นิสัยรักการอ่าน2


การอ่านจะทำให้มีโลกของตัวเอง

 สภาพแวดล้อม และตัวละครสภาพแวดล้อม เนื่องจากการศึกษาเป็นรายกรณี ทำให้สภาพสนามมีความแตกต่างกัน ดังนี้1.       สภาพสนามจากการคิดย้อนกลับของตัวอย่างที่ 1 คือ  เป็นวัดในจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อราว 40 ปี ที่ผ่านมา เป็นวัดในชนบท ความเจริญยังเข้าไม่ถึง  เป็นสังคมการเกษตร ที่มีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีการรับเด็กวัดเข้ามาเพื่อให้ศึกษาหาความรู้ รวมทั้งการเป็นผู้ช่วยเหลือพระ ในเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน 2.       สภาพสนาม ที่ตัวอย่างที่ 1 ใช้ชีวิตในปัจจุบัน เป็นโรงเรียนบนดอย ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีครูคนเดียวในโรงเรียน โรงเรียนเป็นอาคารชั้นเดียวที่ทำจากไม้ไผ่  ชุมชนมีอาชีพ ทำการเกษตรบนที่สูง ปลูกข้าวไร่ ปลูกพืชอื่นๆ ที่เหมาะสม เช่น ข้าวโพด ฝ้าย  และเลี้ยงสัตว์ 3.       สภาพสนามของตัวอย่างที่ 2  เป็นบ้านที่เป็นร้านค้า ขายอาหาร(ต้มเลือดหมู) อยุ่ในบริเวณชุมชนย่านการค้า ใกล้เสาชิงช้า ในกรุงเทพฯ   เป็นชุมชนที่อยู่กันหนาแน่น 4.       สภาพสนามของตัวอย่างที่ 3 เป็นบ้านพักข้าราชการที่เป็นสถานศึกษา ในจังหวัดปทุมธานี  เป็นบริเวณบ้านพักข้าราชการ จำนวน 4 หลัง 5.       สภาพสนามของตัวอย่างที่ 4  เป็นบ้านเดี่ยวในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี  มีสภาพแวดล้อมร่มรื่นน่าอยู่อาศัย เป็นบ้านเดี่ยว สองชั้น มีห้องต่างๆ มีมุมสำหรับวางตู้หนังสือ 2 ตู้  

ตัวละคร  ตัวละครมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่าง และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ กลุ่มตัวอย่าง1.       ตัวอย่างที่ 1 ชื่อ ทวน  เป็นผู้ชายอายุ 45 ปี มีอาชีพเป็นครูดอย  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จบการศึกษาระดับปริญญาตรี  ไว้ผมยาว ชอบแต่งกายด้วยเสื้อผ้าพื้นเมือง  2.       ตัวอย่างที่ 2 ชื่อกัลยา  เป็นผู้หญิง อายุ 33 ปี  มีอาชีพเป็นบรรณาธิการในสำนักพิมพ์ แปลนปริทัศน์   แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสุภาพ3.       ตัวอย่างที่ 3 ชื่อ โอม เป็นผู้ชายอายุ 28 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโท มีอาชีพเป็นครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน  แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสุภาพ4.       ตัวอย่างที่ 4 ชื่อ ตาน้ำ  เป็นเด็กผู้ชายอายุ 9 ขวบ  เรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี  การแต่งกาย จะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าเนื้อดี ราคาดูแพง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ1.       แม่ของตัวอย่างที่ 4  อายุ 40 ปี  มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทน้ำมันเครื่องบิน จบการศึกษาระดับปริญญาโท                         

วิธีการดำเนินการนิยามคำศัพท์  กระบวนการ         น. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการเจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลําดับการกระทําซึ่งดําเนินต่อเนื่องกันไปจนสําเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมีเพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (อ. process).รัก           ก. มีใจผูกพัน ชอบอ่าน        ก. ว่าตามตัวหนังสือ, ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง, ถ้าไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ; สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านใจ; ตีความ เช่น อ่านรหัสอ่านลายแทง; คิด, นับ. (ไทยเดิม).คำว่า นิสัย นิสัยประกอบด้วยสิ่งที่มีในตัวคน 3 ประการได้แก่  ความสนใจใฝ่รู้  ความสม่ำเสมอ  และทัศนคติ การพัฒนานิสัยรักการอ่าน ก็ทำได้โดยหลักการเดียวกันนิสัยรักการอ่าน ในการวิจัยครั้งนี้ หมายถึง พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนบางกลุ่ม  ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสม่ำเสมอเป็นประจำ ได้แก่ การใช้เวลาว่างเพื่อการอ่าน การหาหนังสืออ่าน ลักษณะการอ่าน มีรสนิยมในการอ่า การดำเนินการวิจัย  1.ใช้การสัมภาษณ์ เป็นรายกรณี ในภาคสนาม โดยผู้ศึกษาได้ศึกษาจากคนจำนวน  4 คน ซึ่งเป็นผู้ได้รับการรับรองจากคนแวดล้อม และการยอมรับตนเองว่าเป็นคนที่มีนิสัยรักการอ่าน 2. ศึกษาเอกสารเพื่อเข้าใจกระบวนการสร้างนิสัยรักการอ่าน  ตัวอย่างที่ 1                ตัวอย่างที่ 1 ชื่อ ทวน  เป็นผู้ชายอายุ 45 ปี มีอาชีพเป็นครูดอย  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จบการศึกษาระดับปริญญาตรี  ไว้ผมยาว ชอบแต่งกายด้วยเสื้อผ้าพื้นเมือง  ช่วงชีวิตในวัยเด็กเป็นช่วงชีวิตที่มีความยากลำบาก มีปัญหาครอบครัว  ทำให้ต้องเข้าไปอยู่ในวัดแทนที่จะได้อยู่กับครอบครัว ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ  แต่การเป็นเด็กวัดก็เป็นวิถีที่คนมักจะเลือกใช้หากประสบปัญหาครอบครัว โดยแท้ที่จริงก็ยังคงมีให้เห็นถึงปัจจุบันนี้  วัดที่ทวน(ชื่อสมมติที่จะใช้เรียกต่อไปในการอธิบายบริบทของตัวอย่างที่ 1)   อยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงเวลาที่บริเวณนี้ยังเป็นพื้นที่ทำการเกษตร มีแต่เรือกสวนไร่นา ความเป็นอยู่หรือวถีชีวิตก็ยังคงเป็นแบบชนบทเต็มขั้น ถนนหนทาง พาหนะที่ใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรือ  วิถีชีวิตของทวนนอกจากจะได้รับมอบหมายหน้าที่ประจำนอกจากการเดินตามพระรับบาตร และการช่วยเหลืองานอื่นๆ แล้ว ทวนก็มีหน้าที่ประจำอีกอย่างคือ การไปรับหนังสือพิมพ์ หรือหนังสืออื่นจากร้านกาแฟ ที่ห่างออกไปจากวัดประมาณ 1 กิโลเมตร โดยหนังสือพิมพ์นี้ต้องไปทางเรือ ซึ่งก็จะล่าช้าไปหลายวันกว่าจะมาถึง แล้วทางร้านก็จะเก็บไว้ให้กับผู้ที่สั่งไว้  ทั้งนี้พระจะฝากร้านซื้อไว้ให้เป็นประจำ  ทั้งหนังสือพิมพ์ และวารสารรายปักษ์ เช่น บางกอก ซึ่งทวนก็จะไปรับและระหว่างทางที่เดินกลับจากวัดก็มักจะเปิดอ่านหนังสือก่อนพระเสมอ เพราะความสนใจ ทำให้บางครั้งไปถึงวัดช้า เพราะมัวแต่อ่านพระก็มีดุบ้างเพราะพระก็รออ่าน แต่ก็จะไม่ได้ว่ากล่าวอะไรมากคงเป็นเพราะเห็นว่าเด็กคนนี้ชอบอ่าน วิธีการอ่านก็จะเลือกอ่านเรื่องที่สนใจ โดยไม่ได้อ่านทั้งหมด แต่เริ่มอ่านจากเรื่องนิยายจีนที่แปลเป็นภาษาไทย ที่จะลงเป็นตอนๆ ในหนังสือพิมพ์ หนังสือบางกอกบ้าง ทำให้รู้สึกสนุก ทั้งๆที่เพื่อนเด็กวัดด้วยกันไม่มีใครสนใจ เมื่อเข้าโรงเรียนทวนก็สามารถอ่านได้เร็ว อ่านได้คล่องกว่าเพื่อนๆ ต่อมาเมื่อขึ้นประมาณชั้นป.4 ก็เริ่มอ่านนิยายจีนเป็นเล่มๆ ซึ่งเป็นของร้านค้า เวลาพระใช้ให้ไปซื้อของก็มักจะแวะอ่านหนังสือนิยายพวกนี้เสมอ โดยไม่ว่าพระองค์ไหนจะให้ไปซื้อของ ทวนก็มักจะอาสาไปให้เพราะต้องการไปอ่านนิยายจีน ส่วนหนึ่งเพราะประเภทหนังสือไม่หลากหลายเหมือนในปัจจุบัน  ในช่วงขึ้นป.5 เป็นอีกช่วงเวลาที่โลกของการอ่านของทวนมีขึ้นอย่างจริงจังหลังจากการไปพบกุฎีพระไม่มีพระอยู่แต่เป็นที่เก็ของที่ไม่ใช้รวมทั้งหนังสือด้วย ทำให้ทวนตื่นเต้นกับจำนวนหนังสือที่เปรียบเหมือนผู้ที่เจอคลังสมบัติ เพราะทวนได้เข้าไปเก็บกวาดห้องนั้น ย้ายหนังสือไว้มุมหนึ่งกลายเป็นห้องสมุดส่วนตัวเล็กๆ เพราะไม่ได้มีใครสนใจ ทำให้มีโอกาสอ่านหนังสือหลากหลายมากขึ้น ทั้งเพชรพระอุมา ชัยพฤษ์การ์ตูน พลนิกรกิมหงวน บางกอก ขุนศึก ทำให้อ่านมากขึ้นและอ่านได้หลายรอบเพราะไม่ต้องเกรงใจใคร เสมือนเป็นหนังสือส่วนตัวของทวนในระหว่างที่อยู่วัดหลังจากจบ ป.7 พระก็ไม่ได้ส่งเสียต่อ เพราะเด็กวัดส่วนใหญ่ก็จะเลิกเรียน แต่ทวนต้องการเรียนต่อจึงต้องทำงานไป อาศัยวัดไป และเรียนหนังสือ  ส่วนหนึ่งทวนบอกว่าน่าจะเป็นแนวคิดที่ได้จากการอ่านเพราะมีส่วนทำให้วิธีคิดเปลี่ยนไป เห็นจากในตัวละครของนิยายบางเล่ม เห็นแนวคิดที่ชื่นชอบผ่านการอ่านทำให้ก็ยังขวนขวายในการเรียนแม้บางปีต้องหยุดเรียนไปเพราะหาเงินค่าเทอมไม่ทันแต่ก็จะกลับไปเรียนเสมอเมื่อมีความพร้อมในแต่ละปี ทำให้กว่าจะจบปริญญาตรีก็อายุราว 27-28 ปี  แนวคิดต่อสังคมก็เริ่มจากการเป็นนักอ่านเพราะเมื่อเรียนในระดับมหาวิทยาลัยโลกของการอ่านได้เปิดมิติการอ่านออกไปอย่างมากพราะ การอ่านนอกจากการอ่านนิยายจีนที่ก็ยังชื่นชอบอยู่ก็เริ่มอ่านหนังสือปรัญชา แนวคิดต่างๆ สารคดีท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสกับคนที่มีนิสัยรักการอ่านเหมือนกัน ทำให้มีการพูดคุยแสดงความเห็น เกิดเป็นสังคมเล็กๆ ของโลกการอ่านที่มีอิทธิพลทางความคิดอย่างมาก เพราะตอนเรียนก็จะออกค่ายเพื่อพัฒนาชนบท หรือจนกระทั่งจบก็เลือกไปรับราชการเป็นครูดอย ทั้งที่สอบได้ที่ 1 มีโอกาสเลือกที่จะอยู่ในจังหวัดที่เจริญก็ได้ แต่ครูทวนเลือกไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน และเลือกโรงเรียนที่อยู่ไกลสุดที่ไม่มีใครต้องการไป เพราะเข้าไม่ถึง ต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ไปส่งเครื่องอุปโภคบริโภค  ก็เข้าใจว่าน่าจะได้ปลูกฝังแนวคิดเพื่อสังคมจากการอ่าน นอกจากนี้การอ่านจะทำให้มีโลกของตัวเอง ได้ดื่มด่ำไปกับจินตนาการ กับเนื้อเรื่องอ่านไปคิดไป อิสระจากสิ่งรอบข้างแม้จะเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์การอ่านก็จะทำให้สามารถหลีกลี้จากสิ่งเหล่านี้โดยง่ายเมื่อหลุดเข้าไปในเรื่องที่อ่าน   เพราะบางครั้งก็จะเบื่อสภาพแวดล้อม เช่น รถเสียงดัง  คนคุยกันในเรื่องที่ไม่อยากคุยด้วย เมือ่ได้อ่านก็จะทำให้ไม่รู้สึกว่าได้ยินเสียงเหล่านั้น สำหรับระยะเวลาในการอ่านนั้นไม่เคยคำนึงถึงหากมีเวลาสามารถอ่านได้ตั้งแต่ 2 นาที ไปถึงทั้งวันทั้งคืน  ตัวอย่างที่ 2                ตัวอย่างที่ 2 ชื่อกัลยา  เป็นผู้หญิง อายุ 33 ปี  มีอาชีพเป็นบรรณาธิการในสำนักพิมพ์ แปลนปริทัศน์   แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสุภาพ                กัลยาเป็นลูกคนที่ 1 และมีพี่น้องผู้ชายอีก 3 คน เป็นครอบครัวที่มีพ่อชอบอ่าน และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้ลูก กัลยา จำความได้ก็ชอบอ่านหนังสือแล้วเพราะจะเริ่มจากความสนุกที่พ่อมักสรรหามาเล่า โดยได้มาจากหนังสือที่พ่ออ่าน ทำให้เกิดความสนุกต้องการมีเรื่องมาแลกเปลี่ยนเรื่องความคิดเห็นกับพ่อ จนสามารถอ่านเรื่องยากๆ ได้ตั้งแต่ยังไม่เข้าโรงเรียน  เช่น สามัคคีเภทคำฉันท์  เวลาเรียนก็สนุกและเรียนหนังสือได้เป็นที่ 1 ของห้องตลอด  แต่น้องๆ ที่เป็นผู้ชายทั้งหมดกลับไม่มีใครชอบอ่าน  ทั้งที่พ่อก็มักจะชักชวนให้ทำกิจกรรมคล้ายๆ กัน  แต่จะชอบวิชาคณิตศาสตร์กันทั้ง 3 คน จนปัจจุบันก็ทำงานด้านบัญชีกันทุกคน หนังสือที่อ่าน ก็จะเป็นหนังสือเกือบทุกประเภทยกเว้นหนังสือวิชาการทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ จนทำงานก็ทำงานอยู่กับหนังสือ ทำงานในสำนักพิมพ์มาตลอด ตัวอย่างที่ 3 ตัวอย่างที่ 3 ชื่อ โอม เป็นผู้ชายอายุ 28 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโท มีอาชีพเป็นครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน  แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสุภาพ                โอม เป็นครูสอนสังคมศึกษา  โอมเล่าว่า ไม่ได้เป็นคนชอบอ่านหนังสือ มาเริ่มชอบตอนอยู่ราวมัธยมปลาย เพราะได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งเป็นหนังสือสารคดี นิตยสารสารคดี ที่เพื่อนผู้หญิงนำมาให้อ่าน หลังจากอ่านแล้วรู้สึกว่าสนุก ได้ความรู้ แล้วก็รู้สึกตัวเองว่าไปอยู่ไหนมาทำไมไม่อ่านหนังสือมาตั้งนานแล้ว  และปรากกว่าจากที่เคยเรียนหนังสือไม่เก่ง ปรากฏว่าสามารถเอ็นทรานซ์ติด มหาวิทยาลัยบูรพา  และเริ่มสนใจอ่านหนังสือมากขึ้น จนเรียนจบก็สามารถสอบแข่งขันเข้ารับราชการครูได้  แล้วก็ลามาเรียนต่อจนจบปริญญาโท    ตัวอย่างที่ 4 ตัวอย่างที่ 4 ชื่อ ตาน้ำ  เป็นเด็กผู้ชายอายุ 9 ขวบ  เรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี  เป็นกรณีศึกษาโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และได้เข้าไปในวิ๔ชีวิตตัวอย่างประมาณ  2  วัน โดยไม่ได้ค้างคืน                 ตาน้ำเป็นลูกคนเดียวของครอบครัว อยู่ในครอบครัวที่พ่อแม่ส่งเสริมการอ่าน  จะพบว่าเป็นบ้านที่มีหนังสือสำหรับเด็กทั้งที่เป็นหนังสือความรู้และหนังสือการณ์ตูนความรู้  ส่วนใหญ่ในช่วงเวลาที่เข้าไปสังเกต ก็จะพบว่า ตาน้ำก็จะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ทำการบ้าน เสร็จแล้วก็ดูการ์ตูน แล้วก็มาอ่านหนังสือ ซึ่งสามารถอ่านได้เป็นชั่วโมง จนกว่าเล่มที่อ่านนั้นจะจบ  จากการสอบถามแม่ของตาน้ำก็จะทราบว่า ชอบอ่านมาตั้งแต่เด็กๆ  ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากแม่ที่จะชอบเล่านิทานโดยการอ่านหนังสือมาให้ลูกฝังตั้งแต่แรกเกิด และแม่ของตาน้ำเชื่อว่าไม่ได้เป็นโดยกำเนิดแน่ๆ  และเชื่อว่าจากการจัดสภาพแวดล้อมให้อย่างต่อเนื่องจริงจัง แต่ไม่ได้บังคับ น่าจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกมีนิสัยรักการอ่าน ทุกวันนี้ หากจะไปเที่ยวที่ไหน ไม่ว่าใกล้ไกล ตาน้ำจะต้องเตรียมหนังสือใส่เป้ไปอ่านทุกครั้ง  และจะมีหนังสืออยู่ทุกที่ที่ตาน้ำใช้บริเวณนั้น เช่น ห้องนอน   ห้องนั่งเล่น  ห้องรับแขก  ในรถ และจะเป็นหนังสือให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ถึงจะเป็นการ์ตูนก็เป็นการ์ตูนวิทยาศาสตร์             ผลการศึกษาจากการศึกษากระบวนการอ่านสร้างนิสัยรักการอ่านพบว่า 1. เริ่มต้นด้วยการอ่านจากเรื่องที่สนใจ   จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง  พบว่า การอ่านของผู้ที่มีนิสัยรักการอ่านทุกคนเริ่มอ่านจากเรื่องที่สนใจ  และสามารถขยายออกไปในแขนงอื่นๆได้ในภายหลัง2. การอ่านนั้นไม่มีใครบังคับ  จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง  พบว่า การอ่านของผู้ที่มีนิสัยรักการอ่านทุกคนสนใจที่จะอ่านเองโดยไม่มีใครบังคับ  แต่หากบังคับก็จะเกิดความรำคาญ  สอดคล้อกับ ทฤษฎีของ ธอร์นไดค์ (Thorndike) ได้เสนอกฎการเรียนรู้ 3 ข้อ ในข้อที่ 1คือ  กฎแห่งความพร้อม ( Law of Readiness)  ที่กล่าวว่าหากพร้อมแล้วได้กระทําจะเกิดความพอใจ แต่ถ้าหากพร้อมแล้วไม่ได้กระทํา หรือไม่พร้อมแต่ถูกบังคับให้กระทํา จะเกิดความรําคาญใจ (อ้างใน ทิศนา แขมมณี ,2550 : 51)3. การอ่านนั้นสัมพันธ์กับการเรียนดี  เพราะกลุ่มตัวอย่างทุกคนจะเรียนหนังสือดี แม้จะไม่ใช่คนที่เรียนเก่งที่สุดแต่ก็คือจะเรียนดี  เพราะจะเป็นผู้ที่มีทักษะการอ่านดี สอดคล้องกับ ฮิลการด์ ที่กล่าวว่า ความเข้าใจทางภาษาจะเป็นรากฐานของการเรียนในทุกระดับชั้น (อ้างใน ฉวีลักษณ์ บุณยกาญจน,2547 :63)4. การอ่านนั้นจะมีความสนใจไปตามวัย เพราะนอกจาการเริ่มอ่านในเรื่องที่สนใจแล้วแนวโน้มของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สามารถอ่านเรื่องยากขึ้นได้ และอ่านในเรื่องที่เป็นนามธรรมได้ สอดคล้อง กับ ทฤษฎีของเพียเจต์ (อ้างใน ทิศนา แขมมณี ,2550 : 64)ที่กล่าวถึง  พัฒนาการทางสติปัญญาตามวัยที่มีความสัพันธ์กับเรื่องที่อ่าน ลักษณะสำคัญคือ ขั้นแต่ละขั้นแตกต่างกัน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากขั้นหนึ่งไปขั้นที่สูงกว่า ไม่มีการข้ามขั้น  

   สรุป และอภิปรายผล
สรุปและอภิปรายผลจากการศึกษากระบวนการสร้างนิสัยรักการอ่านสามารถสรุปได้ว่า กระบวนการสร้างนิสัยรักการอ่านนั้นมีหลายมิติ การใช้ระยะเวลาในการศึกษาเพียง 2 เดือน ทำให้บริบทนี้ยังไม่ชัดเจน แต่ก็สามารถมองเห็นแนวทางของการพัฒนานิสัยรักการอ่านได้ว่า การบังคับไม่เกิดผลดีต่อกระบวนการสร้างนิสัยรักการอ่าน ดังเช่นที่โรงเรียนในปัจจุบันมักนำกิจกรรมเข้าไปมากกมายเกี่ยวกับการอ่าน โดยไม่คำนึงถึงว่าเป็นการกระทำที่กำลังยัดเยียดให้ผู้เรียนต้องอ่านหนังสือ ซึ่งเป็นความขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับที่ได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ที่ทุกพูดตรงกันว่า กระบวนการสร้างนิสัยรักการอ่านไม่สามารถเกิดขึ้นได้แน่นอนหากเป็นลักษณะของการบังคับ ที่ควรต้องศึกษาเพิ่ม                สำหรับในมิติของครอบครัว พบว่าการจัดสภาพแวดล้อมให้อยู่ในบรรยากาศของการอ่านสามารถสร้างได้ โดยใช้วิธีดูดซึมคือค่อยๆ รับโดยไม่เร่งรัด แต่ให้เห็นว่าเป็นความสุขในการอ่าน เมื่อมีความสุขก็จะต้องการทำกิจกรรมเดิมนั้นซ้ำ จนกลายเป็นนิสัยได้ ดังทฤษฎีกฎการเรียนรู้สามข้อที่อ้างแล้วด้านบน                 นอกจากนี้ การอ่านมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ต่อความคิด  ดังเช่น อัลเบิต ไอสไตน์ กล่าวว่า จิตนาการ สำคัญกว่าความรู้ที่ได้        เอกสารอ้างอิงAccelerated Learning Network. 2001. Test yourself- How are you smart?.
URL: http://www.accelerated-learning.net/learning_test.html.
Multiple Intelligences, 2000. URL: http://www.springfield.k12.il.us/schools/ Graham/MI/ index.html.

ทิศนา แขมมณี . (2550)  ศาสตร์การสอน   กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นานมีบุคส์สงัด อุทรานันท์ .(2527) พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ฉวีลักษณ์  บุณยกาญจน . (2547)  จิตวิทยาการอ่าน .กรุงเทพฯ : ธารอักษร............................................................................ ...

  

คำสำคัญ (Tags): #การอ่าน
หมายเลขบันทึก: 146266เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2007 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ทำอย่างไร เด็กในชนบท เขาจะมีนิสัยรักการอ่าน

ผมยัง ต้องการทราบข่าวพี่ทวนอยู่นะครับ ตอนนี้รวบรวมเพื่อนได้ค่อนข้างเยอะแล้ว

ใครรู้จักทวนและรู้ว่าอยู่ที่ไหนกรุณาแจ้งให้ทราบด้วย ติดต่อสุดท้ายทวนไปท่องเนปาลอินเดีย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท