ช่วงหัวค่ำของวันนี้ (3 ก.พ.2549) Mr.Jod เป็น Blogger ท่านหนึ่งใน GotoKnow ได้ส่งโครงร่างวิจัย "โครงร่างงานวิจัยสามวัย.doc" ให้ผมทาง MSN เพื่อขอคำปรึกษาในประเด็นการจะเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อทำการศึกษา เรื่องเดิมนี้ได้ถูกบันทึกไว้ที่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกของผู้สูงอายุในครอบครัวสามวัย Dr.Ka-Poom และผมได้เคยช่วยกันตะล่อมกล่อมเกลากันมาหลายครั้งแล้ว ด้วยการแสดงความคิดเห็น เพราะเราเห็นแววความมุ่งมั่นบางอย่างของ Mr.Jod ได้คล้าย ๆ กัน โดยเฉพาะน่าจะมีนักพัฒนาระบบสาธารณสุขที่ดี และมีจรรยาบรรณเพิ่มขึ้นอีกสักคน
เมื่อได้รับเอกสารแล้ว ก็อ่าน จากนั้นผม (พัทลุง) นัดแนะว่าให้ Dr. Ka-Poom (ยโสธร) ได้เข้ามาช่วยด้วยในการช่วยกันเพื่อใช้การสนทนาผ่าน MSN แบบกลุ่ม กับ Mr.Jod (ตราด) จนคิดว่าน่าจะลุล่วงไปได้เปราะนึง แม้จะทำให้ Mr.Jod ถึงกับบอกว่ามึนในตอนท้าย แต่ที่ดีใจมากคือ เราไม่ได้อยู่ไกลกันเลย เมื่อใช้เวทีเสมือนให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ที่ดีใจมากไปกว่านั้นคือ Dr. Ka-Poom และผม ได้แสดงปฏิธานที่ตั้งไว้ว่าจะพยายามทำทุกวิถีทางในการส่งเสริมการวิจัยอย่างมีจรรยาบรรณนักวิจัย เพื่อผดุงคุณค่าของงานวิจัย และในการดำเนินการครั้งนี้ เราก็ได้ประกาศเจตนานั้นคือ “หากจะทำวิจัยโดยฝืนจรรยาบรรณ เราจะไม่คุยด้วย และต้องขอโทษ” ซึ่งขอบคุณที่ Mr.Jod เลือกที่จะคุยต่อ อันนี้เข้าใจว่าเพราะไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ขาดเจตนา เมื่อทักท้วงก็รับฟัง
แต่มีคนหนึ่ง (ใช้ชื่อว่า “วันนี้มาทำงานเช้ามั่กๆๆ”) ที่ขอเข้ามาร่วมการสนทนาด้วยทีหลัง ที่เกือบทำให้เราต้องหยุดการสนทนา และในตอนหนึ่งเขาก็ออกไปเสียเอง โดยทิ้งถ้อยคำนี้ไว้ “แต่เราต้องหาวิธีที่ทำให้เลือกได้เกาะช้างครับ, เพื่อเพิ่มโอกาสการตกเป็นกลุ่มตัวอย่างได้อย่างเป็นระบบ, ก็ไม่ต้องคิดมากยกพื้นเกาะช้างเป็นพื้นที่สนใจศึกษาไปเลย, แต่เลือกกลุ่มตัวอย่างให้เหมาะสม, ฉลาดไม่พอแล้วล่ะ, บาย”
แม้จะรู้สึกล้าไปบ้างเพราะใช้เวลาเกือบ 2 ชม. แต่อิ่มสุข เพราะสุขใจที่ได้ทำอะไร ๆ ร่วมกัน ได้ ลปรร. โดยเฉพาะการกระทำนั้นได้ตอบสนองต่อจิตวิญญาณและอุดมการณ์ที่เหมือนกัน
อ่านเรื่องต่อเนื่องที่ AAR ซะหน่อยเมื่อได้คิดดีและลงมือทำดีแล้ว