารถเป็นผู้ประกันตนได้ (เเละเมื่อเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ ก็น่าจะหมายความว่าจ่ายเงินสมทบไม่ได้)
 
เเต่นายหนุ่มได้เป็นผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบไปเเล้ว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ตอนจ่ายๆ ไม่มีปัญหา เรียบร้อยดี เเม้เอกสารหลักฐานด้านหนังสือเดินทางจะไม่ครบ เเต่ตอนจะขอรับสิทธิตามที่จ่ายเงินไป ปรากฏว่ามีปัญหาทันที เพราะไม่มีหนังสือเดินทางเเละเอกสารเเสดงตัวฯ ยังไม่นับรวมการยื่นเเบบภาษีเเละเรื่องการขึ้นทะเบียนของนายจ้าง 

แปลกที่ทางสำนักประกันสังคมน่าจะทักท้วง ยกเลิกการขึ้นทะเบียนเเละคืนเงินให้นางหนุ่มเเต่เเรกเพราะเอกสารไม่ครบเเต่เเรก เพิ่งมาบอกเอาตอนที่นางหนุ่มจ่ายเงินสมทบมาครบระยะที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ ซ้ำยังกลายเป็นผู้ทุพลภาพจากการทำงาน 

บอกช้าอย่างนี้เสียความรู้สึก 
หมายเลขบันทึก: 147901เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2007 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นี่คือการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ สังคมไทยโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐต้องเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่

จ๊อบ

ผมแลกเปลี่ยนกรณีนางหนุ่มอย่างนี้นะ

กรณีนางหนุ่มเป็นกรณีของกองทุนเงินทดแทน ซึ่งเป็นกองทุนที่ต้องเรียกเก็บจากนายจ้าง หากไม่จ่ายสมทบ รัฐต้องไปเรียกเก็บกับนายจ้างเพื่อสมทบกับกองทุน โดยเป้าหมายคือ ต้องการให้หลักประกันแก่ลูกจ้างว่าหากประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน จะมีกลไกรองรับหากนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย หรือไม่สามารถจ่ายได้ ก็จะสามารถไปใช้เงินกองทุนได้ แล้วกองทุนก็ไปเก็บกับนายจ้าง (ซึ่งเป็นกฎหมายคนละตัวกับประกันสังคม แต่มีเลขาธิการกองทุนประกันสังคมเป็นเลขานุการกองทุน และยกหน้าที่นี้ให้ประกันสังคมจัดการตามกฎหมาย คือเอากองทุนเงินทดแทนไปผูกไว้กับประกันสังคม) ผมไม่เห็นมีข้อไหนระบุในกฎหมายว่า ผู้ได้รับเงินทดแทนจะต้องเป็นผู้ประกันตนกับประกันสังคม

ทีนี้กรณีนี้มีปัญหาในเรื่องคำสั่ง ดังกล่าวที่ระบุว่าแรงงานข้ามชาติที่จะขอรับเงินกองทุนได้จะต้อง มีหลักฐานคือ

1.          มีการจดทะเบียนและมีใบอนุญาตให้ทำงาน (Work Permit) ที่ทางราชการออกให้ มาแสดงประกอบกับหนังสือเดินทาง (Passport) หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

2.                   นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนในอัตราไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำทั้งนี้แรงงานต่างด้าวที่จดทะเบียนต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทย

ปัญหามันมีสองประเด็น

หนึ่ง ประกันสังคมก็ไปตีความว่า บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว (คือได้รับอนุญาตให้อยู่และทำงานในประเทศไทย) ไม่ใช่ ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว กรณีนี้เป็นไปได้ว่า เจ้าหน้าที่เข้าใจเอาว่าบัตรใบนั้นเป็นแค่ใบอนุญาตทำงานเท่านั้น ไม่ใช่บัตรประจำตัว

สอง การไม่จ่ายสมทบของนายจ้างไม่ควรเป็นสาเหตุของการที่ลูกจ้างจะไม่ได้รับเงินกองทุน แต่เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องไปบังคับให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามกฎหมาย อันนี้ไม่ต้องพูดเรื่องแบบภาษีเงินได้ ที่แรงงานมีรายได้ไม่ถึงที่จะต้องจ่ายภาษีเงินได้

ดังนั้นคำสั่งนี้ก็เลยไปตัดสิทธิแรงงานข้ามชาติที่จะต้องได้รับเงินทดแทนจากกองทุนตามกฎหมายไปซะอย่างนั้น

อย่างไรก็ตามแต่ อันนี้เป็นความเข้าใจของผมนะ อาจจะเข้าใจผิดเพราะไม่ใช่นักกฎหมาย หรืออ่านแล้วไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ก็เป็นได้

ผมเขียนบทความเรื่องนี้ด้วยนะ

http://gotoknow.org/blog/migrantworkers/144536

เผื่อจะทำให้เกิดการถกเถียงและผลักดันเรื่องนี้มากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท