การทำนาไร้สารพิษ


เกษตรอินทรีย์

 การทำนาไร้สารพิษ

ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทยมาตั้งแต่โบราณกาล ชาวนาไทยสามารถผลิตข้าวได้มาก  เพียงพอสำหรับเลี้ยงประชากรทั้งประเทศ และยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้มากที่สุดในโลกตลอดมานานนับสิบปี สถานการณ์ข้าวในปัจจุบัน  ชาวนาเป็นจำนวนมากขายข้าวเปลือกไม่ได้ราคา เนื่องจากข้าวมีคุณภาพต่ำ ด้วยสาเหตุสำคัญคือ  การใช้พันธุ์ข้าวบางพันธุ์ไม่เหมาะสม นอกจากนั้นยังมีปัญหาข้าวเปลือกมีความชื้นสูง รวมทั้งส่งผลให้ชาวนาขายข้าวไม่ได้ราคาและเป็นความเดือดร้อนของชาวนามาโดยตลอด  การศึกษาชุมชน (โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต) ทำให้รู้ว่ายังมีกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการแก้ไขปัญหาโดยใช้ภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่มีอยู่และมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยชาวนา โดยเน้นให้มีการผลิตข้าวคุณภาพดี  ที่ตลาดมีความต้องการสูงและราคาดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวหอมมะลิ ซึ่งในปัจจุบันยังมีการผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เนื่องจากให้ผลผลิตต่ำและปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น บัดนี้กลุ่มเกษตรกรดังกล่าว ได้ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ คือ ข้าวหอมมะลิปทุมธานี 1 ของกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 800 กิโลกรัม และมีคุณภาพหุงต้มเป็นที่ต้องการของตลาด เกษตรกรสามารถขายได้ราคาดีเป็น 2 เท่าของข้าวนาปรัง สมควรเร่งขยายพันธุ์ให้ชาวนาได้ใช้ปลูกกันอย่างแพร่หลาย  อย่างไรก็ตามการปลูกข้าวเพื่อการขยายพันธุ์เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เกษตรกรผู้ร่วมดำเนินการ จำเป็นต้องเรียนรู้และปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด  ดังนั้น เพื่อให้บรรลุผลและบังเกิดผลดีในการปฏิบัติและการทดลองดังกล่าวตามความมุ่งหมายสืบไป 1.    ความสำคัญ/ประวัติความเป็นมา                     ข้าว เป็นอาหารหลักของประชากรกว่า 4,000 ล้านคนทั่วโลก  ประเทศไทยส่งออกข้าวมากกว่า 6 ล้านตันต่อปี  และคนไทยเองก็บริโภคข้าวถึง 150 – 300 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี  ในอดีตชาวนาไทย เคยทำนาบนพื้นแผ่นดินไทย ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยสารเคมี หรือสารพิษใดๆ ก็สามารถผลิตข้าวออกมาเลี้ยงคนทั้งประเทศ ดำรงชาติไทยให้อยู่ได้มาเป็นเวลาช้านาน สืบเนื่องมาจากระบบนิเวศวิทยาที่ยังสมบูรณ์อยู่มากและการทำนาระบบธรรมชาติ  โดยใช้วัว/ควาย และแรงงานคนเป็นหลัก การใช้วัว/ควายในการทำนานั้น ส่งผลดีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยมูลสัตว์ ที่ช่วยเพิ่มธาตุอาหารต่าง ๆ แก่ดิน ซึ่งได้มากถึง 10 ตัน/ปี/ตัว การตัดหญ้า และการกำจัดวัชพืช เพราะวัว/ควายกินหญ้าเป็นอาหาร และเป็นแรงงานในการไถนา การนวดข้าว การลากเกวียน ฯลฯ  โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมัน                        ในส่วนแรงงานของคนนั้น ไม่ว่าจะเป็นการดำนา การเก็บเกี่ยว การนวด การสีข้าว ก็มีวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษไทย ที่กระทำสืบเนื่องกันมาช้านาน คือ การร่วมลงแขกแรงงาน ช่วยกันทำในชุมชนของตนเอง เป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังความสามัคคีกันในชุมชน และภูมิปัญญาไทยในเรื่องการบริหารงาน คือ การกำหนดพื้นที่งานทั้งหมด แรงงานคน ระยะเวลาการปลูก และการเก็บเกี่ยวต้องสัมพันธ์กันทั้งหมด จึงสามารถปลูก และเก็บเกี่ยวได้ทันตามฤดูกาล ซึ่งทั้งหมดทุกขั้นตอนที่กล่าวมาแทบจะไม่มีค่าใช่จ่ายใดๆ เกิดขึ้นเลย จึงทำให้ชาวนา  ในสมัยก่อนสามารถอยู่ได้อย่างพอเพียง                        แต่ในปัจจุบันการทำนาได้เปลี่ยนรูปแบบไปมาก กล่าวคือ เป็นการทำนาที่มุ่งเน้นในเชิงธุรกิจที่มากขึ้น ทำให้ต้องใช้เครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ (เครื่องจักรกลทางการเกษตร) เข้าช่วย และการเร่งผลผลิต ด้วยการใส่ปุ๋ยเคมี ซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้มาก แต่ไม่ได้นึกถึงผลที่จะตามมาในระยะยาว คือ ต้นข้าวจะอ่อนแอ ทำให้เกิดโรคระบาด และแมลงเข้าทำลายได้ง่าย ทำให้ต้องใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลง เข้าช่วยอีกทาง ซึ่งการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีนั้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวเกษตรกรเอง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ รวมถึงเรื่องเศรษฐกิจอีกด้วย และยังส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ และสัตว์เล็กๆ ในดินต้องตายลง เป็นผลให้สภาพดินเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว  น้ำ  และ อากาศมีสารพิษเจือปนอยู่มากมาย ทำให้การทำนาครั้งต่อไป ต้องใส่ปุ๋ย สารเคมี และยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพิ่มเร่งผลผลิตให้ได้เท่าเดิม เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่รายได้ยังคงเดิม จึงทำให้ชาวนาในปัจจุบันเป็นหนี้สินล้นตัว และไม่สามรถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้2.    ประวัติชีวิตของ  นางวิมล  อนันตโสภณ นางวิมล  อนันตโสภณ  เกิดเมื่อวันที่  2 กรกฏาคม  2510 ที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของนายนพดล อนันตโสภณ และนางตุ่น อนันตโสภณ เป็นบุตรคนที่ 3 มีพี่น้องจำนวน 6 คน การศึกษา ชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนรักษาเมืองไทย ตำบลบ่อปลาทองในปัจจุบัน ชั้นมัยมศึกษาที่โรงเรียนปากช่อง และจบการศึกษาที่โรงเรียนพาณิชย์การปากช่อง เริ่มทำงานครั้งแรกที่บริษัท ราชสีมาทัวร์ จำกัด ด้านครอบครัว  สมรสกับนายอภิชาต พจน์ฉิมพลี เมื่อปี พ.ศ.2533 มีบุตร 2 คน และได้ย้ายมาทำงานที่ตัวเมืองนครราชสีมา ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบุคคล เป็นเวลาประมาณ 7 ปี   ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2540 เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจไม่ดีจึงได้ย้ายกลับมาอยู่ที่อำเภอปักธงชัย  โดยเริ่มลงทุนเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงได้ปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรกร โดยการเริ่มปลูกผักตามที่ตลาดต้องการแต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็ว จึงเปลี่ยนแนวคิดมาทำเกษตรแบบผสมผสาน และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับกลุ่มเกษตรกรภายในหมู่บ้าน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อปลาทอง3.    สถานที่ สภาพทั่วไปของสถานที่                 มีระบบน้ำและดินที่สมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกทั่วไป4.    เทคนิค และวิธีการทำนาไร้สารพิษขั้นตอนที่ 1 ย่อยฟาง  และตอซังให้เป็นปุ๋ย  หลังการเก็บเกี่ยวอย่าเผาฟาง ตอซัง หรือหญ้าทิ้ง (เพราะจะเป็นการทำลายหน้าดิน และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน) ปล่อยน้ำเข้านาให้ได้ระดับความลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร โดยใช้ปุ๋ยน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพ หยดไปกับน้ำในอัตราไร่ละ 1 ลิตร ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วันปุ๋ยน้ำหมักจะช่วยกระตุ้นจุลินทรีย์ในดิน ทำการย่อยฟางให้สลายตัว สังเกตได้โดยเมื่อหยิบฟางขึ้นดู จะพบว่าฟางเปื่อยยุ่ยกลายเป็นปุ๋ยอย่างดี นอกจากนี้การหมักฟางยังให้ประโยชน์อีกหลายประการ คือ-ได้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพจากฟางข้าว ซึ่งช่วยปรับสภาพโครงสร้างดินให้ร่วนซุย และฟูขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน-เมื่อฟางย่อยสลายดีแล้วก็สามารถทำเทือกหว่าน หรือปักดำได้ทันที โดยไม่ต้องไถคราด ทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายขึ้น-สามารถปรับค่า ความเป็นกรด ด่างในดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการทำนาข้าว คือ ประมาณ ph 6.5[i1]  ขั้นตอนที่ 2 ทุบทำเทือก  หลังจากฟางย่อยสลายดีแล้ว หากมีน้ำขัง หรือมีความชื้นมากพอสามารถทุบทำเทือกได้ทันที และควรคราดพื้นที่นาให้มีความเสมอกัน เพื่อที่จะสามารถควบคุมระดับน้ำได้ดี นอกจากนั้นยังสามารถควบคุมวัชพืชได้ ทั้งยังทำให้การงอกของต้นข้าวเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ สะดวกต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นการให้ปุ๋ย และการเก็บเกี่ยวผลผลิต ถ้าพื้นที่ไม่เรียบมีน้ำขัง อาจทำให้เมล็ดข้าวที่ชาน้ำ เน่าเสียหายได้ขั้นตอนที่ 3 การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับเพาะปลูก  ก่อนการหว่าน หรือการปักดำ ควรนำเมล็ดพันธุ์ข้าวคัดไว้มาแช่ หรือคลุกกับปุ๋ยน้ำ (ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการ ขบไล่ หรือกำจัดโรค และแมลงศัตรูพืช) ทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำไปหว่านเพื่อป้องกันโรคพืช และแมลงศัตรูพืชรบกวน อีกทั้งยังทำให้อัตราการงอกสูงขึ้นอีกด้วย  นอกจากนั้นยังช่วยให้ใช้เวลาในการเพาะต้นกล้าสั้นลง และต้นกล้าที่ได้ก็สมบูรณ์  แข็งแรงง่ายต่อการย้ายกล้า และ ต้นกล้าจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วขั้นตอนที่ 4 การหว่านกล้า และการดำนา  หลังจากได้เมล็ดพันธุ์ที่คัดเลือกแล้ว ก็ทำการหว่านเมล็ดลงในแปลงเพาะที่เตรียมไว้ โดยอาจแบ่งจากที่นาประมาณ 1 งาน เพื่อทำการตกกล้า  การตกกล้าจะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 1 ถังครึ่ง ต่อแปลงเพาะขนาด 1 งาน  จะได้ต้นกล้าที่สามารถนำไปปักดำได้ประมาณ 5 ไร่ และเมื่อต้นกล้าเริ่มขึ้นควรให้ปุ๋ยน้ำหมักสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ ในปริมาณ 1 ลิตร/ 1 ไร่ หยดไปกับน้ำ หรือฉีดพ่นโดยผสมปุ๋ยน้ำ 1 ลิตร/น้ำ 400 ลิตร เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 3o วัน ก็สามารถนำไปปักดำได้ โดยต้องตัดใบออกให้เหลือความยาวจากรากประมาณ 20 ซม. เพื่อลดการคายน้ำ และทำให้ต้นข้าวฟื้นตัวได้เร็ว ในกรณีที่หว่าน หลังจากทุบทำเทือกเรียบร้อยแล้ว ใช้เมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้ประมาณ 1ถังครึ่ง ต่อนา 1 ไร่ การหว่านควรหวานให้กระจายทั่วทั้งแปลง และไม่ควรใช้เมล็ดพันธุ์มากเกินไปเพราะจะทำให้ต้นข้าวขึ้นหนาแน่นเกินไป จะทำให้ต้นข้าวแคระแกรน และสิ้นเปลืองต้นทุนเพิ่มขึ้น เพราะจะต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มมากขึ้นขั้นตอนที่ 5 ให้อาหารดินเพื่อบำรุงดิน และเร่งจุลินทรีย์ในดิน  หลังปักดำ หรือหว่านเมล็ดแล้ว 10 – 15 วันควรให้ปุ๋ยหมักแห้งอินทรีย์ชีวภาพ หรือฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพเพื่อเร่งราก และสร้างอาหารธรรมชาติให้เพียงพอต่อความต้องการของต้นกล้าโดยจุลินทรีย์ในดินจะช่วยย่อยดิน ทราย และสารอาหารในดินป้อนให้แก่รากกล้า จะส่งผลให้·       -รากลึก เร่งการแตกรากของข้าวได้มาก และยาวทำให้ต้นข้าวแข็งแรง กอมีขนาดใหญ่แน่น แข็งแรง หาอาหารได้ดี มีภูมิต้านทานโรคสูง โรคและแมลงจึงไม่รบกวน เมื่อข้าวออกรวงเต็มที่ ต้นจะไม่ล้ม·       -ข้าวแตกกอได้มาก ทรงพุ่มตั้งตรงลำต้นแกร่ง เหนียวใบแข็งแรง ตั้งตรงรับแสงแดดได้ดี ทำให้สังเคราะห์แสง และปรุงอาหารได้ดี โดยสีของใบจะเป็นสีเขียวนวล (ไม่ใช่สีเขียวเข้มบ้าใบเหมือนใช้ปุ๋ยเคมี) โดยสีของใบจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซค์·       -ใบตั้งตรง (ไม่โค้งปก)·       -สามารถรับแสงแดดได้ตลอดทั้งวัน·       -ปรุงอาหารได้ดี·       -มีภูมิต้านทานต่อโรคพืช และแมลงศัตรูพืชสูง ถึงแม้ว่าจะมีแมลงกัดกินใบบ้าง (ไม่เกิน 70 %  ในช่วงแตกกอ) ข้าวจะสามารถแตกใบทดแทนได้โดยผลผลิตไม่เสียงหาย แม้แต่น้อย ขั้นตอนที่ 6 บำรุงดิน เร่งจุลินทรีย์ ก่อนข้าวตั้งท้อง  ก่อนข้าวตั้งท้องประมาณ 15 วัน ควรบำรุงดินด้วยปุ๋ยหมักแห้งอินทรีย์ชีวภาพ และปุ๋ยน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพ เพื่อกระตุ้นารทำงานของจุลินทรีย์ในดิน ให้เร่งย่อสลาย และเมื่ออาหารเพียงพอต้นข้าวจะมีลำต้นอวบใหญ๋ ปล้องยาวใหญ่ พร้อมอุ้มท้องและเมื่อข้าวตั้งท้อง ก็จะได้ข้าวที่ท้องอวบยาว ส่งผลให้รวงยาวใหญ่เมล็ดมีขนาดสม่ำเสมอ มีจำนวนเมล็ดมาก (250-350 เมล็ดต่อ 1 รวง) เมล็ดข้าวเต็มรวง (ไม่มีเมล็ดลีบ)·       เมล็ดใส (ไม่มีท้องไข่ปลา)·       รสชาติดี มีกลิ่นหอม·       น้ำหนักดี (ถังละ 11.5-12.0 กก.)·       ผลผลิตได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด·       ราคาสูง·       นอกจากทำให้ต้นข้าวแข็งแรงแล้ว การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพยังช่วยฟื้นฟูดินให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ดินดำร่วนซุย ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างให้เหมาะสม อาหารตามธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจุลินทรีย์ในดินทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ลดการใช้ปุ๋ย และสารเคมีลง จึงประหยัดต้นทุนลงมาก·       ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างดิน จากเดิมเป็นดินที่เสื่อมโทรม เพราะผ่านการใช้สารเคมีมาอย่างหนัก และหลังจากเปลี่ยนมาทำนาแบบชีวภาพ โดยการไม่เผาฟาง และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โครงสร้างดินค่อย ๆ ดีขึ้น 5.    ระยะเวลาและวันที่ผลิตเมล็ดเมื่อพัฒนาถึงระยะสุกแก่จะเป็นระยะที่มีน้ำหนักแห้งสูงสุด เมล็ดมีความงอกและความแข็งแรงสูง แต่ความชื้นของเมล็ดยังคงสูงอยู่ สำหรับข้าวในช่วง 21 วัน หลังดอกบานเมล็ดมีความชื้นสูงประมาณ 28-30 %  ซึ่งไม่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว ต้องรอให้ความชื้นลดลงมาอีกประมาณเหลือประมาณ 20-24 % ซึ่งเป็นระยะประมาณ 25-30 วันหลังการออกดอก หรือที่เรียกว่าระยะพลับพลึง เมล็ดข้าวในรวงจะสุกเหลืองประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของรวง สำหรับการเก็บเกี่ยวไม่ว่าจะใช้แรงงานคน หรือเครื่องเกี่ยวราย จะมีการตากไว้ในนา 2-3 แดด เพื่อลดความชื้นก่อนนวด  โดยส่วนใหญ่ใช้เครื่องนวด ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงความชื้นที่เหมาะสม ไม่ควรสูงกว่า 20 % และไม่ต่ำกว่า 13 %  โดยระวังไม่ให้ใช้ความเร็วรอบมากเกินไปจะทำให้เมล็ดแตกร้าวได้ อย่างไรก็ดีในปัจจุบันนิยมใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าว ซึ่งต้องระมัดระวังการปะปนพันธุ์ที่จะเกิดขึ้นได้สูง และผู้รับจ้างมักจะเร่งเครื่องให้เก็บเกี่ยวเร็ว อาจสร้างความสูญเสียทั้งทางด้านผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ได้  การเก็บเกี่ยวต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม ความสะอาดของเครื่องเกี่ยวและภาชนะรองรับ นอกจากนี้ ควรแยกเมล็ดที่เกี่ยวจากบริเวณขอบแปลงออกต่างหากไม่นำมารวมกับส่วนที่เป็นเมล็ดพันธุ์  สำหรับเมล็ดพันธุ์ที่นวดแล้วจะต้องนำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นควรขจัดสิ่งเจือปนออก เช่น เมล็ดที่แตกหัก เศษต้นพืชเศษดิน เพื่อทำให้เมล็ดพันธุ์อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยเนื่องจากสิ่งเจือปนเหล่านี้อาจเป็นแหล่งแพร่กระจายความชื้นให้กับเมล็ดพันธุ์ หรือทำให้มีการเข้าทำลายของแมลงศัตรูข้าวได้เร็วขึ้น                เมล็ดพันธุ์ที่นวดทำความสะอาดแล้วถ้ายังมีความชื้นสูงอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเครื่องเกี่ยวนวดจะต้องทำการตากแดดก่อนที่จะนำไปบรรจุกระสอบหรือนำเข้ายุ้งฉาง โดยให้มีความชื้นไม่เกิน 14 % ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงความสะอาดของลานตาก ระวังการปะปนพันธุ์กับเมล็ดข้าวอื่น ๆ ที่ตากอยู่ด้วย สำหรับกรณีมีเครื่องอบลดความชื้นควรใช้อุณหภูมิขอลมร้อนประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส6.    การเก็บรักษา การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์มีหลักการปฏิบัติ  ดังนี้·       เก็บในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันแดดและฝนได้ดี·       ใช้ไม้หรือแคร่รองรับกระสอบ ไม่วางกับพื้นดิน หรือพื้นปูนโดยตรง·       เก็บไว้ให้เป็นสัดส่วนไม่ปะปนกับเมล็ดพันธุ์ข้าวชนิดอื่น·       สภาพการจัดกองจะต้องมีช่องว่างให้สามารถเข้าสุ่มตัวอย่างได้รอบกอง·       หมั่นครวจสอบและป้องกันกำจัดแมลงศัตรูที่จะเข้าทำลายขณะเก็บรักษา7.    สรุปการทำนาไร้สารพิษ หรือนาอินทรีย์ จะทำให้เกษตรกรสามารถผลิตข้าวคุณภาพสูง ได้มาตรฐาน ถูกหลักอนามัย ช่วยลดต้นทุนได้มากอีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูสุขภาพ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรดิน และน้ำให้อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง         

 [i1]

หมายเลขบันทึก: 146823เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2007 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมมีความสนใจการทำนาไร้สารพิษอยากทราบรายละเอียดมากกว่านี้อยากให้กลุ่มกล้วยหอมทองช่วยหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ผมจะได้ไหมครับ

 

 

จากนายสุวรรณ  อยู่พรมราช

ไม่ได้เรื่องเลย แย่มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ห้วยแตกมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ล้มไปเลยๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท