ไปดูเครือข่ายสัจจะลดรายจ่าย วันละ ๑ บาท ที่จังหวัดสงขลา


หลักการลดรายจ่าย เท่ากับเพิ่มเงินออม ๑ บาทเหมาะสมหรือไม่?

เที่ยวนี้ผมมีโอกาส ไปบันทึกเทปสารคดี "มหาวิทยาลัยชีวิต" ที่ จังหวัดสงขลา  ก็ได้มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ดี ๆ ของ ดร.ครูชบ  ยอดแก้ว ที่เครือข่ายกองทุนสัจจะลดรายจ่ายวันละ ๑ บาท 

ประเด็นน่าจะอยู่ที่ว่า เมื่อครูชบ มักจะบอกว่าการทำกลุ่มออมทรัพย์ จะทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้การจัดการงาน และเงินในชุมชนได้อย่างดี เป็นทั้งบทเรียนที่ไม่ควรพลาด

และประสบการณ์การนำเอาหลักของการบริหารเงินมาสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนได้ เช่น เป็นสวัสดิการเรื่องค่ารักษาพยาบาล ซึ่งกระทำได้ตั้งแต่ปีแรกของการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์นั้นหมายถึง ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นนำมาเป็นสวัสดิการของสมาชิกกลุ่มฯ

แต่ในชุมชนที่ได้ความรู้มาคล้ายกันแต่นำไปใช้เรื่องของสวัสดิการมากกว่าการปันผม เช่นธนาคารชีวิตของวัดอู่ตะเภา หรือของวัดดอน ต.คูเต่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ก็ดำเนินมากว่า ๒๐ ปี เหมือนกัน เน้นเรื่องการมีสัจจะวันละ บาทเหมือนกันปัจจุบันยังเพียงพอต่อสวัสดิการของชาวบ้าน (เงินหมุนเวียน ประมาณ ๔ ล้านบาท) แต่พอเป็นเครือข่ายกันทั้งจังหวัด  ก็มีการแลกเปลี่ยนกัน แต่ธนาคารชีวิต และเครือข่ายสัจจะลดรายจ่ายวัน ๑ บาท เป็นเรื่องเดียวกัน ทางออกของพระครูพิพัฒนโชติ (พระอาจารย์ทอง) เจ้าอาวาสวัดดอน คือ อาจจะลองปรึกษากับคณะกรรมการธนาคารชีวิตว่า ของเราทำเงิน ๑ บาท แล้วจัดสวัสดิการของสมาชิกในกลุ่มเรา ถ้าเราปรับเป็น ๒ บาท บาทแรกก็ทำในกลุ่มเหมือนเดิม แต่บาทสองไปรวมกับเครือข่ายจังหวัดน่าจะได้สวัสดิการมากกว่า และขยายผู้ที่เราได้ช่วยเหลือออกไปอีก ก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจดี ....

ปีหน้าที่ธนาคารชีวิตเข้าร่วมเครือข่ายสัจจะลดรายจ่ายวันละบาท ทางกลุ่มธนาคารชีวิต คงต้องปรับเป็นการเก็บสัจจะวันละสองบาทแทนหนึ่งบาทของเก่า แต่การบริหารจัดการคงเหมือนเดิม ส่วนอีกบาทคงตัดยอดมาคิดที่เครือข่ายจังหวัดแทนครับ  น่าสนใจครับความคิดนี้

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 145844เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2007 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท