เบื้องหลัง : กว่าจะเป็น 5 บันทึกเรื่องราวจากสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มมส เมื่อ 3 พ.ย.2550


บันทึกนี้ กล่าวถึงกระบวนการ ขั้นตอน แนวคิดตั้งแต่เริ่มต้น จนเห็นเป็นบันทึก 5 บันทึกใน blog แห่งนี้ ซึ่งได้แก่

1. ประมวลภาพ ข้อมูลวัฒนธรรม ที่สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2. ประมวลภาพ การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการตามภูมิปัญญาท้องถิ่น 3 พ.ย. 2550
3. 10 วิดีโอคลิป (video clip) การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ 3 พ.ย. 2550
4. เมื่อ ดร.แสวง รวยสูงเนินมาจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ มมส. 3 พ.ย. 50 (ดร.แสวง Vs นายบอน F2F volume 2 )
และ 5. เบื้องหลัง : กว่าจะเป็น 5 บันทึกเรื่องราวจากสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มมส เมื่อ 3 พ.ย.2550

คือ บันทึกที่กำลังเปิดอ่านอยู่นี้

ปกติแล้ว การเขียนบันทึกเหตุการณ์ 1 เรื่อง สำหรับหลายท่าน ดูเหมือนเป็นสิ่งที่ยากเย็น ยิ่งมาเขียน 5 บันทึกยิ่งดูเหมือนยากยิ่วนัก

แต่เนื่องจากนายบอน เขียนบันทึกสม่ำเสมอ มองประเด็น และจับประเด็นได้ จึงแยกออกเป็น 5 บันทึก มีทั้งประเด็น เหตุการณ์ รูปภาพนับร้อย และคลิปวิดีโอบันทึกบรรยากาศเหตุการณ์บางช่วงบางตอน แม้ว่า การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการจะเป็นรูปแบบที่หลายที่จัดกันอย่างดาดดื่น แต่รายละเอียดปลีกย่อยย่อมแตกต่างกันไป

ขอเริ่มต้นเล่าเบื้องหลัง ตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 3 พ.ย. 2550 นายบอนเดินทางมาถึงหน้าอาคารสถาบันวิจัยศิลปะฯ หรือที่หลายคนเรียกขานว่า ตึกโบสถ์ มมส.เก่า เมื่อมาถึง เห็นมีทีมงานใส่เสื้อเหลืองนั่งรอตรงทางเข้าชั้น 1 อยู่ 2 ท่าน ภายหลังทราบว่า เป็นผู้ที่คอยต้อนรับและแนะนำสถานที่จัดสัมมนาว่าอยู่บนชั้นที่ 4 เนื่องจาก ไม่ได้มีการจัดทำป้ายแจ้งสถานที่ ชื่อกิจกรรมการสัมมนา ห้องประชุมเอาไว้ จึงใช้ทีมงานมาแทนป้ายบอกสถานที่ที่ดูไร้ชีวิต ซึ่งดูเป็นกันเองมากขึ้น

นายบอนยังไม่เดินเข้าไปหา แต่กลับเดินสำรวจรอบตึกโบสถ์ และเดินเข้าประตูด้านหลังอาคาร เข้ามาเจอห้องประชุมชั้น 1 ซึ่งมีโปสเตอร์ ข้อมูลศิลปะวัฒนธรรม โปสเตอร์เชิดชูศิลปินพื้นบ้านอีสาน 2550 , ข้อมูลชาติพันธุ์อีสาน นายบอนเลยหยิบกล้องดิจิตอลคู่ใจ เดินถ่ายทุกโปสเตอร์ เอามาเผยแพร่ใน blog เสียเลย เพราะยังมีผู้ที่สนใจเรื่องราวเหล่านี้ อีกมากมายที่ยังไม่เคยมาที่แห่งนี้

ทำให้ได้บันทึกที่ 1

เดินขึ้นมาชั้นที่ 2-3 เดินสำรวจโดยรอบพบข้าวของเครื่องใช้ เรือนไทยจำลองต่างๆ จึงทำการบันทึกภาพนิ่งหลายภาพอย่างจุใจ

เมื่อเดินมายังห้องจัดประชุมสัมมนา ก็เริ่มต้นบันทึกภาพนิ่งไปเรื่อยๆ ท่าน ดร.ประสิทธิ์ ประคองศรี เห็นนายบอนจึงเรียกให้ไปพบ และมอบหมายให้บันทึกวิดีโอ ด้วยกล้องวิดีโอ JVA Handycam ของท่าน นายบอนจึงต้องเตรียมอุปกรณ์ ชาร์ทแบตเตอรี่ของกล้องวิดีโอ, กล้องดิจิตอลไปพร้อมกัน วางแผน คำนวณ กำลังไฟของแบตเตอรี่ และสังเกตจังหวะการสัมมนาแต่ละช่วงเพื่อตามไปจับภาพ เก็บภาพ บันทึกวิดีโอ ทั้งกล้องของ ดร.ประสิทธิ์ และกล้องดิจิตอลคู่ใจของนายบอนเอง ช่วงพัก ก็ต้องรีบมาชาร์ทแบตเตอรี่อยู่เรื่อยๆ

ในช่วงบ่าย ต้องเหนื่อยพอสมควร เพราะมีการประชุมกลุ่มย่อยที่แยกประชุมตามห้อง และชั้นต่างๆ สังเกตการณ์ จับภาพ ถ่ายคลิปวิดีโอ + ภาพนิ่ง จนเมื่อยมือ จนถึงช่วงรวมทุกกลุ่มมาประชุมใหญ่ จึงตั้งขากล้องเดินกล้องวิดีโอถ่ายภาพไปเรื่อยๆ สายตาต้องคอยสังเกตประจุไฟในแบตเตอรี่ที่เหลืออยู่ตลอดเวลา ซึ่งในที่สุดก็สามารถเก็บบันทึกเหตุการณ์จนถึงช่วงกล่าวสรุปปิดท้าย และถ่ายรูปหมู่ที่ระลึก จนแบตเตอรี่ของกล้องวิดีโอหมดพอดี

บางช่วง นายบอนทำการถ่ายคลิปวิดีโอ พร้อมกัน 2 กล้อง 2 มือ จับ 2 กล้อง ยิ่งช่วงที่ ดร.ประสิทธิ์ กล่าวปิดท้าย ท่านเดินไปเดินมา ก็ต้องเอี้ยวตัว จับกล้องตามเก็บภาพท่านไปด้วย สนุกดีเหมือนกัน

เมื่องานเสร็จสิ้น ขั้นตอนหลังจากนั้น คือ การประมวลผลสรุปข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขั้นต่อไป ในส่วนของงานสื่อที่นำมานำเสนอใน blog แห่งนี้นั้น

1. ถ่ายไฟล์ข้อมูลในกล้องดิจิตอลของนายบอน ลงใน computer มีข้อมูลรูปภาพ 200 ไฟล์ คลิปวิดีโอ 15 ไฟล์ ตรวจสอบ และลบภาพที่ใช้ไม่ได้ทิ้ง

2. เปิดโปรแกรม ACDSee ทำการ resize ขนาดภาพ และทำ JPEG compression เพื่อปรับขนาดของไฟล์ภาพให้เหมาะสมกับการนำเสนอทาง internet

3. ทำการตัดต่อคลิปวิดีโอ ให้เหลือเพียง 10 ไฟล์ แปลงไฟล์จาก .AVI เป็น . wmv เพื่อความสะดวกในการ upload ขึ้นไปนำเสนอใน internet

4. นั่งร่างประเด็นหลักในการเขียนบันทึก ร่างรูปแบบคร่าวๆ จะวางภาพประกอบ + คลิปวิดีโออย่างไร ร่างไว้ เพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน

5. ทำการ upload รูปภาพ + คลิปวิดีโอ ขึ้นสู่ internet

6. Copy source code URL ของภาพแต่ละภาพ คลิปแต่ละคลิป มาวางไว้ใน Notepad

7. พิมพ์เนื้อหาบันทึกแต่ละเรื่องแล้วแทรก Code ของรูปภาพและคลิปใส่ตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ ลงใน Zoundry blog writer

8. จากข้อ 7 Copy code ไปใส่ไว้ใน blogger.com ใน account ที่สมัครไว้ จัดแต่งรูปภาพการแสดงผล แล้ว login เข้า gotoknow ทำการ copy และ post แต่ละบันทึก

ที่ต้อง copy ไปใส่ไว้ใน blogger ก่อนแล้วจึง copy อีกครั้งใส่ใน gotoknow เพื่อแก้ไขปัญหาการระบุขนาดภาพ ซึ่งใน gotoknow จะต้องระบุ ขนาดความกว้าง ความยาวของภาพในขณะที่จะทำการแทรกรูป หากไฟล์รูปภาพ เก็บไว้ที่ gotoknow จะมีการคำนวณขนาดให้อัตโนมัติ แต่ในกรณีที่ทำการแทรก code รูปภาพที่เก็บไว้ที่เวบอื่นๆหลายภาพพร้อมกัน gotoknow ไม่ได้ทำการคำนวณให้ ขนาดภาพจะเล็กกว่าขนาดจริงทุกภาพ

9.รูปแบบจากข้อ 8 เป็นการลดขั้นตอนการแทรกรูป แทรกคลิปทีละรูปของ gotoknow เพราะการใส่รูปในบางบันทึก เกือบ 100 รูป หากทำการแทรกรูปตามขั้นตอนของ gotoknow จะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง สำหรับการแทรกรูปอย่างเดียว แต่เมื่อใช้ความสามารถของเครื่องมือจาก blog อื่น มาใช้ตกแต่งบันทึกสำหรับ gotoknow ทำให้ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาทีเท่านั้น

10. post ข้อมูล ใน 4 บันทึกก่อน ส่วนบันทึกที่กำลังเปิดดูอยู่นี้ post หลังสุด

สำหรับการเผยแพร่ข้อมูลใน gotoknow เสร็จแล้วครับ ยังจะต้องนำรูปภาพ คลิป และข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้อง ไปเก็บไว้ในเวบไซต์ของ สมาคมพัฒนาชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นองค์กรที่ร่วมจัดงานนี้ด้วยเช่นกันครับ

ถ้ามองดูกระบวนการทำงานแล้ว บางท่านคงรู้สึกว่า ทำไมยุ่งยากจัง ซึ่งนายบอนต้องรวบรวมสมาธิ และตั้งสติให้ดีๆเช่นกันครับ ไม่เช่นนั้น สับสน ยุ่งเหยิง ใช้เวลานานเช่นกันครับ







หมายเลขบันทึก: 144359เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2007 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เห็นแล้วชื่นชมหลายทั้งภาพและบันทึก และความตั้งใจของนายบอน
  • หลายภาพครูชาอยากขอไปประกอบ เปิงบ้านและชานเรือน ในบางบันทึกบ้างจะได้ไหมครับ
  • เพราะขั้นตอนการจัดการภาพต่าง ๆ ครูชาไม่ค่อยสันทัด หลายครั้งทำออกมาเป็นกากบาทน้อย
  • ขอบคุณที่นำมาให้อ่าน รู้ เห็นครับ

สวัสดีครับ ครูชา

  1. ขอบคุณครับสำหรับข้อความชื่นชม
  2. หากภาพไหนมีประโยชน์ จะนำไปใช้ก็ยินดีครับ ใช้ได้อย่างเต็มที่เลยครับ ทุกภาพ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท