เล่นแบดมินตันอย่างเดียว พอรึเปล่า สำหรับสุขภาพที่ดี?


การเล่นแบดมินตันอย่างเดียวอาจจะไม่พอสำหรับคำว่า "สุขภาพที่ดี" ก็เป็นได้

คนส่วนมากเดี๋ยวนี้พูดถึงเรื่องสุขภาพกันเยอะขึ้น

ไม่ว่าจะเป็น เรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย ฯลฯ

สังเกตได้จากเวลาเลิกงาน, เลิกเรียน จะมีคนมาออกกำลังกายกันเยอะแยะไปหมด

ซึ่งผมเองก็ชอบการออกกำลังกายเหมือนกัน โดยเฉพาะกีฬาแบดมินตัน . . . แต่เคยถามตัวเองเหมือนกันว่าเล่นกีฬาชนิดนี้อย่างเดียวพอรึเปล่า ซึ่งคำตอบที่ได้รับ กลับกลายเป็นว่า "ไม่พอ" (ต้องขอขอบคุณ ห้องสมุดที่ชื่อว่า internet  จริงๆ หาอะไรก็เจอ) พอเข้าไปศึกษาเรื่องการออกกำลังกายอย่างจริงๆ จังๆ ปรากฎว่า การออกกำลังกายมีหลายแบบด้วยกัน ซึ่งแบ่งออก เป็น 2 ส่วน ได้แก่

1. การออกกำลังกายแบบแอโรบิค
(Aerobic Exercise)
ถ้าจะให้พูดกันง่ายๆ ก็คือการออกกำลังกายประเภทนี้เป็นการออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง (20 นาทีขึ้นไป) เช่น การวิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค ฯลฯ การออกกำลังกายแบบนี้เป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และยังทำให้หัวใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต และปอดแข็งแรง ซึ่งการออกกำลังกายชนิดนี้ต้องใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญพลังงานในการออกกำลังกาย มีการใช้แป้งและไขมันมาเป็นพลังงาน

2. การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค
(Anaerobic Exercise)

ก็คือการออกกำลังกาย แบบหนักหน่วง ใช้ระยะเวลาสั้น

การเล่นกีฬาอย่าง เทนนิส,  แบดมินตัน หัวใจมีการทำงานหนัก แต่ไม่สม่ำเสมอ ตามหลักวิชาเวชศาสตร์การกีฬา แพทย์ไม่ถือว่าเป็นกีฬาที่เหมาะสมต่อการบริหารร่างกายและหัวใจ เพราะขณะที่เรายืนรอรับลูกเสริฟนั้นหัวใจเต้นอยู่ในภาวะเกือบปกติ หลังจากรับลูกเสริฟข้ามตาข่ายไปแล้ว มีการเตรียมตอบโต้กันไปมา การวิ่งเข้าหาลูกแต่ละครั้ง ต้องวิ่งอย่างเต็มที่ ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นทันที  พอตีลูกโต้กลับไปได้ ก็หยุดพักหรือมีการเคลื่อนไหวน้อย ทำให้หัวใจและร่างกายทำงานแบบเดี๋ยวเร่งเดี๋ยวหยุดไม่สม่ำเสมอ โอกาสที่หัวใจและร่างกายจะชำรุดทรุดโทรมเร็วจึงเป็นไปได้มาก เรามักจะได้ข่าวเกี่ยวกับกนที่เล่นกอล์ฟหรือเล่นเทนนิสเป็นประจำเป็นโรคหัวใจหรือ
เกิดหัวใจวายคาสนามพวกนี้จะได้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ การออกกำลังกายชนิดนี้จะใช้แป้งมาเป็นพลังงาน

เพราะฉนั้นการเล่นแบดมินตันอย่างเดียวอาจจะไม่พอสำหรับคำว่า "สุขภาพที่ดี" ก็เป็นได้ 

ก่อนที่จะออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตามควรมีการ วอร์มอัพ วอร์มดาวน์ ทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังเล่น ด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 144577เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2007 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2014 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
อ้างถึง "ขณะที่เรายืนรอรับลูกเสริฟนั้นหัวใจเต้นอยู่ในภาวะเกือบปกติ หลังจากรับลูกเสริฟข้ามตาข่ายไปแล้ว มีการเตรียมตอบโต้กันไปมา การวิ่งเข้าหาลูกแต่ละครั้ง ต้องวิ่งอย่างเต็มที่ ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นทันที "

ผมก็ดันนึกว่าพอเราตบลงได้แต้ม แล้วมีสาวกรี๊ด  จึงทำให้้หัวใจเราเต้นแรงขึ้นซะอีก    
ว้า...  เข้าใจผิดมาตั้งนาน



ส่วนผม..  ช่วงนี้หากีฬาเล่นไม่ค่อยได้  เลยหันมาวิ่งครั้งละ 20-30 นาทีแทน ครับ 

คุณกระป๋องเป็นคนช่างสังเกตจริง ๆ เลย ทุกวันนี้ก็เล่นกีฬาอยู่ 2 ชนิด คือ วิ่ง กับ แบดมินตัน อ่านที่คุณกระป๋องศึกษาเรื่องการออกกำลังกายมารู้สึกดีจังที่ตัวเองน่าจะได้การออกกำลังกายทั้ง 2 แบบ สำคัญกว่านั้น เล่นเท่าไหร่ก็ไม่เห็นจะเก่งขึ้นเลย อิอิ ทำไงดีคะคุณกระป๋อง 

แล้วออกรอบตีกล๊อฟที่ปังย่าจะเป็นการออกกำลังกายแบบไหนเอ่ย อิอิ

ตอบ พี่ Ko 

ที่หัวใจเต้นแรงเพราะสาวกรี๊ด คงทำได้เฉพาะพี่เหมือนเดิมแหละครับ

ส่วนเรื่องวิ่ง เนี่ย ยศว่าดีนะ แต่อยากหาก๊วนวิ่งด้วยกันเพราะว่า วิ่งคนเดียวคงเบื่ออ่ะ

 

ตอบ คุณ ngorbright

จริงๆ แล้วตีแบด ต้องอาศัยความชำนาญเหมือนกีฬาประเภทอื่นๆ ครับ ยิ่งซ้อมเยอะ ยิ่งเก่ง แต่ที่สำคัญ พื้นฐานที่ใช้ในการซ้อมต้องถูกต้องด้วยนะครับ ถ้าพื้นฐานไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก ก็จะผิดไปตลอดทำให้ พัฒนาไปได้ไม่ไกลเท่าที่ควร

ส่วนการตีกอล์ฟ แบบปังย่า -_-'' คงช่วยได้แต่เรื่องสมาธิครับ ตอนที่ตีแล้ว มันร้อง "ปังย่า" อ่ะ ต้องนิ่งจริงๆ (ฮา)

โฮ  ดีมาก ๆ เลยค่ะ ได้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย ตอนนี้ก็ออกกำลังกายด้วยการเดินเร็วและวิ่งสลับ ต่อท้ายด้วยกายบริหารด้วยค่ะ วันละประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ก็น่าจะดีต่อสุขภาพแต่จะพอหรือไม่คงขึ้นอยู่กับความถี่ว่ากี่วันต่อสัปดาห์ นะคะ

ตอบ พี่รวงข้าว
P ดีเลยครับ สุขภาพจะได้แข็งแรง ^ ^

เยี่ยมยอด ..ความรู้มากมายครับ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท