วิจัยวิทยาศาสตร์ ตอนที่ 1


การวิจัยในชั้นเรียนช่วยให้การพัฒนางานเป็นไปอย่างครูมืออาชีพ

ทำไมครูวิทยาศาสตร์ต้องทำวิจัย

การวิจัย : กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบคำถาม  หรือปัญหาที่มีอยู่อย่างเป็นระบบ  และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

ทำไมครูวิทยาศาสตร์ต้องทำวิจัย

       การวิจัย : เป็นเครื่องมือเป็นกระบวนการที่ทุกงานในทุกสาขาอาชีพ   ใช้ในการหาความรู้  หรือข้อค้นพบในการแก้ปัญหา  หรือพัฒนางานได้อย่างเป็น ระบบ  น่าเชื่อถือ

      งานของครูนับเป็นวิชาชีพชั้นสูง  ที่ต้องการความเชื่อถือได้ใน    ผลงาน  ซึ่งถ้าครูใช้ การวิจัย  ในการพัฒนา  หรือแก้ไขปัญหาการจัด     การเรียนรู้ของผู้เรียน  จะแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นได้ในการปฏิบัติงานของครู และเป็นการประกันคุณภาพระดับห้องเรียน/ชั้นเรียนของ  ครูวิทยาศาสตร์

การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research)

  • กระบวนการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อตอบคำถาม (ปัญหา) ที่เกี่ยวข้องกับภาระงานที่ปฏิบัติอยู่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพของงานที่กำลังปฏิบัติอยู่และ   ผู้วิจัย คือ ผู้ปฏิบัติงาน (ครูผู้สอน)
  • กระบวนการแสวงหาความรู้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนอย่างมีระบบ  และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน  โดยมีกระบวนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง คือ มีการวางแผนหลังจากที่มีการกำหนดประเด็นปัญหาผู้เรียนที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข (Plan) ลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ (Do)  สังเกตและสะท้อนผลหลังจากลงมือปฏิบัติ (Check) ถ้ายังมีประเด็นที่ต้องการแก้ไขปรับปรุงอยู่ก็ดำเนินการวางแผนลงมือปฏิบัติ สังเกตและสะท้อนผล (Act) โดยทำเป็นวงจรคุณภาพต่อไปเรื่อย ๆ จนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
  • ผู้วิจัย คือ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์

แนวทางการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูวิทยาศาสตร์

  1. เป้าหมายของการวิจัย : ได้องค์ความรู้ที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้ที่ปฏิบัติอยู่
  2. วิธีการกำหนดประเด็นปัญหาหรือคำถามในการวิจัย : ประเด็นปัญหาของผู้เรียนจากบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ของครู
  3. วิธีการตรวจสอบเอกสาร : ไม่เน้นการตรวจสอบเอกสารมากนักอนุโลมให้ใช้ข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ
  4. การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง :  ไม่เน้นการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง  กลุ่มที่ศึกษาคือ ผู้เรียนที่มีปัญหาในห้องเรียนที่สอน อาจเป็นกลุ่มเล็ก 3 - 5 คน
  5. การสร้างสื่อ/นวัตกรรม : เน้นสื่อ/นวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหาเฉพาะเรื่องที่เป็นปัญหา
  6. การเก็บรวบรวมข้อมูล : ครูผู้สอนเป็นผู้เก็บรวบรวม บันทึกคะแนนก่อน/หลังเรียน หรือเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด และกำหนดระยะเวลาสั้น ๆ อาจประมาณ 1-2 สัปดาห์
  7. การวิเคราะห์ข้อมูล : ใช้การหาค่าเฉลี่ย หรือร้อยละ ไม่เน้นการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ และการนำเสนอข้อมูลดิบ
  8. การนำผลไปใช้ : เน้นความสำคัญที่เป็นผลจากการปฏิบัติ

การบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ ที่นำไปสู่การทำวิจัย          ในชั้นเรียน

       การบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้  ประกอบด้วย

  • ผลการจัดการเรียนรู้  ..............ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ทั้งด้าน K ,P, A โดยระบุเป็นระดับคุณภาพ/ร้อยละที่ชัดเจน
  • ปัญหา/อุปสรรค...............ระบุชื่อผู้เรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ด้าน K, P, A ให้ชัดเจน
  • แนวทางแก้ไข...............ให้เสนอแนะแนวทางแก้ไขให้ชัดเจน และระบุสื่อ/นวัตกรรมที่ครูจะนำมาใช้แก้ปัญหาให้กับผู้เรียน

เห็นไหมคะ .........วิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูวิทยาศาสตร์..........ง่ายนิดเดียว...............  (ไม่ใช่ยากเยอะนะคะ)   พบกันตอนที่ 2ค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 147389เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2007 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
เห็นด้วยกับอาจารย์นราวัลย์ค่ะ ...วิจัยไม่ยากเลย เป็นการทำงานที่เราทุกคนทำกันอยู่แล้ว เพียงแต่จัดระบบ ทำเป็นขั้นเป็นตอน จัดเก็บสารสนเทศหลักฐานร่องรอยการปฏิบัติงานไว้เป็นหมวดหมู่ เท่านี้ก็ OK เน๊อะ วิจัยชีวิตยังได้เลย

ข้อเขียนนี้เป็นประโยชน์มากต่อการศึกษาในวงกว้าง  ทั้งต่อผู้ที่กำลังคิดจะทำวิจัยในชั้นเรียน นักวิขาการศึกษา  ศึกษานิเทศก์  และผู้สนใจทั่วไป.....ขอเป็นกำลังใจเขียนเป็นวิทยาทานและ นำความรู้ประสบการณ์ที่ฝังลึก(Tacit  Knowledge) มาเล่าขานผ่านเวที "โลกไร้พรมแดน" แห่งนี้ เพื่อพัฒนาการศึกษาชาติต่อไป....

ขอบคุณน้องอ้วนที่มาแวะเยี่ยมทักทานกัน เพื่อเป็นการขยายความรู้กรุณาบอกต่อนะคะ

                                   นราวัลย์

ขอขอบคุณอย่างสูงสำหรับ ศน.วิชัย ศรีสมบัติ ที่ได้ให้ความรู้ เรื่อง การทำ Blog online ให้พี่อย่างกัลยาณมิตรนิเทศที่แท้จริง

                                                 ป้านราวัลย์

 

น้องวิชัยเจ้า

       กรุณาทำหัวของ "Weblog ให้ป้านรา สวย ๆ     ดังนี้    นะคะ  "วิทยาศาสตร์น่ารู้...........สู่มืออาชีพ"

                                            ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

                                                      ป้านรา

สุภาวดี อนวัชมงคล

ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยได้ดีมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท