บันทึกบริหาร 10: โครงการ Patho Sport Day นวัตกรรมเชิงระบบ


ขอพูดถึงโครงการ Patho Sport Day ที่เป็นมากกว่าการเล่นกีฬาเชื่อมความสำคัญต่อจากบันทึกก่อน

อยากจะเรียกว่า  Patho Sport Day เป็นนวัตกรรมเชิงระบบชิ้นหนึ่ง  ที่คิดเช่นนั้น เพราะมีเหตุที่มาที่ไป พอสมควรเลยทีเดียว

ในปี 2548 พรพ. ส่งเสริมให้รพ.ต่างๆ เน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ควบคู่กับ การรักษาเชิงรับ 

นอกจากการสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยแล้ว  สุขภาพของบุคลากรในระบบสาธารณสุข ที่ต้องดูแลสุขภาพผู้อื่น ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกัน   นำมาซึ่งนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรของภาควิชา   โดยมีอาจารย์เสาวรัตน์ เอื้อเพิ่มเกียรติ รองหัวหน้าภาควิชาฝ่ายพัฒนาบุคลากร รับนโยบายนี้ ไปนำสู่การปฏิบัติอย่างแข็งขัน

อ.เสาวรัตน์ เธอหาทีมทำงานจากผู้ที่มีใจรัก  เรียกกลุ่มทำงานนี้ว่า คณะกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสพ. เธอทำงานกับทีม โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิด  เสนอความเห็นอย่างเต็มที่  แล้วก็กระจายหน้าที่ความรับผิดชอบกันไป  ไม่ใช่เพียงแต่เสนอความคิดเห็นเพียงอย่างเดียว  อาจจะเรียกว่าใช้หลักการบริหารทีมงานแบบ empowerment น่าจะได้

ในปีแรก กิจกรรมหลัก ก็มีการเสวนาสุขภาพ  การออกกำลังกายในช่วงเย็นหลังเลิกงาน ซึ่งก็ต้องเปลี่ยนวิธีการกันไปเรื่อยเมื่อมีคนร่วมน้อยลง ที่ผ่านมาก็มีเช่น รำพลอง  โยคะ แอร์โรบิคแดนซ์  แต่ดูเหมือนไม่ค่อย work   
 
เธอไม่ยอมแพ้ค่ะ  เล่นบทกัดไม่ปล่อย เกาะติดเป้าหมายที่อยากให้คนพยาธิมีสุขภาพดี โดยมีการออกกำลังกลายอย่างสม่ำเสมอ

คุยกันไปคุยกันมาในทีม สสพ. โดยยึดเป้าหมายดังกล่าว  ตกผลึกเป็นโครงการ Sport Day ที่ให้มีการแข่งขันกีฬาเป็นช่วงเวลายาวนานหลายสัปดาห์ กลายเป็น big project ที่ต้องอาศัยคนทำงานที่มีใจรักและเสียสละเวลา (ส่วนตัวและครอบครัว) จำนวนมาก

โปรเจ็คใหญ่ขนาดนี้ ลำพังแต่ทีม สสพ.ไม่กี่คน คงไม่พอ  จึงต้องมีทีมทำงานเพื่องานนี้เพิ่มขึ้น มีตัวแทนจากชั้นต่างๆ  หน่วยต่างๆ  กระจายความมีส่วนร่วม และ ความรับผิดชอบไปอย่างถ้วนทั่วทั้งภาควิชา

หลังจากการแข่งขันกีฬาอันยาวนาน เราเฉลิมฉลองความสำเร็จกันโดยการปิดงานในภาคกลางคืน (Sport night) ที่พวกเราประทับใจไม่ยิ่งหย่อนกว่า Sport Day 

ในปีนี้  อ.เสาวรัตน์ ส่งไม้ประธาน สสพ. ต่อให้กับพี่ปนัดดา  หรือ ป้าดาผู้แสนดุแต่ใจดีของน้องๆ  ป้าดาสานงานได้อย่างแข็งขันไม่แพ้กัน    Sport Day ปีที่ 2 ประสบความสำเร็จไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปีแรก  ตรงนี้ ต้องยกเครดิตให้ทั้งอาจารย์เสาวรัตน์ ที่วางรากฐานการทำงานไว้เป็นอย่างดี  และ ป้าดา ที่มุ่งมั่นและทุ่มเทสุดๆ 

Sport Day & night ทั้ง 2 ปี สร้างความประทับใจให้กับพวกเราชาวพยาธิเป็นอย่างมาก นอกจากจะสุขใจแล้ว  สุขภาพก็ดีขึ้นด้วยค่ะ  เราวัดสมรรถภาพกันติดต่อมา 3 ปี แนวโน้มดีขึ้นเรื่อยทุกปี ซึ่งคุณโอ๋คงจะได้นำมาบอกเล่าในบันทึกของเธอด้วย

เขียนเสียยึดยาว อยากสรุปเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ เพราะ .....

  • การทำงานเป็นทีมแบบ empowerment
  • เกาะติดเป้าหมาย  กัดไม่ปล่อย
  • ความมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานในภาค และ เจ้าหน้าที่ทุกระดับ ทุกคนมีบทบาทและมีความสำคัญ
  • ………………..

ในมุมมองด้านบริหาร  คิดว่า ปรากฎการณ์นี้ เป็นผลพวงจาก empowerment ซึ่งก่อให้เกิด creativityจาก bottom up

และในมุมมองบริหารอีกเช่นกัน  โครงการ Sport Day ก่อให้เกิด trust ความไว้วางใจ  ระหว่างผู้บริหาร กับ บุคลากร  และ ทำให้ทุกคนเห็นคุณค่าของเพื่อนร่วมภาควิชาทุกระดับด้วย  

และเราคงได้ร่วมกันสร้างสุข เสริมสุขภาพกันอีกแน่นอนในปีหน้า 

หมายเลขบันทึก: 147356เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2007 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เรียน อาจารย์หมอปารมี กายดี จิตมีสุข ครับ

 

reserach question

how to quantified  trust  score  ie

no. of  co operate project

no. of  suggestion  idea  bottom up

no. of  group innovation

overall work relate psycholigical  profile

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท