คุณธรรมจริยธรรมบนพื็นฐานความเป็นมนุษย์


คนดีศรีสุพรรณน่าจะเป็นคนที่มีคุณลักษณะใด

กลับจากประชุมการบูรณาการการสอน(29-31ตค.50)ที่เน้นความเป็นมนุษย์ ก็มีงานท้าทายรออยู่เป็นกิจกรรมที่คิดว่าจะจัดให้สอดคล้องกับความเป็นมนุษย์ที่เค้าว่ากันได้อย่างไร อย่ากระนั้นเลยคิดเองทำไมล่ะ ให้เด็กช่วยคิดดีกว่าเค้าน่าจะคิดได้ดี

กว่าเรา จึงเขียน Scope ผลลัพท์ที่อยากได้(ทั้งๆที่ไม่ควรมีกรอบ

ความต้องการใดๆตั้งไว้ด้วยซ้ำ) โดยไม่รู้ว่าวิธีการจะเป็นอย่างไรจะตั้ง

ประเด็นที่เชื่อมโยงความเป็นมนุษย์ก็รู้สึกแย่ เพราะไม่เห็นด้วยกับการ
ใช้คำนี้เลย
จึงเลี่ยงมาใช้คำที่สื่อOutput ที่ต้องการว่าเป็น"การประชุมเชิงปฏิบัติการการสร้างต้นแบบและเครือข่ายคนดีศรีสุพรรณ" โดยนักศึกษาปี1ทั้ง3หลักสูตร(สาธารณสุขชุมชน/ทันตสาธารณสุข

และเทคนิคเภสัชกรรม)จำนวน115คนจัดประชุมในสวนไม้ยืนต้น เป็นต้นชมพูพันธุ์ทิพย์(ถ้าออกดอกจะสว่างไสวงามนัก)ที่มีอายุราว7-10ปีบรรยากาศดีมาก จัดเวทีเสวนาน่ารักดี ปูเสื่อ หมอนขวาน ตั่งเตี้ยๆวางเขียนกระดาษ
Proof(
ทั้งหมดยืมวัดมา) จะช่วยเตรียมสถานที่ นศ.บอกจารย์ไม่ต้องห่วงมีSurpriseจากนักศึกษา .ตอนเช้าเดิน

มาจากแฟรต..เสียงเพลงอ้อยอิ่งนุ่มๆ..เพลงช้าๆ เอ..เพลงอะไรคุ้นๆอ้าวเพลงโปรดสุดClassicนี่นา เพลงพ่อของแผ่นดิน...เคลิ้มเชียวล่ะ ไม่ได้คิดว่าจะต้องแต่งตัวให้กลมกลืมอย่างไรเพราะยังไม่เห็นการ

จัดสถานที่ ใส่ชุดกะว่าสวยแล้วเชียว เลื้อลูกไม้ชมพูกระโปรงผ้าไหมสีแดงเลือดนก เดินลัดป่ามา โดนโห่เลย...เด็กไล่ไปเปลี่ยน...ถามเฮ้ยพูดจริงพูดเล่น...

หรือผิดงานฟ่ะ..เดินหัวเราะกลับไปหน้าแตก..  นศ.หญิงวิ่งมาแฉุดให้กลับบอกจารย์งอนเหรอ บอกเปล่าจะไปรู้เรอะ??  ไปเปลี่ยนยีนส์กับเสื้อม่อฮ่อมก็ได้...เด็กบอกไม่เป็นไรนั่งเป็นกาคาบพริกก็ได้อิอิ..ให้จารย์เป็นนางเอ๊กนางเอก...กลับไปเริ่มงาน

ซ่ะที......แอบยิ้มฟันขาว...บรรยากาศน่ารักมาก.เป็นปลื้ม..ต้นไม้เป็นแนวเดียวกันเป็นป่าสวยเชียว ไม่เคยมีใครใช้ประโยชน์เลยแต่งสวนหย่อมน่ารัก  แขวนเครือกล้วยน้ำหว้า..ห้อยมะม่วง(ที่พวกเค้าเตรียมพริกเกลือมากินกัน) กองสัปะรดจัดเป็นสวนหย่อม และมะละกอ(ติดป้ายของอาจารย์ห้ามแ_..)โดนใจจริงๆ...ขอบคุณน่ะเอนก/ปัณณธรและนศ.ทุกคน.....สงสัยความเป็นมนุษย์เป็นอย่างนี้เอง  ไม่ต้องสอนแล้ว... เพียงอาจารย์ให้ใจที่เค้ารับได้ สื่อในช่องทางที่ตรงกันมันโดนจริงๆๆๆ....อ้อเด็กบอกจารย์พวกผมไปรเวทได้ม่ะ....บอกที่จริงน่าจะได้แต่ไม่ได้เพราะว่าความหลากหลายของพวกเธอที่จะแต่งกันจนแก่กว่าอาจารย์...หน้าตาก็แก่พอๆกันแต่งตัวไม่เข้าท่าอีกถ่ายรูปไปคนอื่นไม่รู้คิดว่าเป็นอาจารย์..ชั้นเสียชื่อตายเลย...เสียงโหหหห...แปลว่าไม่ได้...แต่น่าโมโหอะไรก็ดีหมด...ดันเสริร์ฟน้ำเย็นเป็นโออิชิ...อยากจะฆ่า..ก็ต้องทำใจย้อนคิดและยอมรับว่านั่นแหละตัวตนของเค้า ค่านิยมนักศึกษาที่ติดสินค้าที่แบรนด์ เค้าคงอยากให้อาจารย์ในสิ่งที่ดีที่สุดในความคิดเค้า...คิดได้ดังนั้นจึงขอเพิ่มอีกขวด  

     ที่เกริ่นมาซ่ะยาว จะบอกว่าจากประสบการณ์ของตนเองที่น้อยนิด บังอาจบอกได้ว่าคุณธรรมจริยธรรมที่เป็นพื้นฐานของมนุษย์ทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือในหน้าที่การงาน การเรียนการสอน ซึ่งไม่ว่าใครก็ต้องการ คือ การให้ (ถ้าใช้คำว่า"การเสียสละ"อาจฟังดูยิ่งใหญ่กว่า แต่คำว่า "ให้"น่าเป็นการสื่อความหมายที่ชัดเจนกว่า) ไม่ว่าเป็นการให้โอกาส ให้อภัย ให้รางวัล ให้แรงจูงใจ และให้ความรู้สึกดีๆต่อกัน  การทำเป็นโง่ยังเป็นการให้เลย ให้เค้ารู้สึกดี รู้สึกภาคภูมิใจว่าตนเองคิดเป็นทำเป็น เรียนรู้ได้งัยล่ะ ความภาคภูมิใจสำคัญมากน่ะ ศักดิ์ศรีคนต้องมีความภาคภูมิใจในตนเองบ้าง ชีวิตจะไม่เศร้าและมีความหวัง คนจะเท่ากันที่ความคิดนี่เอง และจะไม่เท่ากันก็ตรงความคิดเช่นเดียวกัน....ที่แน่ๆเท่ากันอย่างหนึ่งคือ คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละหกบรรทัด......555555    

มาเข้าเรื่องแล้ว"โครงการคนดีศรีสุพรรณ"หลังจากที่แจ้งกำหนดการประชุมนักศึกษาล่วงหน้าให้ไปทบทวนวรรณกรรมและผลการดำเนินงานตลอด10ปีที่ผ่านมาว่าโครงการนี้ น่าสนใจตรงที่มีนักการเมืองระดับชาติลงมาบริหารงานเอง หางบให้ ตั้งมูลนิธิให้ เชิญผู้บริหารหน่วยงานทั้งจังหวัดประชุมชี้แจงความก้าวหน้าทุก3เดือนและพณ.ท่านบรรหาร ศิลปอาชา  เป็นประธานการประชุมทุกครั้งไม่เคยขาดหรือมาช้าแม้แต่ครั้งเดียว (ยกเว้น แจ้งกระชั้นชิดว่าติดภาระกิจ จะมาช้าเล็กน้อยเท่านั้น...เหล่านี้คือประสบการณ์ตรงที่รู้จักและร่วมงานกับท่านมา)แต่10ปีมาแล้ว ผลการดำเนินงานไม่แตกต่างกัน  ทำไมโครงการนี้จึงไม่สามารถแจ้งเกิดได้ ถ้าไม่ปลูกผักชี หัวหน้าส่วนทุกท่านรู้ดีว่ามันไม่เกิดจริง...การพบปะพูดคุยนอกรอบทุกคนก็รู้ว่าทำไม่ได้ เนื่องจากนโยบายมันฝืนธรรมชาติของคนฝืนอย่างไร ลองดูเป้าหมายที่1 การรักษาความสะอาดร่างกาย ครอบครัวและชุมชน ฟังดูน่าจะผ่านในข้อนี้ทุกคน แต่ทำไมตลาดยังสกปรก ริมถนน(ที่เขาลือกันว่าสะอาดเป็นระเบียบนักหนา)ถ้าไม่ได้เป็นหน้าที่ของภาครัฐจะสวยงามสะอาดเช่นนี้หรือ...ความตระหนัก การมีส่วนร่วมในการรักษาสาธารณสมบัติของประชาชนไปไหนกัน ไม่ใช่หน้าที่ฉันไม่เกี่ยว หากทุกคนคิดอย่างนี้ นโยบายใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์หรือรายได้ ประชาชนจะไม่สนใจเลยจริงไหม???  ริมถนน4ช่อง6ช่อง9ช่องจราจร สวยงามยิ่ง แต่มองได้เฉพาะทางไฮเวย์เท่านั้น ถ้าชลอรถและวิ่งผ่านถนนสายเล็กๆเมื่อไร ท่านจะงงราวกับมาคนละประเทศเลย...เพราะอะไร...ก็เพราะว่าเขตเทศบาล/ อบต.เป็นผู้รับผิดชอบริถนและดูแลเรื่องความสะอาดตลอดมา ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ปีละมากมากมาย...ทำอย่างไร...ชาวบ้านไม่รู้เพราะเค้าไม่ได้จ่ายด้วย(โดยตรง) ดังนั้นการรับรู้ว่าภาครัฐต้องทำอะไรบ้าเพื่อประชาชนน่าจะมีความสำคัญต่อการรับรู้และการปฏิบัติของชาวบ้านแบบองค์รวม ครอบคลุมทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเขา ส่วนที่ว่ามันฝืนธงรรมชาติของชาวบ้านนั้น มีเหตุการณ์บางอย่างอธิบายได้ จากเหตุการณ์จริง นักศึกษาฝึกงานออกเยี่ยมบ้านให้สุขศึกษาและติดตามผลการรักษาพยาบาลผู้ป่วย(Home Health Care)ในผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเนื่องจากอาหารเป็นพิษ นอกจากให้ความรู้และคำแนะนำแล้ว จึงดูเรื่องสภาพแวดล้อมด้วย เห็นกระทะ จานชามคว่ำอยู่นอกบ้าน จึงแนะนำว่าน่าจะเช็ดทำความสะอาดและเก็บให้ปลอดภัยจากฝุ่นละออง สัตว์เลี้ยง เจ้าของบ้านคืออดีตผู้ป่วยบอกว่า ยังนี้ดีแล้ว สะอาด สะดวก มีไม่กี่ใบกินแล้วล้างคว่ำไว้ มีฝุ่นเลอะหน่อยก็เช็ดเอา ไม่อยากใช้หลายใบ ชามสวยๆไว้รับแขก...เด็กกลับมาเขียนบันทึกเล่าให้ฟัง  บอกว่าป้าบอกแบบนี้หนูเลยไม่รู้จะบอกยังงัย...ก็เป็นความจริงคำว่าความสะอาดตามการรับรู้ของแต่ละคนมีความแตกต่างกันมากมาย ธรรมชาติสอนให้เขารับรู้แค่นี้ ก็อยู่กันมาได้และเรียกว่าสะอาดแล้ว  แต่คุณเป็นใคร คาดหวังคำว่าความสะอาดแค่ไหน อยากได้แค่ไหนก็ทำเอาเอง ส่วนฉันทำได้แค่นี้พอแล้ว เอาเวลาไปทำมาหากินดีกว่า...ภาครัฐบอกว่าเป็นปัญหาหาทางแก้กันมากมาย แต่ชาวบ้านเขาบอกว่าไม่เป็นปัญหาจึงไม่มีการจับมือกันเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน เพราะปัญหาที่จะต้องการแก้เป็นการตบมือข้างเดียว...เกณฑ์หรือตัวบ่งชี้บางข้อที่วัดและประเมินจึงมีมิติการมองที่แตกต่างกัน เมื่อไรจะหากันเจอ....จึงสรุปว่าแก้ไม่ได้...ซึ่งน่าจะแปลว่าไม่ผ่านเกณฑ์ในข้อความสะอาด  แปลว่าชาวบ้านเขาสกปรกหรือ....ข้ออื่นๆก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่ยืนอยู่ในระนาบเดียวกันจะบอกว่าตรงไหนสูง-ต่ำกว่ากันไม่ได้ นั่งรถสองแถวขับ80กม./ชม.ก็ว่าเร็วแล้ว ถ้านั่งรถเก๋งขับ80กม./ชม.บอกช้าไป...ก็ใช้เกณฑ์เดียวกันนี่นา ว่า80กม./ชม.ถือว่าประหยัด..การสร้างตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับบริบทและสภาพจริงจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงพร้อมๆกับการทำแผนงานโครงการ...ฉันใดฉันนั้น...ทั้งหมดก็เอวังด้วยปาการะฉะนี้แล...........

            

หมายเลขบันทึก: 143850เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2007 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 08:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท